บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,127
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 8,232
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 71,158
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,339,045
  Your IP :44.211.91.23

4.6 บาดแผล

 

      เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากของมีคม หรือใด ๆ ก็ตาม จนทำให้เกิดบาดแผล (Wounds) ขึ้น หลังจากการเกิดบาดแผลขึ้นแล้ว อาจทำให้เกิด แผลเปิด (Open wounds), โรคผิวหนัง (Skin diseases), การโดนน้ำแข็งกัด หรือบวมเป็นน้ำเหลือง (Frostbite), เท้าเปื่อย (Trench foot) และแผลไฟไหม้ (Burns) ขึ้น

 

 

4.6.1 บาดแผลเปิด

 

      แผลเปิด เป็นสิ่งที่ต้องกังวล ถ้ายิ่งเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่จะต้องรอด เพราะไม่เพียงแต่เนื้อเยื่อ และเสียเลือดเท่านั้น มันยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ จากแบคทีเรียที่อยู่บนวัตถุ, บนผิวหนัง, ตามเสื้อผ้าที่ใช้ และบนวัสดุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดแผล  เมื่อแผลได้สัมผัสกับสิ่งสกปรกก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

 

 

รูปตัวอย่างของแผลที่เปิด

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ถ้าได้รับการดูแลบาดแผลอย่างเหมาะสม จะทำให้ลดการปนเปื้อน และช่วยฟื้นฟูการรักษาได้ดีขึ้น ดังนั้น เมื่อเกิดแผลขึ้นมาควรที่จะทำความสะอาดบาดแผลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยการ

 

§  เอาเสื้อผ้า หรือตัดเสื้อผ้าตรงบริเวณแผลออก อย่าให้สัมผัสกับแผล

 

§  ดูที่แผลว่า มีวัตถุมีคม, เศษของมัน อยู่หรือไม่ ถ้ามีให้เอาออกมาก

 

§  ทำความสะอาดผิวรอบ ๆ บาดแผล

 

§  ล้าง (แบบไม่ต้องขัดถู) แผล ด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านแผลจำนวนมาก ถ้าสมมติว่าไม่สามารถหาน้ำมาล้างแผลได้ ก็อาจใช้ น้ำปัสสาวะ (Urine) สดของตัวเองมาล้างแผลแทน ในกรณีขาดแคลนน้ำ

 

      การรักษาแบบเปิด (Open treatment) เป็นวิธีการที่ปลอดภัยที่สุดในการจัดการกับบาดแผลในสถานการณ์ความอยู่รอด อย่าพยายามที่จะปิดแผลใด ๆ โดยการเย็บ หรือวิธีการอื่นที่คล้ายคลึงกัน การปล่อยให้แผลเปิด ก็เพื่อคอยระบายน้ำหนองที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อ ตราบใดที่แผลโปร่งสามารถระบายหนองออกได้ โดยทั่วไปมันจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาจเกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นได้

 

 

รูปการรักษาบาดแผลแบบเปิด

 

      ถ้าไม่เปิดแผลรักษา ก็ให้ใช้การพันแผลด้วยผ้าสะอาด แล้วเปลี่ยนผ้าพันแผลทุกวันเพื่อตรวจดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่

 

 

รูปการพันแผลด้วยผ้าสะอาด

 

      หากเป็นแผลเปิดกว้าง (Gaping) คุณสามารถยึดปิดขอบแผลให้แคบลง อีกทั้งสามารถทำให้แผลโปร่งได้ ด้วยเทปปิดแผล ซึ่งมีรูปร่างเหมือนผีเสื้อ หรือดรัมเบลยกน้ำหนัก ถ้าไม่มีก็สามารถตัดเทปกาวให้เป็นรูปร่างแบบนี้ได้ ดูรูปด้านล่าง

 

 

รูปที่ปิดแผลรูปร่างเหมือนผีเสื้อ หรือดรัมเบลยกน้ำหนัก

 

 

รูปตัวอย่างการปิดดึงแผลให้แคบ

 

              ในสถานการณ์ที่เลวร้าย แล้วต้องอยู่รอด มีความเป็นไปได้สูงมากที่แผลอาจเกิดการติดเชื้อ แผลจะติดเชื้อหรือไม่ สามารถสังเกตได้จาก บริเวณที่เป็นแผลเกิดการปวด, บวม, อักเสบ, เมื่อสัมผัสตรงแผลจะร้อนอุณหภูมิเพิ่มขึ้น และเกิดหนองที่แผล

การรักษาแผลที่ติดเชื้อ ทำได้ดังนี้

 

·       หาสิ่งของที่อุ่น, ชื้น วางกดโดยตรงตรงแผลที่ติดเชื้อ

 

รูปตัวอย่างผ้าอุ่นชุบน้ำกดลงบนแผลติดเชื้อ

 

·       ให้เปลี่ยนมันออกเมื่อมันเย็น แล้วหาอันใหม่มาแทนกดบนแผลใช้เวลาโดยรวม 30 นาทีในการกด แล้วควรทำวันหนึ่ง 3 – 4 ครั้ง

 

·       ระบายแผล โดยการเปิดแผล และค่อย ๆ เอาส่วนเนื้อเยื่อเสียเป็นสาเหตุจากแผลติดเชื้อออก ด้วยเครื่องมือที่ผ่านการฆ่าเชื้อ

 

 

รูปตัวอย่างการใช้เครื่องมือที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ค่อย ๆ เอาเนื้อที่ตายออก

 

·       ทำความสะอาด แล้วพันแผล

 

·       ให้ดื่มน้ำมาก ๆ 

 

รักษาต่อเนื่องทุกวันจนกระทั่งสัญญาณทั้งหมดของการติดเชื้อหายไป

 

      หากไม่มียาปฏิชีวนะ และแผลติดเชื้ออย่างรุนแรง ไม่หาย จะใช้วิธีรักษาอีกวิธีคือใช้ หนอนบำบัด (Maggot therapy) ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงในอันตรายของมัน แต่มันเป็นหนทางรักษาที่ได้ผลวิธีหนึ่ง

 

 

รูปการใช้หนอนรักษา

 

·       เปิดแผลเพื่อให้แมลงวันมาเกาะ หรือนำหนอนแมลงวันมาใส่ไว้แล้วครอบปิดแผล

 

·       ถ้าใช้แมลงวันเกาะก็ให้ตรวจดูทุกวันว่ามันเกิดหนอน หรือไม่

 

·       เมื่อเกิดหนอนขึ้น หนอนจะค่อย ๆ กินเนื้อเยื่อที่ตายจนมันเติบโต ให้ปิดแผล แล้วคอยตรวจสอบทุกวัน

 

 

 

รูปการใช้หนอนบำบัด (สยองนิดนึง)

 

·       เมื่อดูว่าพวกมันได้ทำความสะอาดกินเนื้อเยื่อที่ตายออกหมดแล้ว ก็ให้เอาหนอนทั้งหมดออก แผลที่โดนกินด้วยหนอนก็เริ่มที่จะให้เนื้อเยื่อมีการฟื้นฟู สังเกตได้จากเกิดความเจ็บปวดที่เพิ่มมากขึ้น และเม็ดเลือดแดงตรงบริเวณแผลเริ่มดูสดใส แสดงให้เห็นว่าหนอนได้กัดกินเนื้อเยื่อเสียไปหมดเหลือเพียงเนื้อเยื่อดีแล้ว

 

 

รูปการใช้หนอนบำบัด (อีกรูปสยองเหมือนกัน)

 

·        ล้างแผลด้วยน้ำที่ต้มผ่านการฆ่าเชื้อ หรือน้ำปัสสาวะสดของเราเพื่อทำความสะอาดบริเวณที่หนอนกิน

 

·       ตรวจดูแผลทุก ๆ สี่ชั่วโมงเป็นเวลาหลายวัน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีไข่หนอนอยู่แล้ว

 

·       พันแผล และรักษามันทำความสะอาดทุกวัน จนแผลหายเป็นปกติ

 

วิดีการใช้หนอนบำบัดบาดแผล

   

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“คนมองโลกในแง่ร้าย จะเห็นความยากลำบากในทุกโอกาส

คนมองโลกในแง่ดี จะเห็นโอกาสในทุกความยากลำบาก”

วินสตัน เชอร์ชิล

อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา