บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,450
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 12,479
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,636
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,888
  Your IP :3.137.173.98

32.6 ขั้นตอนการใช้แพ หรือเรือยาง

 

      การใช้แพ หรือเรือยางในการเอาตัวเองให้รอดจากทางน้ำ มีความจำเป็น เรามาดูขั้นตอนการใช้แพกัน

 

หมายเหตุ: ก่อนที่เราจะลงแพ หรือเรือยาง ควรตรวจสอบตัวเรา และคนที่จะลงก่อนว่า ในตัวมีของมีคมที่จะทำให้แพ หรือเรือยางทะลุหรือไม่ เพราะถ้าเผลอเอาขึ้นไป อาจทำให้เกิดการเสียหายได้กับแพ หรือเรือยาง ถ้าหากจำเป็นต้องพก ควรเก็บให้ดีมิดชิด เพราะหากเกิดความเสียหายขณะที่ทำการล่องในน้ำอาจเกิดปัญหาใหญ่

 

 

32.6.1 เรือยางคนเดียว

 

      เรือยางคนเดียว (One-man raft) ตามมาตรฐาน จะมีขวดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ติดไว้กับแพ หากเกิดการรั่วไหลกับแพ หรือกระป๋องอัดอากาศหาย สามารถใช้ปากเป่าได้

 

      ภายในเรือควรมีสิ่งป้องกันความหนาวเย็น อาจใช้วัสดุที่เป็นฉนวนความร้อนหุ้มตัวเพื่อป้องกันความหนาวเย็นทำให้คุณไม่เกิดภาวะไฮโปเทอร์เมีย (Hypothermia)

 

รูปตัวอย่างเรือยางคนเดียว

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

รูปเรือยางคนเดียวที่มีสิ่งป้องกันอากาศหนาว

 

      คุณสามารถเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการใช้เรือยาง โดยเมื่อขึ้นฝั่ง สามารถเอาลมออก และพับเก็บได้

 

      ในการล่องเรือ ไปตามกระแสน้ำ  เมื่อเรือมีความเร็วเกิน จะใช้สมอทะเลเพื่อฉุดเรือไม่ให้เร็วเกินไป และควบคุมทิศทางเรือได้

 

      มีการพัฒนาเรือยาง เพื่อใช้งานได้ดีขึ้น ตัวเรือมักทำให้มีสีดำ เพื่อให้ผสมผสานกลมกลืนกับพื้นหลังของทะเล

 

      ในเรือควรมีเชือกเส้นเล็กเพื่อโยงเรือกับคนที่อยู่ในน้ำ ในการช่วยเหลือ คนที่ตกน้ำ จะใช้ตัวเชือกนี่นำพาไปที่เรือ การขึ้นเรือยางคนเดียว จะขึ้นตามแนวยาว หากขึ้นตามแนวขวางจะทำให้เรือยางอาจพลิกคว่ำได้ ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปการขึ้นแพ

 

 

รูปการขึ้นแพ หรือเรือยาง

      หากมีอาการบาดเจ็บที่แขน วิธีที่ดีที่สุดในการขึ้นก็คือ หันหลังของคุณไปที่ส่วนปลายของเรือยาง และกดเรือยางให้อยู่ใต้ก้นคุณ และนอนหงาย ยังมีอีกวิธีหนึ่งในการขึ้นเรือยาง คือ กดลงที่ปลายเล็กน้อย จนกระทั่งหัวเข่าข้างหนึ่งอยู่ข้างในแล้วนอนไปข้างหน้า ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปการขึ้นเรือยางอีกวิธี

 

      ในทะเลที่มีคลื่นลมแรง อาจใช้การยึดตรึงตัวเรือเข้ากับตัวเอง และใช้สมอทะเลคอยพยุงเรือ ควรมีแผ่นกันความร้อน หรือฉนวนความร้อน เพื่อป้องกันการหนาวเย็นท่ามกล่างทะเล และในตอนกลางวันจะปกป้องคุณได้จากสภาพอากาศที่ร้อน ดูเรือยางที่รูปด้านล่าง

 

รูปแพคนเดียวกับโล่สเปรย์พ่นให้พอง

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“รถไฟ ที่แวะจอดทุกสถานี

มันไปได้ไม่เร็วหรอก

ชีวิตคนเราก็เช่นกัน

ให้ความสำคัญกับ

ทุกเรื่องที่เข้ามาในชีวิต

แล้วเมื่อไหร่ล่ะจะถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้”

 

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา