บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 619
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,648
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 58,805
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,057
  Your IP :3.146.178.81

11. รอยเลื่อนในไทยที่อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหว และแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

 

      การเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในประเทศไทย มีความเป็นไปได้ เราจะมาทำความรู้จักกับรอยเลื่อนที่อยู่ในประเทศไทย ที่ยังมีพลังงานที่จะทำให้เกิดแผ่นดินไหว โดยรวม ๆ ก็จะมีภาคเหนือมีมากสุด 9 แห่ง, ภาคใต้ 2 แห่ง, ภาคกลาง 2 แห่ง และภาคตะวันตก 1 แห่ง รวมรอยเลื่อนที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวในไทยอยู่ถึง 14 รอยเลื่อน มีดังนี้

 

รูปรอยเลื่อนในประเทศไทย

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปรอยเลื่อน

 

1. รอยเลื่อนแม่จัน จะพาดผ่าน อ.ฝาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ อ.แม่จัน อ.เชียงแสน และอ.เชียงของ จ.เชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 101 กม.

 

2. รอยเลื่อนแม่อิง พาดผ่าน อ.เทิง อ.ขุนตาล และอ.เชียง ของ จ.เชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 57 กม.

 

3. รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน ได้พาดผ่าน อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 29 กม.

 

4. รอยเลื่อนเมย มันวางตัวในแนวภาคตะวันตกเฉียงเหนือ พาดผ่านตั้งแต่ ต้นลำน้ำเมย ผ่านชายแดนพม่า ต่อไปยังห้วยแม่ท้อ ลำน้ำปิง จ.ตาก ไปถึง จ.กำแพงเพชร นครสวรรค์ และสิ้นสุดที่ จ.อุทัยธานี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 250 กม.

 

5. รอยเลื่อนแม่ทา แนวพาดผ่าน อ.แม่ทา จ.ลำพูน และ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ในแนวโค้งไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 61 กม.

 

6. รอยเลื่อนเถิน ระยะพาดผ่าน อ.แม่พริก อ.เถิน จ.ลำปาง และอ.วังชิ้น จ.แพร่ ในแนวโค้งในไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 103 กม.

 

7. รอยเลื่อนพะเยา พาดผ่าน อ.งาว จ.ลำปาง และอ.เมือง จ.พะเยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านทิศเหนือของรอยเลื่อนท่าสี มีความยาวประมาณ 23 กม.

 

8. รอยเลื่อนปัว พาดผ่านพื้นที่ อ.สันติสุข อ.ท่าวังผา อ.ปัว อ.เชียงกลาง และอ.ทุ่งช้าง จ.น่านในแนวเหนือ-ใต้ ด้วยความยาวประมาณ 130 กม.

 

9. รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่าน อ.เมือง อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ อ.นาหมื่น อ.นาน้อย อ.เวียงสา และอ.แม่จริม จ.น่าน ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 150 กม.

 

10. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ วิ่งพาดผ่าน อ.ทองผาภูมิ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 60 กม.

 

11. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่าน อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี อ.ศรีสวัสดิ์ และอ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กม.

 

12. รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ พาดผ่าน อ.หนองไผ่ อ.เมือง อ.หล่มสัก อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 110 กม.

 

รูปรอยเลื่อนภาคใต้

 

13. รอยเลื่อนระนอง พาดผ่านพื้นที่ตั้งแต่ จ.ระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ พังงา มีความยาวประมาณ 270 กม.

 

14. รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่าน อ.บ้านตาขุน อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี อ.ทับปุด อ.เมือง จ.พังงา พาดผ่านไปตามทะเลอันดามัน ระหว่าง อ.เมือง จ.ภูเก็ต กับ อ.เกาะยาว จ.พังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 148 กม.

ข้อมูลแผ่นดินไหวที่มีผลต่อประเทศไทย

 

 

รูปความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ที่ภาคเหนือของไทย

 

เว็บไซต์

 

 

รูปความเสียหายจากแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ ที่วัดร่องขุน

 

รูปความเสียหายที่วัดร่องขุน

 

      ส่วนแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น มีจุดศูนย์กลางในประเทศไทย ที่มีระดับความรุนแรงตั้งแต่ 4.0 ริกเตอร์ขึ้นไป เกิดขึ้นหลายครั้ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 – พ.ศ. 2557 ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้านล่าง  

 

 



        ข่าวแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 18.08 น. ของวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย นับเป็นเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 50-100 ปี เพราะมีขนาดความรุนแรงมากถึง 6.3 แมกนิจูด สร้างความเสียหายให้บ้านเรือนประชาชน สิ่งปลูกสร้างในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียงไม่น้อย เพราะเป็นการเกิดแผ่นดินไหวบนบกที่ลึกจากพื้นดินเพียงแค่ 7.4 กิโลเมตรเท่านั้น

       
 

 

                                           วันที่                                            

   ขนาด     (แมกนิจูด)                                  

จุดศูนย์กลาง

 ความเสียหาย

5 พ.ค. 2557   

 6.3

 อ.พาน จ.เชียงราย

บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ในจังหวัดเชียงรายและใกล้เคียงเสียหาย รับรู้ แรงสั่นสะเทือนถึงตึกสูงใน กทม.

4 มิ.ย. 2555

 4.0

 อ.เมือง จ.ระนอง

รู้สึกสั่นไหวที่ ต.เขานิเวศน์ ต.บางนอน อ.เมืองระนอง จ.ระนอง

16 เม.ย.2555

 4.3

 อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

รู้สึกไหวในหลายพื้นที่ใน จ.ภูเก็ต บ้านเรือนแตกร้าวหลายหลัง
 เกิดอาฟเตอร์ช็อกมากกว่า 26 ครั้ง ใน อ.ถลาง

23 ธ.ค. 2551

 4.1

 อ.พระแสง 
 จ.สุราษฎร์ธานี  

รู้สึกสั่นไหวในบริเวณ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี

19 มิ.ย.2550 

 4.5

 อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน

22 เม.ย.2550

 4.5

 อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย

รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย และ จ.พะเยา

 13 ธ.ค.2549 

 5.1

 อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

 รู้สึกสั่นสะเทือนได้เกือบทั่วไปใน จ.เชียงใหม่ และอาคารสูงใน จ.เชียงราย

17 พ.ย.2549

 4.4

 อ.พาน จ.เชียงราย

 รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.พาน และ อ.เมือง จ.เชียงราย

 15 ธ.ค.2548

 4.1

จ.เชียงราย    

 รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.เมือง อ.เทิง จ.เชียงราย

 4 ธ.ค.2548

 4.1

 จ.เชียงราย

 รู้สึกสั่นสะเทือนได้บนอาคารสูง จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน

18 ธ.ค.2545

 4.3

 อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

 รู้สึกได้ที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงราย

 2 ก.ค.2545

 4.7

 อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

 รู้สึกได้ที่ อ.เชียงแสน อ.เมือง อ.เชียงของ จ.เชียงราย, อ.เมือง จ.พะเยา, อ.เมือง จ.น่าน มีความเสียหายเล็กน้อยบริเวณ อ.เชียงแสน อ.เชียงของ

22 ก.พ.2544

 4.3

 เขื่อนเขาแหลม จ.กาญจนบุรี

 รู้สึกได้ที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

13 ก.ค.2541

 4.1

 อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

 รู้สึกได้ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย

 2 ก.พ.2540

 4.0

 บริเวณ อ.สอง จ.แพร่

 รู้สึกได้ที่ อ.สอง จ.แพร่

 21 ธ.ค.2538

5.2

 อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

รู้สึกได้ที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน มีผู้สูงอายุเสียชีวิตที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 1 คน จากการล้มศีรษะ กระแทกพื้น มีความเสียหายเล็กน้อยที่บริเวณใกล้ศูนย์กลาง

