2. ต้นยาง กับยางธรรมชาติ
ชนชาติเมโสอเมริกัน เช่น ชาวมายัน และแอซเทซเป็นชนชาติแรกที่ ตัดยางเอาน้ำยางมาใช้จากต้นยางที่มีมากมายที่พบในอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ซึ่งพันธุ์ของต้นยางพารามีมากมายหลายพันธ์ ที่นิยมนำเอายางมาใช้ อาทิเช่น
-
ต้นยางพาราบราซิล (Hevea braziliensis) เป็นต้นยางในเชิงพาณิชย์ที่พบมากที่สุดจากประเทศบราซิล
รูปต้นยางพาราจากบราซิล
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปพันธุ์ยางพาราจากบราซิล
-
ต้นยางพารากายอานนา (Hevea guyanensis) ต้นกำเนิดพบในกายอานนา ประเทศฝรั่งเศส
รูปยางพารากายอานนา
-
คาสติลา อีลาสติกา (Castilla elastica) บางครั้งเรียกว่าต้นยางเม็กซิโก หรือต้นยางปานามา
รูปยางคาสติลา อีลาสติกา
การสำรวจ และการล่าอาณานิคม ของนักสำรวจได้เก็บตัวอย่างของต้นไม้เหล่านี้ไว้ เมื่อพวกเขามุ่งหน้ากลับไปสู่ยุโรปก็ได้พามันมาด้วย จนในที่สุดเมล็ดจากต้นไม้เหล่านี้ ถูกส่งไปยังสวนยางพาราในภูมิภาคเขตร้อนอื่น ๆ ในช่วงของยุคการล่าอาณานิคมของยุโรป
รูปวาดการล่าอาณานิคมของยุโรป
ปัจจุบัน ยางธรรมชาติส่วนใหญ่มาจากลาตินอเมริกา นำไปปลูกที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย นอกจากนี้ยังมี อินเดีย, ศรีลังกา และ แอฟริกา เพราะพื้นที่เหล่านี้ เหมาะแก่การปลูกยาง และส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีหลายพันธุ์มากมายเช่น
-
ยางอินเดีย หรือยางด่าง (Ficus elastica) สายพันธุ์นี้ปลูกในพื้นที่เขตร้อน พบได้ในชวา และมาเลเซีย
-
ยางไหม (Funtumia elastica, Silkrubber) ปลูกในพื้นที่แอฟริกาใต้
-
ยางแลนโดเฟีย โอวาเรียนซิส (Landolphia owariensis) ปลูกอยู่ในลุ่มแม่น้ำคองโก
แต่ทั้งหมดของต้นยางเหล่านี้ ยางที่ดีที่สุดคือ ยางที่มาจากประเทศบราซิล
ชาวเมโสอเมริกัน จะเก็บรวบรวมน้ำยางที่แห้ง และมาทำเป็นลูก และสิ่งของอื่น ๆ เช่น รองเท้า พวกเขาจะจุ่มเท้าของพวกเขาลงในน้ำยาง และปล่อยให้มันแห้ง หลังจากที่แห้งก็จุ่มใหม่จนมันหนา พวกเขาก็จะลอกยางที่ติดเท้า และจะได้รองเท้าที่ใช้เท้าเป็นแม่แบบ
เขาพบว่าเมื่อเสร็จแล้วก็นำไปรมควันเพื่อให้รองเท้าของพวกเขาแข็งขึ้น นอกจากนี้ชนชาวเมโสอเมริกันยังทำผ้ากันน้ำโดยเคลือบด้วยน้ำยาง และปล่อยให้มันแห้ง กระบวนการนี้ได้เคยใช้ทำสิ่งของที่เป็นยางในช่วงตลอดศตวรรษที่ 18
รูปลูกบอลยางของชาวเมโสอเมริกัน
โคลัมบัสได้ซื้อลูกบอลยางกลับมาหลังจากที่เดินทางสำรวจโลกของเขา และในต้น พ.ศ. 2243 ตัวอย่างของยาง และต้นยางได้ถูกซื้อกลับมาที่ยุโรป ในเวลานั้น ยางก็ยังคงให้ความแปลกใหม่ ยางที่ทำในชนชาติ เมโสอเมริกัน คล้ายกับยางลบดินสอ มันมีความนุ่ม และยืดหยุ่น
ในปี พ.ศ. 2313 นักเคมีที่ชื่อ โจเซฟ เพรทลีย์ (Joseph Priestley) ได้เผลอนำยางมามาใช้ลบในกระดาษ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นยางลบได้ที่เราเห็นในปัจจุบัน ขณะนั้นที่นำยางมาใช้ในการป้องกันการรั่วซึม และทำรองเท้ายาง มันก็ยังคงมีปัญหาอยู่
คุณสามารถเห็นปัญหาด้วยตัวคุณเองสำหรับนำไปทำเป็นยางลบดินสอ ใช้ยางลบ และวางอยู่ภายใต้ความร้อนที่รุนแรงเป็นเวลาหลายนาที คุณจะเห็นอะไร? ยางลบจะได้รับความนุ่ม และเหนียว ลองทำตรงข้าม คือ เอายางลบมาแช่แข็งในห้องเย็นหลายนาที จะเห็นอะไร? ยางลบจะแข็ง และเปราะ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นกับยางในตอนแรก
ลองจินตนาการที่ซึ่งมันจะชอบเดินรอบรองเท้ายางของคุณในวันที่ร้อน หรือเย็น รองเท้าจะใส่ไม่ได้ เสื้อผ้าที่เป็นยางจะติดกับเก้าอี้ถ้าขณะที่กำลังนั่งอยู่ในวันที่อากาศร้อน
ส่วนยางพาราในประเทศไทย ก็มาจากสายพันธุ์ประเทศบราซิล ถูกนำเข้ามาประมาณ ปี พ.ศ. 2442 นำเข้ามาโดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้นำยางมาปลูกเป็นคนแรกที่ภาคใต้ของไทยใน อ.กันตัง จ. ตรัง
รูปพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี
รูปยางต้นแรกของประเทศไทย
แล้วได้ส่งคนไปเรียนรู้การปลูกยาง ตัดยางแล้วมีการนำพันธ์ยางไปแจกจ่ายเพื่อส่งเสริมการปลูกทั่ว 14 จังหวัดภาคใต้ จนถึงปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกยางพารามากกว่า 12 ล้านไร่ กระจายไปตามภาคใต้ ขยายต่อไปที่ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รูปการกรีดยาง
รูปน้ำยาง
ต้นยางที่จะเติบโตจนกระทั่งกรีดได้ต้องใช้เวลาประมาณ 6 ปี ผลผลิตที่ได้จากการกรีดยาง ซึ่งเรียกว่า น้ำยาง (Latex) มีวิธีการกรีดน้ำยางออกมาจากต้นยางมีหลักการง่าย ๆ ก็คือ กรีดในเวลากลางคืน หลังเที่ยงคืนไปแล้ว ช่วงเวลานี้ จะให้น้ำยางได้มากกว่าในเวลากลางวัน ไม่กรีดยางในวันที่ฝนตก ยางผลัดใบ
การกรีดโดยนำมีดกรีดยางมาแตะกรีดที่ผิวต้นยางกรีดวันละหนึ่งชั้น ตัดในแนวทแยงทำมุมประมาณ 30 องศาบาง ๆ เพื่อเอาเศษเปลือกไม้ยางออก ก็จะมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนมจะค่อย ๆ ไหลออกมาจากเปลือกไม้ที่กรีด ทำทางให้ไหลลงไปในจอกยาง ทิ้งเอาไว้แล้วไปกรีดต้นอื่นต่อไป
หลังจากนั้นประมาณ 6 ชั่วโมง น้ำยางก็จะหยุดไหล น้ำยางจึงสามารถเก็บลงสู่ถัง นำไปขาย ทำแผ่น แล้วต้นยางก็สามารถกรีดรอยใหม่ได้อีกครั้งในวันถัดไป ปกติจะใช้วิธีการกรีด 3 วัน หยุด 1 วัน เพื่อให้ต้นยางได้พักผ่อน สามารถดูวิธีการกรีดยางได้จากวิดีโอด้านล่าง
วิดีโอการกรีดยาง
วิดีโอการกรีดยาง 2
เว็บไซต์วิธีการกรีดยาง
รูปต้นยาง
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“อยู่ในที่มืดมิด ไม่น่ากลัวเท่า
อยู่กับความคิด ที่มืดมน”