บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 588
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,617
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 58,774
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,026
  Your IP :3.14.135.82

มาตราริกเตอร์ แสดงค่าออกมาในรูปแบบค่าของ ลอการีทึม (Logarithmic; log10n) ความหมายง่าย ๆ ก็คือ ค่าที่เกิดขึ้นมา เกิดจากการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดทีละ 10 – 1,000 เท่า ตามความรุนแรงของแผ่นดินไหว เพิ่มขึ้นตามช่วงกว้างของคลื่น (Wave amplitude) ของเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่วัดได้ เช่น สมมติว่า ความกว้างคลื่นในแผ่นดินไหววัดได้ระดับ 6 ริกเตอร์ ความรุนแรงเป็น 10 เท่า แต่ถ้าเพิ่มเป็น 7 ถึง 9 แล้วความรุนแรงก็จะเพิ่มเป็น 100 เท่า นี้ยกตัวอย่าง

 

รูปค่าที่เพิ่มขึ้นจะเป็นทวีคูณตามหลักลอการีทึม

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      พลังงานของแผ่นดินไหวที่ปลดปล่อยออกมา จะสัมพันธ์กับพลังในการทำลายล้าง ซึ่งสามารถวัดได้ 1.5 เท่าของขนาดความรุนแรงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่มีขนาดความรุนแรงต่างกัน 1  ริกเตอร์ ขนาดจะมีค่าเพิ่มขึ้นเท่ากับ 31.7 เท่า (log1031.7 = 1.5 ดังนั้น (101)(1.5) = 31.7) ตัวอย่างในพลังงานที่แผ่นดินไหวได้ปล่อยออกมา ที่มีความแตกต่าง 2 ริกเตอร์ จะมีค่าขนาดความรุนแรงเท่ากับ 1,000 (log101,000 = 3 ดังนั้น (102)(1.5) = 1,000 )

 

รูปค่าความรุนแรงตามขนาดมาตราริกเตอร์

 

วิดีโออธิบายความรุนแรงของแผ่นดินไหวตามมาตราริกเตอร์

 

      จากที่กล่าวก่อนหน้านี้ แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในโลก ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กมาก ส่วนใหญ่ที่เครื่องวัดแผ่นดินไหวจะจับได้จะมีค่าไม่น้อยกว่า 3 ริกเตอร์ แรงสั่นสะเทือนเหล่านี้ เรียกว่า แรงสั่นสะเทือนขนาดเล็กมาก (Microquakes) โดยมนุษย์จะไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกได้ โดยทั่วไปแล้วเรามักจะไม่ค่อยได้ยินเรื่องความเสียหายจากแผ่นดินไหวที่เกิดต่ำกว่า 4 ริกเตอร์

 

รูปการวัดขนาดแผ่นดินไหวตามแต่ละสถานีวัด

 

      เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น แล้วเครื่องมือวัดจับค่าได้ จากนั้นก็จะทำการคำนวณในทันทีที่นักวิทยาศาสตร์สามารถเปรียบเทียบข้อมูลจากความแตกต่างของสถานีวัดแผ่นดินไหว โดยจะใช้เวลาไม่นานก็จะทราบลำดับความรุนแรงตามมาตราริกเตอร์

 

รูปสถานีวัดแผ่นดินไหวจับค่าการสั่นไหวได้

 

      ส่วนในการจัดอันดับตามมาตราเมอร์คัลลี่ จะกระทำตรงข้ามกัน มันจะไม่สามารถคำนวณหาได้ จนกว่าจะได้รับการตรวจสอบ และได้มีเวลาคุยกับประจักษ์พยานจำนวนมากในช่วงที่เกิดแผ่นดินไหว เมื่อได้ข้อมูลในช่วงเกิดความเสียหายแล้ว นักวิทยาศาสตร์จะใช้เกณฑ์เมอร์คัลลี่ ทำการตัดสินใจเกี่ยวกับการประเมินที่เหมาะสม

 

 

9. เมื่อเกิดแผ่นดินไหวในทะเล ทำไมจึงเกิดคลื่นสึนามิ?

 

วิดีโอจำลองการเกิดคลื่นสึนามิ

 

รูปทุ่นตรวจจับแผ่นดินไหวในทะเล

 

 

      เมื่อเกิดแผ่นดินไหวนอกชายฝั่ง ก็จะเกิดคลื่นเข้ากระทบกับชายฝั่ง จะมีขนาดใหญ่ หรือขนาดเล็ก ก็ขึ้นอยู่กับขนาดความรุนแรงของการเกิดการไหวสะเทือน เมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงในทะเล ก็จะเกิดคลื่นยักษ์ถาโถมเข้าสู่ชายฝั่ง ถ้าบริเวณนั้นมีสิ่งปลูกสร้าง หรือผู้คนอาศัยอยู่ ก็จะสร้างความเสียหายเกิดขึ้น คลื่นที่เกิดขึ้นแล้วมีขนาดยักษ์เราเรียกว่า สึนามิ (Tsunami: มาจากภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า คลื่นท่าเรือ)

 

