5.1.3 การเปิดทางเดินหายใจ ผู้บาดเจ็บหมดสติ และไม่หายใจ
ลิ้น (Tongue) พบบ่อยมากที่จะเป็นสาเหตุให้เกิดการอุดตันต่อทางเดินหายใจ รูปด้านล่าง
รูปลิ้นเข้าไปอุดท่อทางเดินหายใจ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปลิ้นเข้าไปอุดท่อทางเดินหายใจ
ในกรณีส่วนมาก การเปิดทางเดินหายใจให้สะดวกขึ้น สามารถทำได้โดยการเอียงหัว หรือยกคาง ซึ่งจะเป็นการดึงลิ้นให้ออกจากท่อทางเดินหายใจในคอ รูปด้านล่าง
รูปลิ้นเข้าไปอุดทางเดินหายใจ และการแก้ปัญหา
1) ขั้นตอนแรก เรียกขอความช่วยเหลือ แล้วแจ้งตำแหน่งอุบัติเหตุ ถ้านอนคว่ำอยู่ให้เคลื่อนตัว (พลิก) อุบัติเหตุบนหลังของเขา รูป c
รูปการตรวจสอบการตอบสนอง (ซ้ำ)
ข้อควรระวัง ดูแลเรื่องการพลิกตัว เพราะอาจจะเกิดการบาดเจ็บที่คอ หรือหลังได้ การเคลื่อนตัวจนทำให้เกิดการบาดเจ็บที่คอ หรือหลังอาจได้รับการบาดเจ็บถาวรที่กระดูกสันหลัง
ข้อสังเกต หากมีวัตถุแปลกปลอม หรือปรากฏการอาเจียนออกมา ที่ปากควรจะเอาออก
2) ขั้นตอนที่สอง เปิดช่องทางเดินหายใจ โดยใช้วิธีดึงขากรรไกร หรือกระดกศีรษะ แต่ห้ามใช้มากเกินความจำเป็นในจำนวนที่ทำแต่ละครั้ง
ข้อสังเกต การกระดกศีรษะ / การยกคาง (chin-lift) เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญในการเปิดทางเดินหายใจ อย่างไรก็ดี ควรทำอย่างนุ่มนวล เพราะการใช้แรงที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บในกระดูกสันหลัง (Spinal)
(1) เทคนิคปฏิบัติการดึงขากรรไกร วิธีการนี้จะสำเร็จได้โดยผู้ช่วยชีวิตยกมุมกรามของผู้ได้รับบาดเจ็บ และยกขึ้นด้วยมือทั้งสองแต่ละด้าน จะทำให้ขากรรไกรเคลื่อนออกไปข้างหน้า และยกขึ้น
รูปการดึงขากรรไกร
รูปการดึงขากรรไกร 2
ข้อศอกของผู้กู้ชีพ ควรวางพักบนพื้นเหนือหัวของผู้บาดเจ็บที่นอนอยู่ ที่บริเวณใกล้ริมฝีปากล่างสามารถใช้หัวแม่มือดันเปิดปาก หากว่าจำเป็นที่จะต้องใช้ปากหายใจ ส่วนหัวควรมีอะไรมารอง และไม่ควรให้เอียงไปด้านหลัง หรือไปทางด้านข้าง หรือถ้ายากก็ควรให้ศีรษะเอียงไปข้างหลังเล็กน้อย
การดึงขากรรไกร เป็นวิธีการแรกที่น่าปลอดภัยที่สุดในการเปิดทางเดินหายใจ ยกเว้นอุบัติเหตุที่เกิดการบาดเจ็บที่คอ เพราะในกรณีส่วนใหญ่สามารถทำได้โดยไม่ต้องยืดคอ
(2) เทคนิคการเอียงศีรษะ ยกคาง วางมือข้างหนึ่งบนหน้าผากของผู้บาดเจ็บและประคอง ใช้ฝ่ามือดันย้อนหลังเพื่อเอียงหัวกลับ วางปลายนิ้วของมืออีกข้างใต้ส่วนกระดูกของขากรรไกรล่าง และยก นำคางไปข้างหน้า ไม่แนะนำที่จะใช้หัวแม่มือมายกคาง ดูรูปด้านล่าง
รูปเทคนิคยกหัว / คาง เพื่อเปิดทางเดินหายใจ
หมายเหตุ ไม่ควรใช้นิ้วมือกดลึกไปที่เนื้อเยื่ออ่อนใต้คาง เพราะอาจเป็นอุปสรรคกับทางเดินหายใจได้
ขั้นตอนที่สาม ตรวจสอบการหายใจ (ขณะที่ยังคงหายใจ) หลังจากทำการเปิดทางเดินหายใจ สิ่งสำคัญก็คือต้องรักษาการเปิดทางเดินหายใจอยู่ตลอด ซึ่งมีบ่อยครั้ง เพียงแค่ทำการเปิด และรักษาทางเดินหายใจไว้ ก็สามารถทำให้ผู้ประสบภัยได้รับการหายใจที่ถูกต้องได้เอง
เมื่อทำการกู้ชีพ โดยใช้เทคนิคที่จะเปิดทางเดินหายใจ (ดึงขากรรไกร / ยกคาง) ผู้กู้ชีพควรรักษาตำแหน่งศีรษะเพื่อรักษาการเปิดทางเดินหายใจ เพราะต้องให้ผู้บาดเจ็บได้รับออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ
ดังนั้น ขณะที่ทำการเปิดทางเดินหายใจ การกู้ชีพควรตรวจสอบสำหรับการหายใจโดยการสังเกต เหตุการณ์ที่บริเวณหน้าอก และให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ โดยใช้เวลาภายใน 3 – 5 วินาที
1) มองดูที่หน้าอกว่า ว่าขึ้นหรือลงตลอดเวลาหรือไม่
2) ฟังเสียงการหายใจ จากการปล่อยออกมาของอากาศหายใจ โดยการวางหูแนบที่ปากของผู้ประสบอุบัติเหตุ
3) ใช้ความรู้สึก สำหรับการไหลของอากาศหายใจจากผู้เบาดเจ็บด้วยแก้มของคุณเอง ดูรูปด้านล่าง
รูปการตรวจสอบการหายใจ
4) หากเกิดเหตุการณ์จนผู้บาดเจ็บไม่หายใจ ก็ให้ใช้วิธี เมาส์ ทู เมาส์ เพื่อช่วยชีวิต
รูปการใช้เมาส์ ทู เมาส์ เพื่อกู้ชีพ
หมายเหตุ หากผุ้บาดเจ็บ กลับมาหายใจได้ ควรหมั่นตรวจสอบ และรักษาการเปิดทางเดินหายใจ ให้เขาสามารถหายใจได้อย่างต่อเนื่อง แล้วควรที่จะถูกส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลให้โดยเร็ว
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ในการฝึกความอดทน
ศัตรูของคุณ คือ
ครูที่ดีที่สุด”
Dalai Lama