 9 ธ.ค.2538

 5.1

 อ.ร้องกวาง จ.แพร่

 รู้สึกได้ที่ อ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ และน่าน เสียหายเล็กน้อย ที่ จ.แพร่

 5 พ.ย.2538

 4.0

 อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

 รู้สึกได้ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

17 ต.ค.2538

 4.3

 อ.ปาย แม่ฮ่องสอน

 รู้สึกได้ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

11 ก.ย.2537

 5.1

 อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

 รู้สึกได้ที่ จ.เชียงราย มีความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างใกล้ศูนย์กลาง เช่น โรงพยาบาลพาน วัด และโรงเรียน  

 8 พ.ค.2537

 4.5

 จ.เชียงใหม่    

 รู้สึกได้ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จ.ลำปาง จ.ลำพูน

 5 พ.ย.2534

 4.0

 จ.แม่ฮ่องสอน

 รู้สึกสั่นไหวที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน

 3 พ.ย.2533

 4.0

  จ.กาญจนบุรี

 รู้สึกสั่นไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

12 ต.ค.2533

 4.0

 จ. เพชรบูรณ์

 รู้สึกสั่นไหวที่ อ.หล่มสัก อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์

28 พ.ค.2533

 4.2

  จ.กาญจนบุรี

 รู้สึกสั่นไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

15 ธ.ค.2532

 4.0

 จ.กาญจนบุรี

 รู้สึกสั่นไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

29 พ.ย.2531

 4.5

 จ.กาญจนบุรี

 สึกสั่นไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ และ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

25 ก.ค.2531

 4.2

 จ.พะเยา

 รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่

19 ก.พ.2531

 4.2

 จ.เชียงใหม่

 รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่

30 ส.ค.2526

 4.2

 จ.กาญจนบุรี

 รู้สึกสั่นไหวที่ จ.กาญจนบุรี

18 ก.ค.2526

 4.7

 จ.กาญจนบุรี

 รู้สึกสั่นไหวที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

22 เม.ย.2526

 5.2

 จ.กาญจนบุรี

 รู้สึกแผ่นดินไหวตลอดภาคกลาง และภาคเหนือ ส่วนอาคารใน กทม. เสียหายเล็กน้อย

22 เม.ย.2526

 5.9

 จ.กาญจนบุรี

 รู้สึกแผ่นดินไหวตลอดภาคกลาง และภาคเหนือ ส่วนอาคารใน กทม. เสียหายเล็กน้อย

15 เม.ย.2526

 5.5

 จ.กาญจนบุรี

 รู้สึกแผ่นดินไหวชัดเจนใน กทม.

20 มิ.ย.2525

 4.3

 จ.เชียงใหม่

 รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง มีเสียงดังคล้ายฟ้าร้อง

22 ธ.ค.2523

 4.0

จ.แพร่

 รู้สึกสั่นไหวที่ จ.แพร่

10 ก.พ.2523

 4.2

 จ.เชียงใหม่

 รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่ นาน 5 วินาที

24 ก.ค.2521

 4.0

 จ.ตาก

 รู้สึกสั่นไหวที่ อ.สามเงา อ.อุ้มผาง และ อ.แม่สอด จ.ตาก

26 พ.ค.2521

 4.8

อ.พร้าว  จ.เชียงใหม่              

 เสียหายเล็กน้อยที่ อ.พร้าว รู้สึกสั่นไหวนาน 15 วินาที ที่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ และลำปาง

17 ก.พ.2518

  5.6  

 พม่า-ไทย (จ.ตาก)

รู้สึกได้ทั้งภาคเหนือและภาคกลาง รวมถึง กทม. มีความเสียหายเล็กน้อย                                         

 

 
       

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 


“ชมคนด้วยวาจา มีค่ายิ่งกว่ามอบไข่มุกให้เป็นของขวัญ
ทำร้ายคนด้วยวาจา สาหัสยิ่งกว่าทิ่มแทงด้วยหอกดาบ”

 

ซุนวู

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา