8. เจ็ทแพ็คอวกาศ
รูปเจ็ทแพ็คอวกาศ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปอุปกรณ์เจ็ทแพ็คอวกาศ
วิดีโอเจ็ทแพ็คอวกาศ
วิดีโอการเดินในอวกาศ
เจ็ทแพ็คอวกาศ (Space jetpacks) เป็นเจ็ทแพ็ค หรือเข็มขัดจรวดชนิดหนึ่งที่นำมาใช้ในภารกิจด้านอวกาศ มีประโยชน์อย่างมากในการเดินในอวกาศ ภารกิจในระยะที่อยู่ใกล้โลก
ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 มนุษย์อวกาศคนหนึ่งที่ชื่อ บรู๊ซ แมคเคนเดลส (Bruce McCandless) ได้ปฏิบัติภารกิจนอกยานอวกาศสามารถบินปฏิบัติงานได้ไกลถึง 40 เมตร (131 ฟุต) ซึ่งในขณะนั้นเขาสามารถทำงานนอกยานได้ไกลกว่ามนุษย์อวกาศคนอื่นที่เคยทำ ซึ่งเป็นความสำเร็จอย่างมาก
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซ่า (National Aeronautics and Space Administration: NASA) ได้สร้างอุปกรณ์ทำการบินที่เรียกว่า ชุดคนเดินอวกาศ หรือเอ็มเอ็มยู (Manned Maneuvering Unit: MMU)
รูปชุดคนเดินอวกาศ
รูปชุดคนเดินอวกาศ 2
วิดีโอทำการบินในอวกาศ
เป็นเจ็ทแพ็คที่มีลักษณะคล้ายกระเป๋าเป้ขนาดใหญ่ เจ็ทแพ็คจะผลิตแรงขับดันออกมา ขับดันด้วยก๊าซไนโตรเจนผ่านหัวฉีดออกมาเป็นลำเจ็ท
อุปกรณ์นี้จะอัดบรรจุก๊าซไนโตรเจนที่ใช้ขับดันในอวกาศ มีน้ำหนัก 148 กิโลกรัม (326 ปอนด์) ประกอบไปด้วยถังอลูมิเนียมสองถัง ห่อหุ้มด้วยเส้นใยเคฟล่าร์ เพื่อป้องกันการเจาะทะลุ และเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ถังอลูมิเนียม ถังแต่ละใบจะมีน้ำหนัก 5.9 กิโลกรัม (13 ปอนด์) บรรจุไนโตรเจนในถังด้วยความดัน 20.7 กิโลปาสคาล (kPa) ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานใน 6 ชั่วโมง สามารถบินในอวกาศได้ด้วยความเร็วถึง 25 m/s (8 ft/s) ในการทำ ภารกิจพิเศษนอกยาน (Extra-Vehicular Activity: EVA)
รูปภารกิจในอวกาศที่ควบคุมการเคลื่อนที่ด้วยเจ็ทแพ็ค
ในถังไนโตรเจนจะมีระบบขับดันที่ลำเจ็ทจำนวนรวม 24 ท่อทาง ติดตั้งอยู่ 8 ตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งจะมีปลายหัวฉีด 3 จุด เพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ได้รอบทิศทางตามต้องการ มนุษย์อวกาศจะสามารถควบคุมอุปกรณ์เจ็ทแพ็คโดยใช้มือทั้งสอง
โดยมือขวาคอยควบคุมในทิศทางการเคลื่อนที่ ในการควบคุมการหมุนตัว, เอี้ยวตัว, เอียง ส่วนมือซ้ายจะคอยควบคุมการเคลื่อนที่ในการเร่ง กับชะลอ ในการเดินหน้า, ถอยหลัง,เลี้ยวซ้าย, เลี้ยวขวา, ขึ้นบน, ลงล่าง
รูปเจ็ทแพ็คอวกาศ
การเคลื่อนที่ในอวกาศ คิดเป็นแรงจี (G-force) แรงขับดันจะมีอย่างน้อย 1 จี ที่ใช้แรงจีเล็กน้อยนี้ ก็เพื่อการเคลื่อนที่ในอวกาศ ซึ่งเพียงพอต่อการเคลื่อนที่ เพราะในอวกาศมีสภาวะไร้น้ำหนัก หรือไร้แรงโน้มถ่วง แรงจีเพียงเล็กน้อย ก็ทำให้สามารถเคลื่อนที่บินไปปฏิบัติภารกิจนอกยานอวกาศได้
เจ็ทแพ็คอวกาศ จะสร้างแรงขับดันให้กับมนุษย์อวกาศเท่าที่จำเป็นในการเคลื่อนที่ เพื่อความประหยัดเชื้อเพลิง เพื่อความปลอดภัย และป้องกันไม่ให้มีอุณหภูมิสูงจนเป็นอันตรายต่อมนุษย์อวกาศ ที่ทำงานภายนอกยาน ที่ทำภารกิจอยู่ในบรรยากาศของ สนามแรงโน้มถ่วงโลก (Earth's gravity field)
รูปมนุษย์อวกาศ
เมื่อนักบินอวกาศเคลื่อนที่ไปถึงตำแหน่งที่ต้องการ พวกเขาสามารถรักษาระดับการลอยตัว คงการอยู่นิ่งนั้นไว้อย่างอัตโนมัติ ช่วยให้พวกเขาทำภารกิจได้ โดยไม่เคลื่อนที่หลุดออกไปสู่อวกาศจนเสร็จสิ้นภารกิจ
เจ็ทแพ็คเซเฟอร์
รูปอุปกรณ์เซเฟอร์
รูปอุปกรณ์เซเฟอร์
การพัฒนาล่าสุดในเทคโนโลยีเจ็ทแพ็คอวกาศ ก็คือ เจ็ทแพ็คภารกิจช่วยเหลือกู้ภัยแบบพิเศษนอกยาน หรืออุปกรณ์เสริมเซเฟอร์ (Simplified Aid for EVA Rescue: SAFER) เป็นอุปกรณ์ฉุกเฉินประกอบเข้ากับตัวเจ็ทแพ็ค ทางนาซ่าได้ทำการออกแบบมาใช้งานร่วมกับชุดเอ็มเอ็มยู มีขนาดเล็กประกอบติดอยู่ด้านล่าง
รูปอุปกรณ์ช่วยเจ็ทแพ็คเซเฟอร์
วิดีโอเจ็ตแพ็คติดอุปกรณ์เซเฟอร์
นำมาทำงานร่วมกันเป็นอุปกรณ์เจ็ทแพ็ค ครั้งแรกในภารกิจของ สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) ในเหตุการณ์ที่มีลูกเรือของสถานีอวกาศนานาชาติ ที่ทำงานกับโครงสร้างด้านนอกของสถานี โดยใช้อุปกรณ์นี้เพื่อกลับเข้าไปสู่สถานีอวกาศได้อย่างปลอดภัย
รูปสถานีอวกาศนานาชาติ
วิดีโอใช้เจ็ทแพ็คในภารกิจอวกาศ
วิดีโอสถานีอวกาศนานาชาติ
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“อ่านหนังสือออก สำคัญ
อ่านเหตุการณ์ออก สำคัญกว่า
อ่านคนอื่นออก สำคัญยิ่ง
อ่านตนเองออก สำคัญที่สุด”