      การเกิดคลื่นสึนามิเกิดจากพื้นใต้ทะเลเกิดเปลี่ยนแปลงรูปร่างจนพื้นใต้น้ำเกิดแทนที่ของน้ำอย่างรุนแรงในแนวตั้ง จนทำให้น้ำที่มีมวลมหาศาลเกิดการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง

 

      ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดสึนามิ มีหลายสาเหตุ เช่น การเกิดแผ่นดินไหว, การระเบิดของภูเขาไฟใต้ทะเล, แผ่นดินถล่มใต้ทะเล เกิดการถ่ายเทพลังงานให้แก่น้ำ และมวลของน้ำก็จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงแผ่กระจายออกไปจนทำให้เกิดคลื่นยักษ์ขึ้น 

 

รูปการเกิดคลื่นสึนามิเข้าหาชายฝั่ง

 

      ในขณะที่น้ำถูกแทนที่ด้วยพื้นดิน ซึ่งแผ่นเพลทมหาสมุทรที่มีความหนาแน่นใต้แผ่นทวีปในกระบวนการที่เรียกว่า การมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (Subduction)

     

      ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วง มันพยายามที่จะฟื้นปรับความสมดุลของแผ่นดิน จนทำให้มันก่อรูปร่างเป็นคลื่นยักษ์ การเกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเลถ้ามีความรุนแรง ก็มักจะทำให้เกิดคลื่นสึนามิ

 

วิดีโออธิบายเรื่องสึนามิ

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ในยามรุ่งเรือง เพื่อนจะรู้จักเรา

แต่ในยามวิกฤติ เราจะรู้จักเพื่อน”

John Churton Collins

 

 

 

 

 

 

 

 

 

“ผมไม่ได้ล้มเหลว 10,000 ครั้ง

แต่ผมเจอวิธีที่ไม่ใช่คำตอบ 10,000 วิธีต่างหาก

มีวิธีที่ดีกว่าเสมอ ค้นหามันให้เจอ”

Thomas Alva Edison

 

 

http://www.rspg.org/thaigov_rspg/tsunami/tsm_4.htm

คลื่นสึนามิ เรียกอีกอย่างได้ว่า "คลื่นทะเลที่เกิดจากแผ่นดินไหว" (seismic sea waves)แต่มักเรียกกันผิดๆ ว่า "คลื่นน้ำขึ้นน้ำลง" (tidal wave) มักจะเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว หรือบางครั้งเกิดจากแผ่นดินใต้ทะเลถล่ม หรือเกิดจากภูเขาไฟใต้ทะเลระเบิด (แต่ไม่บ่อยครั้งนัก)  หรือเกิดจากลูกอุกาบาตพุ่งลงทะเล (แต่ก็น้อยครั้งมาก) การระเบิดของภูเขาไฟใต้ทะเลนั้น อาจก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่มีความรุนแรงได้ ตัวอย่างเช่นการระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟการากะตัว (krakatau) ในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี 1883 ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิสูงประมาณ 40 เมตร เข้าถล่มบริเวณชายฝั่ง พร้อมทั้งทำลายหมู่บ้านตามชายฝั่งราบเป็นหน้ากลองและมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 30,000 คน
          ทุกภูมิภาคของโลกที่อยู่ติดมหาสมุทรมีโอกาสที่จะโดนคลื่นสึนามิได้ทั้งหมด ทั้งนี้ประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเลต่างๆ ที่อยู่ชายขอบ มีโอกาสถูกคุกคามจากคลื่นสึนามิ ขนาดใหญ่บ่อยกว่าประเทศอื่นๆ เพราะมีแผ่นดินไหวรุนแรง  ตามแนวใกล้ขอบของมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยมาก
 

 

 

 

          
         

 

 

ภาพอธิบายการเกิดแผ่นดินไหวและการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกในเชิงธรณีวิทยา ได้แบ่งโครงสร้างของโลกเป็น 3 ส่วนใหญ่ เรียกว่า เปลือกโลก (Crust) เนื้อโลก (Mantle) และแกนโลก (Core) แผ่นเปลือกโลกจะประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่  (1) ธรณีภาคชั้นนอก หรือ ลิโทสเฟียร์ (Lithosphere) ซึ่งเป็นส่วนเปลือกโลกส่วนที่เป็นของแข็งห่อหุ้มอยู่ชั้นนอกสุดของโลก และเป็นแผ่นขนาดเล็กจำนวนมากมีความหนาประมาณ 70-250 กิโลเมตร (40-150 ไมล์) (2) ฐานธรณีภาค หรือ แอสเทโนสเฟียร์ (Asthenosphere) เป็นส่วนบนสุดของชั้นเนื้อโลก มีลักษณะเป็นหินหลอมเหลวที่เรียกว่า หินหนืด (Magma) มีความอ่อนตัวและยืดหยุ่นได้ อยู่ลึกจากผิวโลกลงไป 100-350 กิโลเมตร
.................................................................................................................................................
ทฤษฎีแผ่นเปลือกโลก
          ทฤษฎีแผ่นเปลือกโลก (plate tectonics) สมมุติภาพผิวโลกว่าประกอบด้วยแผ่นหินเปลือกโลก (lithospheric plates) ที่หนาประมาณ 70-250 กิโลเมตร (40-150 ไมล์) จำนวนไม่กี่แผ่น ลอยเลื่อนไปมาอยู่บนผิวโลกชั้นล่างที่เหลวและเหนียวหนืด (asthenosphere) แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้ครอบคลุมผิวโลกทั้งหมด ทั้งที่เป็นทวีปและพื้นมหาสมุทร โดยที่มีการเคลื่อนตัวไปมาระหว่างกันในอัตราไม่เกิน 10 เซนติเมตรต่อปี  บริเวณที่แผ่นเปลือกโลกสองแผ่นมาสัมผัสกัน เรียกว่า "บริเวณขอบแผ่น" (plate boundary) (อาจเห็นภาพง่ายกว่าหากเรียกว่า "บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่น") การบอกชนิดจะกำหนดตามวิธีเคลื่อนที่ของแผ่นหนึ่งเมื่อเทียบกับอีกแผ่นหนึ่ง รอยต่อระหว่างแผ่นมีหลายแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีเคลื่อนตัวที่แผ่นหนึ่งกระทำต่ออีกแผ่นหนึ่งซึ่งวิธีเคลื่อนตัวมีอยู่ 3 แบบ คือ

