3. แผ่นเปลือกโลก
รูปแผ่นเปลือกโลก
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
วิดีโอแอนิเมทชัน แผ่นเปลือกโลก
ในอดีตที่ผ่านมา คนสมัยก่อนยังไม่มีความรู้ข้อเท็จจริงในเรื่องแผ่นดินไหวว่ามันเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร ถึงแม้ว่าจะพยายามที่จะหาทฤษฏีมาต่าง ๆ นานามาอธิบาย เช่น มีความเชื่อว่า แผ่นดินไหวอันเนื่องมาจากมีอากาศไหลออกมาจากโพรงใต้ดิน แล้วยังมีความคิดต่าง ๆ อีกมากมายที่เกิดขึ้นมา
จนกระทั่งประมาณกลางศตวรรษที่ 18 นักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มต้นศึกษา และทำการวัดค่าของแผ่นดินไหวอย่างจริงจัง โดยมีการใช้อุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ และพัฒนาขึ้นมาจากประเทศอิตาลีเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่เรียกว่า ไซสโมกราฟ (Seismograph)
รูปไซสโมกราฟ
วิดีโอแอนิเมทชันแสดงการทำงานของไซสโมกราฟ
รูปไซสโมกราฟกับการวัดค่าแผ่นดินไหว
สุดท้ายในช่วง พ.ศ. 2508 นักวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรได้อธิบายถึงทฤษฏีที่ว่าทำไมโลกถึงได้สั่นสะเทือน
ทางทฤษฏีที่เรียกว่า แผ่นเปลือกโลก นั่นก็คือชั้นของเปลือกโลก (Earth’s crust) หรือธรณีภาค (Lithosphere)
รูปการแบ่งโลกออกเป็นชั้น ๆ
รูปแสดงแผ่นเปลือกโลก หรือธรณีภาค
รูปความหนาของแผ่นเปลือกโลก
ที่เป็นชั้นแผ่นดินที่ลอยอยู่บน ชั้นฐานธรณีภาค (Asthenosphere layer) ที่เป็นชั้น ๆ เป็นแผ่นหิน และดินที่หลอมเหลว นี่เป็นสาเหตุให้แผ่นดินสามารถเลื่อนไหลไปมาได้
รูปชั้นฐานธรณีภาค
แผ่นเปลือกเหล่านี้บางครั้งเคลื่อนที่ออกจากกัน จนทำให้แม็กม่า (Magma) หรือหินหลอมเหลว (Molten rock) ใต้โลกพุ่งขึ้นมา ออกมาปกคลุมผิวโลกด้านบน ที่เรารู้จักกันในชื่อ ลาวา (Lava)
รูปแม็กม่า
รูปแม็กม่า และลาวา
รูปลาวาจากปล่องภูเขาไฟ
วิดีโอภูเขาไฟระเบิดที่ชิลี
เมื่อมันออกมาสู่ผิวโลกบริเวณนั้น และเย็นตัวลงก็จะเกิดชิ้นส่วนใหม่ของเปลือกโลก แนวเส้นที่เกิดเหตุการณ์นี้เราเรียกว่า แนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว (Divergent plate boundary)
รูปแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว
เหตุการณ์ที่แผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งที่เกิดขึ้นมันไปกดดันแผ่นอื่น ๆ ที่อยู่ข้าง ๆ บางครั้ง แผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งอาจจะจมอยู่ข้างใต้ที่เป็นชั้นที่ร้อนจนบางส่วนแผ่นเปลือกนั้นเริ่มหลอมตามกัน และบางส่วนก็ละลายไปกับหินหลอมเหลว แผ่นเปลือกโลกสองแผ่นอาจจะผลักดันกัน และยกแผ่นเปลือกขึ้นมา จนกลายเป็นภูเขา (Mountains) ก็ได้ บริเวณที่เป็นแบบนี้ เราจะเรียกว่า แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (Convergent plate boundary)
รูปแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน
แต่ในกรณีอื่น ๆ แผ่นเปลือกโลกจะเลื่อน และไปถูขัดกับแผ่นเปลือกอีกแผ่นหนึ่ง เหมือนกันกับมีรถสองคันขับคู่กันไปแล้วสีข้างรถถูกกัน แต่การเกิดกับแผ่นเปลือกโลกเป็นไปอย่างช้ามาก ๆ ที่บริเวณระหว่างแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นถูกัน เราเรียกว่า แนวเปลือกโลกชั้นนอกเคลื่อนผ่านกัน (Transform boundary)
รูปแนวเปลือกโลกชั้นนอกเคลื่อนที่ผ่านกัน
วิดีโออธิบายแผ่นเปลือกโลก และการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกรูปแบบต่าง ๆ
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเหล่านี้จะปลดปล่อยพลังงานที่ถูกกักเก็บไว้ออกมา จนเกิดการเลื่อนตัวของแนวแผ่นเปลือกโลก ที่เรียกว่า แนวรอยเลื่อน (Fault line)
รูปแนวรอยเลื่อนในตุรกี
การเคลื่อนตัวจะเกิดในทิศทางที่ต่างกันไป ส่วนมากจะเป็นรูปแบบ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่เกิด การเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งสิ่งที่ได้มาหลังจากการเกิดแผ่นดินไหวก็คือแนวรอยเลื่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วยไม่มากก็น้อย
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“งานเลี้ยง ย่อมมีวันเลิกราเสมอ
หากทำใจให้พบกับการสิ้นสุดได้
ก็ไม่เห็นต้องคร่ำครวญเสียใจ”