3. ช่องทางสื่อสารโทรศัพท์มือถือ
รูปโทรศัพท์มือถือแบบอนาล็อก
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ระบบโทรศัพท์มือถือในแบบโทรศัพท์อนาล็อกในสมัยนั้น จะใช้แบบเซลล์เดียว คือมีการใช้เพียงช่องสื่อสารหนึ่งช่องสื่อสารจากเจ็ดช่องของการใช้งาน การสื่อสารจะอยู่ในรูปแบบสองทิศทาง
นั่นคือ ในแต่ละเซลล์จะมีช่องสื่อสารเจ็ดช่องที่อยู่บนตารางเซลล์รูปหกเหลี่ยม การใช้งานใช้แค่หนึ่งในเจ็ดของการใช้งานในช่องสื่อสารเท่านั้น ดังนั้น จึงมีการตั้งค่าที่ไม่ซ้ำกันของคลื่นความถี่ โดยไม่มีการชนกัน (ตอนนั้นผู้ใช้งานส่วนใหญ่ยังเป็นนักธุรกิจระดับชั้นนำ หรือบุคคลสำคัญ ผู้ใช้งานยังมีอยู่น้อย)
รูปพื้นที่การส่งแต่ละเซลล์
ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือโดยทั่วไปสมัยนั้น จะได้รับคลื่นความถี่วิทยุ 832 ช่อง เพื่อสามารถใช้ได้ในหนึ่งเมือง โดยการใช้งานโทรศัพท์มือถือแต่ละเครื่องจะใช้สองคลื่นความถี่ต่อการโทรผ่านช่องทางสื่อสารสองทิศทางหนึ่งช่อง
รูปการส่งการสื่อสารจะมือถือเครื่องหนึ่ง ไปสู่มือถืออีกเครื่องหนึ่ง
จึงมี 395 ช่องเสียงต่อผู้ให้บริการ (ยังมีอื่น ๆ อีก 42 คลื่นความถี่ที่ใช้สำหรับการควบคุมช่องสื่อสาร ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดทีหลัง) ดังนั้นในแต่ละเซลล์จะมีช่องสัญญาณเสียงประมาณ 56 ช่องใช้งาน หรือพูดอีกนัยหนึ่ง ในเซลล์ใด ๆ มี 56 คน ที่สามารถพูดคุยโทรศัพท์มือถือของพวกเขาได้ภายในคราวเดียว
รูปยุคของโทรศัพท์มือถือ
ซึ่งในสมัยนั้นระบบเซลลูลาร์อนาล็อก ได้รับการพิจารณาเป็นเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือรุ่นแรก หรือเรียกว่า 1 จี (G: Generation) ซึ่งต่อมาก็มีการพัฒนาด้วยวิธีการส่งแบบดิจิตอล หรือ 2G มีจำนวนช่องสื่อสารที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ทีดีเอ็มเอ (Time Division Multiple Access: TDMA คือการแบ่งช่องสัญญาณรวมออกเป็นช่วงเวลาเล็กๆ สายสื่อสารแต่ละเส้นจะได้รับกำหนดช่วงเวลาอย่างน้อยหนึ่งช่วง และสามารถส่งสัญญาณเต็มขีดความสามารถของสาย เพราะไม่ต้องเสียให้กับช่องสัญญาณชนกัน) ที่ใช้เป็นระบบดิจิตอล (จะได้กล่าวถึงรายละเอียดทีหลัง)
ซึ่งสามารถดำเนินการสายเรียกเข้าได้ถึงสามเท่า ทั้ง ๆ ที่มันยังเป็นระบบอนาล็อก ทำให้แต่ละเซลล์มีช่องสื่อสารใช้งานประมาณ 168 ช่อง
การส่งสัญญาณของโทรศัพท์มือถือ มีการส่งสัญญาณโดยใช้พลังงานที่ต่ำ โทรศัพท์มือถือจำนวนมากมีความเข้มของสัญญาณแบ่งเป็นสองชนิด คือ 0.6 วัตต์ (Watts) และ 3 วัตต์ (ส่วนการส่งของวิทยุซีบีอยู่ที่ 4 วัตต์) ซึ่งที่สถานีฐานก็ใช้กำลังงานส่งต่ำด้วยเช่นกัน
การส่งสัญญาณกำลังต่ำมีข้อดีอยู่สองข้อ คือ
· การส่งสัญญาณของสถานีฐาน ไปสู่โทรศัพท์มือถือจะคมชัดภายในเซลล์ของมัน ซึ่งการใช้งานนอกเซลล์จะใช้งานได้นอกพื้นที่ไม่ไกลนัก ดังนั้น ในรูปของในหัวข้อที่แล้ว เซลล์สีม่วงทั้งสองเซลล์ สามารถนำมาใช้ใหม่เป็น 56 คลื่นความถี่เหมือนกัน ซึ่งความถี่เดียวกัน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างกว้างขวางทั่วเมือง
รูปเซลล์ของพื้นที่โทรศัพท์มือถือ (ซ้ำ)
· การใช้พลังงานของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งปกติจะใช้แบตเตอรี่ ซึ่งจะใช้พลังงานค่อนข้างต่ำ พลังงานที่ต่ำ นั่นหมายถึง แบตเตอรี่ก็มีขนาดเล็ก ส่งผลให้สามารถพกพาโทรศัพท์มือถือไปได้นั่นเอง
เพื่อให้ครอบคลุมการทำงาน ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องอาศัย ที่ตั้งของสถานีฐานกับหอส่งสัญญาณจำนวนมาก เพื่อจะครอบคลุมทั้งเมือง หรือจังหวัด หรือประเทศ สถานีฐานและสายส่งสัญญาณอาจมีเป็นร้อยสถานี
รูปสถานีฐาน
ผู้ให้บริการแต่ละเจ้าจะมีสาขาย่อยออกไปทั่วทั้งประเทศ เพื่อให้ครอบคลุมการทำงาน และจะมีศูนย์ใหญ่อยู่หนึ่งที่ ที่เรียกว่า สำนักงานชุมสายโทรศัพท์มือถือ (Mobile Telephone Switching Office: MTSO)
รูปสำนักงานชุมสายโทรศัพท์
รูปสำนักงานชุมสายโทรศัพท์มือถือในญี่ปุ่น
รูปภายในสำนักงานชุมสายฯ
สำนักงานนี้จะมีหน้าที่ควบคุมจัดการ การทำงานทั้งหมดของทุกการเชื่อมต่อการทำงานของโทรศัพท์มือถือ ไปจนถึงระบบโทรศัพท์พื้นฐานปกติ และสามารถควบคุมได้ในของสถานีฐานในทุกภูมิภาคทั้งหมด
รูปตัวอย่างสถานีฐานในส่วนภูมิภาค
ถึงแม้ว่ามีคนจำนวนมากใช้โทรศัพท์มือถือ ค่าใช้จ่ายต่อผู้ใช้บริการ ก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“จะไม่มีคำคมไหน ปลุกพลังในตัวคุณได้
ถ้าไม่ได้ลงมือทำ”