1.     แบบกระจายตัว (spreading) คือเมื่อแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นเคลื่อนที่ออกจากัน

2.     แบบมุดตัว (subduction) คือแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนเข้าหากัน โดยที่แผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งมุดเข้าไปอยู่ใต้เปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง และ

3.     แบบเปลี่ยนรูป (transform) คือแผ่นเปลือกโลกจำนวนสองแผ่นเคลื่อนที่ในแนวนอนผ่านซึ่งกันและกัน บริเวณที่มีโอกาสสูงในการเกิดคลื่นสึนามิได้คือ บริเวณที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนแบบมุดตัว (subduction zone) ซึ่งสามารถสังเกตได้จากแนวร่องลึกใต้มหาสมุทร (deep ocean trenches) และเกาะที่เกิดจากภูเขาไฟ หรือแนวภูเขาไฟที่ผุดขึ้นมาคู่กับร่องลึกในบริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณดังกล่าวนี้ในบางครั้งเรียกว่า วงแหวนแห่งไฟ (The Ring of Fire)
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ
          แผ่นดินไหวอาจเกิดมาจากภูเขาไฟระเบิด แต่แผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนที่บริเวณรอยแตกของเปลือกโลก แผ่นดินไหวระดับที่มีความรุนแรงมากหรือที่ปล่อยพลังงานเท่ากับร้อยละ 80 ของพลังงานที่เกิดจากแผ่นดินไหวทั่วโลก มักจะเกิดขึ้นในบริเวณที่เกิดการมุดตัว ซึ่งพื้นผิวโลกใต้มหาสมุทรมีการเคลื่อนตัวมุดเข้าไปใต้พื้นแผ่นทวีปหรือใต้แผ่นท้องมหาสมุทรที่เพิ่งจะก่อตัวขึ้นมาใหม่

คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวในทะเลญี่ปุ่นกำลังเคลื่อนตัวเข้าถล่มเกาะโอกุชิริ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ปี 1983 ระดับน้ำหนุนในภาพมีความสูง 5.9 เมตร (19 ฟุต) แต่ระดับน้ำหนุนวัดได้ที่จังหวัดอากิตะ ซึ่งอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวไปทางตะวันออกประมาณ 100 กิโลเมตร มีระดับสูงถึง 14 เมตร (45 ฟุต) และมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้รวมทั้งหมด 100 คน ในจำนวนนี้ 3 คนเสียชีวิตที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งคลื่นยักษ์เดินทางมาถึงภายหลังเกิดแผ่นดินไหวแล้วชั่วโมงครึ่ง (รายงานของมหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่น)

          แผ่นดินไหวใช่ว่าจะทำให้เกิดคลื่นสึนามิทุกครั้งไป คลื่นสึนามิจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อแผ่นดินไหวที่รอยแตกของเปลือกโลกนั้นต้องอยู่ใต้หรือใกล้กับมหาสมุทร และไปทำให้พื้นสมุทรมีการเคลื่อนที่ในแนวตั้ง (ขนาดความสูงหลายเมตร) ในพื้นที่กว้าง (ถึงหนึ่งแสนตารางกิโลเมตร) แผ่นดินไหวในบริเวณน้ำตื้น (ลึกไม่เกิน 70 กิโลเมตร หรือ 42 ไมล์) ตามแนวการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก เป็นตัวการก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่มีอานุภาพในการทำลายสูงที่สุด  กลไกที่ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ คือ ปริมาณการเคลื่อนไหวทั้งแนวตั้งและแนวนอนของพื้นสมุทร ความกว้างของบริเวณที่เกิดการเคลื่อนไหว การทรุดตัวของชั้นตะกอนใต้ทะเลที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการสั่นสะเทือน และประสิทธิภาพของการถ่ายเทพลังงานจากเปลือกโลกไปยังน้ำในมหาสมุทร (อ่านต่อ)

 
       

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา