4.6.2 การโดนน้ำแข็งกัด
รูปอาการของมือที่โดนน้ำแข็งกัด
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
น้ำแข็งกัด หรืออาการบวมเป็นน้ำเหลือง สาเหตุจากการที่อยู่ในภูมิอากาศที่หนาวเย็น เช่น พื้นที่หิมะ, พื้นที่อากาศที่เย็นจัด แล้วอวัยวะของร่างกายถูกความเย็นนานเกินไป ทำให้เกิดการบวมที่เกิดจากการที่โดนความเย็นกัด
น้ำแข็งกัดตอนเริ่มแรกจะไม่เหนักเพียงแต่ทำให้ผิวหนังเริ่มหมองคล้ำ, ซีดขาว ส่วนอาการน้ำแข็งกัดที่หนัก ส่วนที่โดนกัดมันจะกินลึกไปถึงใต้ผิวหนัง เนื้อเยื่อจะแข็งตัว และไม่สามารถขยับได้ อวัยวะที่โดนน้ำแข็งได้แก่ มือ, เท้า และส่วนที่สัมผัสความเย็น ซึ่งก็อาจมีความเสี่ยงที่จะโดนน้ำแข็งกัด
รูปกระบวนการเกิดน้ำแข็งกัด
เมื่อมีคนอื่น ๆ อยู่ด้วย ให้ป้องกันน้ำแข็งกัดด้วยให้เพื่อนคอยตรวจดูใบหน้า และอวัยวะต่าง ๆ ที่สัมผัสกับน้ำแข็งโดยตรง ให้คอยตรวจสอบซึ่งกันและกัน แต่ถ้าหากอยู่คนเดียว พยายามจับจมูกของตัวเองเป็นครั้งคราวว่าอวัยวะที่โดนยังมีความรู้สึกดีหรือไม่ และควรหาถุงมือ, ถุงเท้า ผ้าแห้งคอยปิดบริเวณที่โดนความเย็น
อย่าพยายามที่จะนำแผลที่โดนน้ำแข็งกัดแล้วไปใกล้เปลวไฟ เพราะความร้อนอย่างฉับพลันจะทำให้เนื้อเยื่อตายได้ ควรนำอวัยวะนั้นไปแช่ในน้ำอุ่น และคอยนวดเบา ๆ แล้วนำผ้าแห้งมาวางบนผิวที่โดนน้ำแข็งกัดเพื่อให้ความอบอุ่นพื้นที่ตรงนั้น
รูปการบวมเป็นน้ำเหลือง
วิดีโอการบวมเป็นน้ำเหลือง หรือน้ำแข็งกัด
4.6.3 เท้าเปื่อย
รูปเท้าเปื่อย
เท้าเปื่อยเกิดจากสภาวะของการนำเท้า ไม่เว้นแม้กระทั่งมือ หรืออวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย ที่ถูกแช่อยู่ในน้ำจนเปียก แล้วอยู่นานหลายชั่วโมง หรือเป็นวัน จนทำให้เส้นประสาท และกล้ามเนื้อเกิดความเสียหาย จนอาจทำให้เกิดการเน่าเป็นแผลเรื้อรังได้
ในกรณีที่รุนแรงจนเนื้อหนังตรงนั้นตาย อาจมีความจำเป็นที่จะต้องตัดขา หรือเท้า
รูปอาการเท้าเปื่อยที่เป็นหักอาจถึงต้องตัดขา (สยองนิดนึงนะ)
การป้องกันที่ดีที่สุดคือ พยายามให้เท้าแห้ง หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรที่จะห่อหุ้มเท้าด้วยวัสดุกันน้ำในขณะแช่น้ำ แล้วอย่าใส่ถุงเท้าที่เปียกบ่อย ๆ ควรทำความสะอาดเท้าทุก ๆ วัน และหาถุงเท้าแห้งใส่
รูปอาการเท้าเปื่อยเริ่มแรก
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“อาการของคนใกล้ล้มเหลว
ขี้บ่น แทนที่จะ แก้ปัญหา
ชอบตำหนิ แทนที่จะ มองข้อดี
ชอบใช้อารมณ์ แทนที่จะ ใช้เหตุผล
ชอบหนักใจ แทนที่จะ หนักแน่น”
|