บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 340
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 8,999
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,234
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,731
  Your IP :3.135.190.232

8. มาตราวัดริกเตอร์

 

      เมื่อเราดูข่าวที่เกิดเกี่ยวกับแผ่นดินไหว มักจะได้ยินคำหนึ่งที่ผู้ประกาศข่าวเอ่ยขึ้นมา นั่นก็คือ “ตามมาตราริกเตอร์ (Richter scale)” มันคือ หน่วยวัดขนาดของแผ่นดินไหว จากพลังงานที่แผ่นดินไหวปล่อยออกมา เช่น แผ่นดินไหวขนาด (Magnitude) 6.1 ตามมาตราวัดริกเตอร์

 

หมายเหตุ: แผ่นดินไหวจะรุนแรงไม่รุนแรง ต้องดูขนาดควบคู่ไปกับความลึกของจุดศูนย์กลาง กล่าวคือ ถ้าขนาดใหญ่แต่ถ้าอยู่ลึกมากก็อาจจะไม่แรง แต่ถึงขนาดไม่ใหญ่มาก แต่จุดศูนย์กลางอยู่ตื้น ก็อาจสร้างความเสียหายได้มาก, ส่วนสิ่งที่รับรู้ได้บนดินคือ ความสั่นสะเทือน (ความรุนแรง, intensity) ซึ่งแต่ละพื้นที่บนพื้นดินจะมีความสั่นสะเทือนแตกต่างกัน แล้วแต่ว่าอยู่ใกล้ไกล จุดเหนือศูนย์แผ่นดินไหว (epicenter) แค่ไหน

 

รูประดับของมาตราริกเตอร์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปความรุนแรงของแผ่นดินไหวตามมาตราริกเตอร์เทียบกับภาพการ์ตูน

 

อาจจะได้ยินอีกคำนึงแต่ก็ไม่ค่อยคุ้นหูก็คือ มาตราเมอร์คัลลี่ (Mercalli scale) ถึงแม้ว่าจะไม่ได้กล่าวถึงบ่อย แต่สเกลทั้งสองนี้ได้อธิบายถึงระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว จากสองมุมมองที่มีความแตกต่างกัน

 

รูประดับของมาตราเมอร์คัลลี่

 

รูปความแตกต่างของสเกลทั้งสอง  

 

การเปรียบเทียบมาตรริกเตอร์ กับมาตรเมอร์คัลลี่

มาตราริกเตอร์

มาตราเมอร์คัลลี่

2.5

โดยทั่วไปแทบไม่มีความรู้สึก แต่เครื่องวัดแผ่นดินไหวสามารถจับการไหวสะเทือนได้

I.

เกือบจะไม่มีใครรู้สึก

III.

น้อยคนที่จะรู้สึก

3.5

คนจำนวนมากอาจจะรู้สึกได้

III.

เกิดการสั่นสะเทือนที่สังเกตได้ แต่ยังไม่คิดว่าจะเป็นการเกิดแผ่นดินไหว

IV.

อยู่ในอาคารจะมีความรู้สึก เหมือนกับรถบรรทุกวิ่งผ่านจนเกิดการสั่นไหวกับอาคาร

V.

เกือบทุกคนรู้สึกได้, มีความตื่นตัว ต้นไม้ และสาอาจโยกไปมาสังเกตเห็นได้

4.5

อาจเกิดความเสียหายขึ้น

VI.

ทั้งหมดรู้สึกได้ คนจำนวนมากจะวิ่งออกจากอาคาร, เฟอร์นิเจอร์สั่นไหว, เกิดความเสียหายขึ้นเล็กน้อย

VII.

ทุกคนต้องวิ่งออกจากอาคาร, โครงสร้างอาคารจะเสียหายมาก, บริเวณอื่นอาจเกิดความเสียหายเล็กน้อย

6.0

เกิดพังทลายจากแผ่นดินไหว

VIII.

ในโครงสร้างที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ จะมีความเสียหายเล็กน้อย, ส่วนอื่นพังทลาย

IX.

ทุกโครงสร้างอาคารเกิดความเสียหายอย่างมาก, ฐานรากอาคารเกิดการเลื่อนตัว, เกิดรอยแตกของพื้นดินอย่างเห็นได้ชัด

7.0

เกิดแผ่นดินไหวใหญ่

X.

โครงสร้างอาคารต่าง ๆ ถูกทำลาย, พื้นดินเกิดรอยแยกอย่างมาก

8.0

หรือมากกว่า

เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่สุด

XI.

โครงสร้างอาคารส่วนใหญ่เสียหาย, รอยแยกบนพื้นดินมีขนาดใหญ่มาก

XII.

ทุกสิ่งทุกอย่างเสียหายหมด, เกิดคลื่นบนพื้นผิวดิน, วัตถุโยนตัว และร่วงหล่นได้

ตารางเปรียบเทียบสเกลวัดแผ่นดินไหว ริกเตอร์ กับเมอร์คัลลี่

 

      การจัดอันดับริกเตอร์เป็นเพียงความคิดคร่าว ๆ เท่านั้นของการเกิดแผ่นดินไหว ถึงแม้ว่า ที่เราได้เห็นพลังการทำลายล้างของแผ่นดินไหว ความรุนแรงจะมีความแตกต่างกันไป สิ่งเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบในแต่ละพื้นที่นั้น ได้แก่ ลักษณะพื้นดิน, ความลึกของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว และการออกแบบสร้างอาคาร สิ่งปลูกสร้างตรงบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว

 

      ส่วนขอบเขตของความเสียหายจะมีการจัดลำดับในมาตราเมอร์คัลลี่ ซึ่งจะกำหนดไว้เป็นตัวเลขโรมัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการแปลความหมายไปตามวิสัยทัศน์ส่วนใหญ่ แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงต่ำอาจซึ่งมีเพียงไม่กี่คนที่สามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนนั้นได้ และที่สำคัญมันไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน

 

      การจัดเรียงลำดับความรุนแรงของเมอร์คัลลี่ ที่พอรู้สึกได้ มักจะถูกจัดไว้เริ่มต้นอยู่ในอันดับที่ II เรียงลำดับเรื่อยไป จนถึงสูงสุดคือ XII ถ้าถึงระดับนี้แล้ว ผลของการเกิดแผ่นดินไหวจะทำให้โครงสร้างต่าง ๆ พังทลายลงมา แผ่นดินแยก และภัยธรรมชาติอื่น ๆ เช่น ดินถล่ม หรือสึนามิ จะเริ่มต้นเกิดขึ้น

 

วิดีโออธิบายขนาดของแผ่นดินไหวในมาตราริกเตอร์

 

            มาตรฐานที่พบมากที่สุดของการวัดแผ่นดินไหว ก็คือ การวัดด้วยมาตราริกเตอร์ ถูกคิดค้นในปี พ.ศ. 2478 โดย ชาร์ล เอฟ. ริกเตอร์ (Charles F. Richter) ของสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย

 

รูปชาร์ล เอฟ. ริกเตอร์

 

      มาตราริกเตอร์ ใช้ในการคาดคะเนขนาดของการเกิดแผ่นดินไหว และปริมาณของพลังงานที่ปล่อยออกมาของมัน ซึ่งคำนวณได้จากการรวบรวมข้อมูลจากเครื่องวัดแผ่นดินไหวไซสโมกราฟที่อยู่ในบริเวณต่าง ๆ

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ถ้ายิ้มให้กับคนที่อยู่ในกระจก

รับรองว่าเขาต้องยิ้มกลับมาทุกครั้งแน่”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา