บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 845
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,874
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,031
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,283
  Your IP :3.145.95.233

2. ล้อช่วยแรง, ชุดคลัตช์ และกลไกกดคลัตช์

 

      คลัตช์ในรถยนต์ทำหน้าที่เป็นตัวกลางอยู่ระหว่าง ล้อช่วยแรง (Flywheel) ที่ประกอบด้านฝั่งเครื่องยนต์ และเพลากระปุกเกียร์ธรรมดาในด้านส่งกำลัง สามารถมองเห็นในรูปด้านล่าง       

 

รูปเครื่องยนต์ที่เห็นชุดคลัตช์ที่ท้ายเครื่อง

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปชุดคลัตช์อยู่ภายใน ติดตั้งกับเครื่องยนต์

 

รูปภาคตัดภายในชุดคลัตช์

 

รูปส่วนประกอบชุดคลัตช์

 

รูปล้อช่วยแรง

 

รูปหวีคลัตช์, แผ่นคลัตช์ และลูกปืนกดคลัตช์

 

รูปกระเดื่องกดคลัตช์

 

รูปกระเดื่องกดคลัตช์ กับลูกปืนคลัตช์ประกอบเข้ากับหัวหมูที่กระปุกเกียร์

 

รูปผังการกดคลัตช์

 

      เมื่อได้ยกเท้าออกจากแป้นคลัตช์ สปริงกดคลัตช์ หรือเรียกว่าสปริงฟันหวี สปริงจะกดแผ่นจานกด (Pressure plate) เพื่อให้แรงกดไปช่วยกดอัดคลัตช์ให้แน่นติดกับหน้าจานล้อช่วยแรง จะทำให้เกิดการล็อคตัวกันระหว่างเครื่องยนต์ และเพลาเกียร์

 

      โดยในช่วงแรกที่แผ่นคลัตซ์วิ่งเข้าไปอัดแน่นกับหน้าจานล้อช่วยแรงจะเกิดการลื่นไถลที่หน้าสัมผัสเล็กน้อย ก่อนจับตัวกันแน่นเนื่องจากแรงเสียดทาน จนความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเพลาเกียร์มีความเร็วรอบเท่ากัน

 

      ชุดคลัตช์จะอยู่ในหัวหมู (ภาษาช่างบ้านเรา ซึ่งหัวหมูคือด้านหน้ากระปุกเกียร์) แผ่นคลัตช์ทำมาจากวัสดุที่เป็น แร่ใยหิน (Asbestos) ผสมผงโลหะ เช่นผงทองแดง เพื่อช่วยในการจับตัวกันที่หน้าสัมผัส และเพิ่มความทนทานให้กับแผ่นคลัตช์

 

รูปแผ่นคลัตช์ที่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน และผลโลหะ

 

      ขนาดของแรงที่ใช้กดคลัตช์ จะขึ้นอยู่กับแรงกดของสปริงฟันหวี กระทำระหว่างจานกดคลัตช์ และล้อช่วยแรงจนสร้างความเสียดทานมากพอที่หน้าสัมผัสของแผ่นคลัตช์

 

กลไกที่ใช้ในการทำงาน ตัด / ต่อคลัตช์ในรถยนต์จะมีอยู่สองชนิด ได้แก่ คลัตช์กลไก หรือคลัตช์ที่ใช้สายสลิง (Cable) ที่เรียกว่า คลัตช์สาย และคลัตช์ที่ใช้กระบอกสูบไฮดรอลิกส์ ที่เรียกว่าคลัตช์น้ำมันไฮดรอลิกส์ (Hydraulic Clutch)   

 

Ø คลัตช์สาย เป็นกลไกคลัตช์ทางกลที่ใช้สายสลิง หรือสายเคเบิลทำหน้าที่ตัดต่อกำลัง โดยแรงเหยียบที่แป้นคลัตซ์จะส่งไปตามการเคลื่อนที่ของสายสลิงออกไปที่กระเดื่องกดตีนผี คลัตซ์แบบนี้ส่วนมากมีใช้ในรถยนต์รุ่นเก่า ปัจจุบันไม่ค่อยมีใช้แล้ว เพราะว่าการเหยียบคลัตซ์ต้องออกแรงพอสมควรในการที่จะทำให้คลัตซ์ ตัด / ต่อ กำลัง

 

รูปคลัตช์สาย

 

Ø คลัตซ์ที่ใช้กระบอกสูบไฮดรอลิกส์   จะใช้ของไหลที่เป็นน้ำมันไฮดรอลิกส์ หรือน้ำมันเบรกที่อยู่ภายในท่อทางโดยได้แรงกดจากแป้นคลัตซ์กดผ่านแม่ปั๊มคลัตซ์ส่งแรงดันน้ำมันวิ่งไปถึงลูกปั๊มคลัตซ์ไปดันให้กระเดื่องกดคลัตซ์ทำงาน ตัด/ต่อกำลัง

 

รูปส่วนประกอบของคลัตช์ไฮดรอลิกส์

 

รูปแสดงภาพอย่างง่ายของคลัตช์ไฮดรอลิกส์

 

รูปอุปกรณ์คลัตช์ไฮดรอลิกส์

 

วิดีโอคลัตช์

 

วิดีโอแผ่นคลัตช์ของรถยนต์ฮุนไดซ์

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

จะทำอะไรก็แล้วแต่ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ

 

ตั้งใจกับตัวเอง และจงลงมือทำ

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา