บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 517
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,546
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 58,703
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,873,955
  Your IP :13.58.207.196

12. การเตรียมความพร้อมสำหรับแผ่นดินไหว

 

      มากกว่า 60 ปีมาแล้ว มนุษย์เรามีความพยายามที่จะรับมือกับแผ่นดินไหว มีความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อบรรเทาความรุนแรงจากการเกิดแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนที่สำคัญอย่างเห็นได้ชัดก็คือ ความก้าวหน้าทางด้านวิศวกรรมโยธา

 

รูปความก้าวหน้าทางวิศวกรรมโยธา อาคารต้านทานต่อแรงแผ่นดินไหว

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ในปี พ.ศ. 2516 กฎหมายตรวจสอบอาคาร (Uniform Building Code) ได้ตั้งมาตรฐานสำหรับอาคาร สิ่งก่อสร้างโดยให้เพิ่มรายละเอียดของการสร้างอาคาร ออกแบบสิ่งก่อสร้างให้มีความสามารถต้านทานต่อแรงคลื่นแผ่นดินไหว

 

รูปภาพอาคารต้านแผ่นดินไหว

 

รูปตัวอย่างอาคารที่ทนต่อแรงแผ่นดินไหว

 

รูปอาคารต้านแผ่นดินไหว

 

รูปโครงสร้างบ้านที่ทนต่อแผ่นดินไหว

 

วิดีโอการทดสอบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว

 

      ซึ่งจะรวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุในการก่อสร้างให้แข็งแรงขึ้น เพื่อทนต่อแผ่นดินไหว ให้อาคารมีความยืดหยุ่นตัวพอที่จะดูดซับแรงการสั่นสะเทือนได้ โดยอาคารไม่พัง หรือลดความรุนแรงเสียหายที่จะเกิดขึ้น นี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการออกแบบโครงสร้างของอาคารสิ่งก่อสร้างในมีความทนทานต่อแรงของแผ่นดินไหว ในบริเวณพื้นที่ที่จะเกิดแผ่นดินไหวได้ง่าย       

วิดีโอการเกิดแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นขนาด 9.0 ริกเตอร์ ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 แสดงให้เห็นถึงอาคารต้านแผ่นดินไหวเกิดการสั่นไหว แต่ไม่พัง

 

      แต่สถาปนิก และวิศวกรยังคงหาหนทางพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะลดความเสียหายให้มากที่สุดจากการสั่นไหว ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามันจะต้องพังจริง ๆ ก็มีการออกแบบโครงสร้างอาคาร ให้มันพังแบบยุบตัวเองลงไปกองกับพื้น แทนที่มันจะโค่นล้มลงไปบริเวณข้างเคียงเพื่อไม่ให้อันตรายแผ่ขยายตัวออกไป

 

      นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ก็กำลังพัฒนา วัสดุก่อสร้างอัจฉริยะ นั่นคือ มันมีความสามารถที่จะรับมือกับแรงขนาดใหญ่ของการสั่นสะเทือน แนวคิดหนึ่ง ก็คือ การนำ เซ็นเซอร์ใยแก้วนำแสง (Fiber-optic sensors) มาใช่ฝังรวมกับการก่อสร้าง มันจะส่งสัญญาณคอยเตือนเราล่วงหน้าเมื่ออาคาร หรือบ้านกำลังจะถล่ม โดยเซ็นเซอร์จะส่งสัญญาณให้ทราบมันจะตรวจจับจากการที่มันฝังตัวอยู่ใต้กระเบื้องที่ปูไว้ที่ ผนัง และโครง แต่ถ้ามันสุดวิสัยจนต้องพังลงมาใยแก้วนำแสงนี้ก็จะเปลี่ยนการทำหน้าที่โดยการดูดซับพลังงานจากแผ่นดินไหวไม่ให้มันพังลงมาทันทียังมีเวลาที่จะหนีออกไปได้ในช่วงเวลาหนึ่ง

 

รูปวัสดุฉลาดเซ็นเซอร์ใยแก้วนำแสง ที่ทำหน้าที่คอยตรวจจับ และดูดซับแรงกระแทก

 

รูปวัสดุฉลาดที่นำมาใช้กับอาคาร และบ้านเรือน

 

รูปชั้นวัสดุใยแก้วนำแสง

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“ความล้มเหลวที่สุด คือการไม่กล้าแม้แต่จะลองทำ”
                                                                                                      

                                                                                          เซอเรน คีร์เคอกอร์

       

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา