6. รถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย (จบบทความ)
รูปรถไฟความเร็วสูงในไทย
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ประเทศไทย มีโครงการที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูง มีเป้าหมายที่จะสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจ แล้วเชื่อมโยงการค้าระหว่างประเทศกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีแนวคิดที่จะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 สาย ได้แก่ รถไฟสายเหนือ, ตะวันออก, ตะวันออกเฉียงเหนือ และใต้ คาดว่าน่าจะมีการเปิดใช้งาน บางส่วนประมาณปี พ.ศ. 2565
มีการติดต่อจ้างวานที่จะให้ต่างประเทศที่สนใจที่จะทำการก่อสร้าง หลัก ๆ มีอยู่ 2 ประเทศ นั่นก็คือ ญี่ปุ่น กับจีน ซึ่งมีการกำหนดมาตรฐานของความกว้างรางไว้ที่ 1.435 เมตร ใช้ระบบจ่ายไฟฟ้าขนาด 25 kV 50/60Hz เป็นระบบจ่ายกระแสไฟจากด้านบนเหนือรถไฟ ทำความเร็วได้ 250 – 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
รูปแผนที่รถไฟความเร็วสูงในไทย
รูปรถไฟความเร็วสูงในไทย
รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ
โดยมีการกำหนดระยะทางจากกรุงเทพมหานคร (สถานีบางซื่อ) ถึง สถานีรถไฟที่เชียงใหม่ มีระยะทาง 745 กิโลเมตร และมีมูลค่าในการลงทุนประมาณ 4 แสนล้านบาท
รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก
โดยมีการกำหนดระยะทางจากกรุงเทพมหานคร (สถานีบางซื่อ) ถึง สถานีรถไฟที่ระยอง (สถานีรถไฟชุมทางคลองสิบเก้า) มีระยะทาง 193.5 กิโลเมตร และมีมูลค่าในการลงทุนประมาณ 1.52 แสนล้านบาท
ยังมีช่วงจากสระบุรี (แก่งคอย) มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กิโลเมตร และมีมูลค่าในการลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท
รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยมีการกำหนดระยะทางจากกรุงเทพมหานคร (สถานีบางซื่อ) ถึง สถานีรถไฟที่หนองคาย มีระยะทาง 837 กิโลเมตร (เป็นแผนการลงทุนในอนาคต)
รถไฟความเร็วสูงสายใต้
โดยมีการกำหนดระยะทางจากกรุงเทพมหานคร (สถานีบางซื่อ) ถึง สถานีรถไฟที่ปาดังเบซาร์ (มาเลเซีย) มีระยะทาง 970 กิโลเมตร และมีมูลค่าในการลงทุนประมาณ 1.24 แสนล้านบาท (เป็นแผนการลงทุนในอนาคต)
และกรุงเทพ ไปถึง หัวหิน ระยะทาง 205 กิโลเมตร และมีมูลค่าในการลงทุนประมาณ 9 หมื่นล้านบาท (เป็นแผนการลงทุนในอนาคต)
รูปรถไฟความเร็วสูงในไทย
วิดีโอรถไฟความเร็วสูงในไทย
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“มีแม่ผู้แก่เฒ่า เดินไม่ได้คนหนึ่ง เป็นที่น่ารำคาญใจแก่ลูกชายเป็นอย่างมาก สมัยนั้นยังไม่มีสถานสงเคราะห์คนชรา จึงไม่รู้จะเอาแม่ไปฝากใครเลี้ยงแทน ชายหนุ่มจึงต้องตัดสินใจแบกแม่ขึ้นบ่า เพื่อจะเอาแม่ไปปล่อยไว้ในป่า
ระหว่างทาง แม่ไม่วอนขอ ไม่ทวง ไม่ถาม เอาแต่หักกิ่งไม้ตามทางไปเงียบ ๆ ลูกชายแบกแม่เดินลึกเข้าไปในป่ามากแล้ว มากจนแน่ใจว่า จะไม่มีผู้ใดมาพบ จึงวางแม่ลงบนโขดหิน แล้วหันหลังเดินกลับโดยไม่พูดอะไร แม่จึงได้ตะโกนบอกลูกชาวว่า
“ลูกเอ๋ย เดินตามรอยกิ่งไม้ที่แม่หักไว้นะลูก จะได้ไม่หลงทาง” ”