บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 956
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,985
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,142
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,394
  Your IP :3.143.235.104

5.1.7 วิธีการเม้าส์-ทู-โน๊ส

 

      ให้ใช้วิธีการนี้ หากไม่สามารถช่วยเหลือให้หายใจแบบเมาส์-ทู-เมาส์ได้ สาเหตุที่ต้องใช้เพราะว่าปากของผู้บาดเจ็บ ได้รับบาดเจ็บ เช่น ขากรรไกรหัก แตก ร้าว หรือมีบาดแผล หรือปากปิดสนิทแน่นเปิดไม่ได้

 

 

รูปวิธีเมาส์-ทู-โน๊ส

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      วิธีการนี้จะให้ผลเช่นเดียวกันกับ เมาส์-ทู-เมาส์ เพียงแต่นำอากาศที่เป่าเข้าทางจมูกแทน ขณะที่ผู้ช่วยเหลือกุมริมฝีปากที่ปิดด้วยมือด้านที่ช้อนคาง แล้วก็นำปากประกบกับจมูกผู้บาดเจ็บเพื่อเป่าอากาศเข้า มันอาจเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อจะค่อย ๆ แยกริมฝีปากของผู้บาดเจ็บด้วย เพื่อช่วยให้ลมหายใจออกมาทางปากอีกทาง 

 

 

5.1.8 การเต้นของหัวใจ

 

 

รูปเครื่องมือวัดการเต้นของหัวใจ

 

      การเต้นของหัวใจ (Heartbeat) หากหัวใจของผู้บาดเจ็บหยุดเต้น ผู้ช่วยเหลือต้องทำการช่วยเหลือทันที หรือไม่ก็หาคนที่เป็นบุคลากลทางการแพทย์มาช่วย เพราะการหยุดเต้นของหัวใจถ้าหากว่านานไปจะทำให้ผู้บาดเจ็บเสียชีวิตลงได้ ผู้ที่ช่วยเหลือต้องเร่งดำเนินการ และควรที่จะสงบ นิ่ง คิด และลงมือทำ

 

 

รูปหัวใจ

 

      เมื่อผู้บาดเจ็บหัวใจเกิดหยุดเต้น ไม่มีการเต้นของชีพจร ไม่ได้สติ ผู้ช่วยเหลือควรประเมินผู้บาดเจ็บ แล้วดำเนินการตามขั้นตอนของการช่วยเหลือ ตรวจสอบชีพจร หากตรวจไม่พบชีพจร ให้ทำการปั๊มหัวใจ หรือหาบุคลากรทางแพทย์เข้าช่วยหลือ

 

 

 

5.1.9 สิ่งกีดขวางทางเดินหายใจ

      เพื่อให้ออกซิเจนในอากาศไหลเข้า และออกจากปอด ทางเดินหายใจส่วนบนจะต้องไม่มีอะไรกีดขวาง

 

 

5.1.9.1 สิ่งกีดขวางทางเดินหายใจส่วนบน

มักจะเกิดขึ้นเนื่องจาก

 

1) ลิ้นของผู้บาดเจ็บตกกลับลงไปในลำคอ ขณะที่ผู้บาดเจ็บไม่ได้สติ เป็นผลมาจากการบาดเจ็บ การหยุดหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตไม่ทำงาน (Cardiopulmonary arrest) และอื่น ๆ

 

2) มีวัตถุอื่นแปลกปลอมติดอยู่ในลำคอ มักจะเกิดจากการกินอาหารเข้าไป (เนื้อสัตว์ มีส่วนมากสุดที่เกิดการกีดขวาง) จนเกิด การสำลัก (Choking on) อาหาร นอกจากนี้ยังมี

 

      - มีความพยายามที่จะกลืนอาหารชิ้นใหญ่ หรือเคี้ยวไม่ดี

      - การดื่มแอลกอฮอล์

      - ฟันปลอมหลุดเข้าไป

 

 3) มีเศษอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหาร และอาจปิดกั้นทางเดินหายใจ

 

4) การอุดตันของเลือดแห้งที่เกิดจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือใบหน้า แล้วไหลปิดทางเดินหายใจ

 

 

5.1.9.2 การป้องกันไม่ให้มีสิ่งกีดขวางทางเดินหายใจส่วนบน

ควรทำดังต่อไปนี้

 

1) ตัดอาหารเป็นชิ้นเล็ก ๆ และเวลากินให้เคี้ยวช้า ๆ อย่างทั่วถึง

 

2) หลีกเลี่ยงการหัวเราะ และพูดคุย ขณะเคี้ยว และกลืนอาหาร

 

3) งดการดื่มแอลกอฮอล์ในขณะทานอาหาร

 

4) เก็บอาหาร และวัตถุต่าง ๆ ห่างจากเด็กขณะที่เดิน วิ่ง เล่น

 

5) หากเกิดเหตุ ให้พิจารณาตำแหน่ง / การรักษาที่ถูกต้องของการเปิดทางเดินหายใจ สำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บที่ไม่ได้สติ 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ถ้าเราไหว้พ่อไหว้แม่ไม่ได้

อย่าไปไหว้พระ

ถ้าพ่อแม่ของเรายังไม่อิ่ม

อย่าไปเที่ยวหาเลี้ยงให้พระอิ่ม

ของดี ๆ ขนไปให้พระกินหมด

ให้พ่อแม่อดอยาก นี่ตกนรกกันหมด

เพราะฉะนั้นต้องเลี้ยงพ่อแม่”

 

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา