4.4.2 ข้อเคลื่อน
การแพลง หรือข้อเคลื่อน (Dislocations) คือ การแยกกันของข้อต่อกระดูก เนื่องมาจาก กระดูกออกไปจากตำแหน่งที่มันเคยอยู่ การเอียงผิดรูปนี้จะทำให้เจ็บปวดมาก และอาจทำให้เกิดทับเส้นประสาท หรือการหมุนเวียนของโลหิตทำงานผิดปกติ ตรงบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ถ้าเป็นไปได้ควรนำข้อที่เคลื่อนออกมากลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิมให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
รูปตัวอย่างไหล่หลุดเป็นส่วนหนึ่งของข้อเคลื่อน
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สัญญาณ และอาการที่แสดงบอกว่าเกิดข้อเคลื่อนได้แก่ การปวดข้อต่อ, จับบริเวณนั้นแล้วนิ่ม, เกิดอาการบวม, มีสีซีดจาง, มีการเคลื่อนไหวที่จำกัด และมีรูปร่างผิดปกติของบริเวณข้อต่อ คุณสามารถทำให้อาการข้อเคลื่อนทุเลาลงได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้คือ การลดต่ำ (Reduction), การตรึง (Immobilization) และการฟื้นฟูสภาพ (Rehabilitation)
รูปตัวอย่างนิ้วหลุด
การลด หรือ การปรับ (Setting) คือการวางตำแหน่งของกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเช่นดังเดิม ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีที่สามารถนำมาใช้ได้ แต่มักจะใช้วิธีดึงด้วยมือ หรือใช้น้ำหนักถ่วงเพื่อดึงกระดูก ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัย และง่ายที่สุด
รูปการลด หรือการปรับข้อไหล่ที่หลุด
รูปการดึงข้อที่หลุด
เพื่อลดอาการปวดของผู้ป่วย และทำให้เลือดไหลเวียนได้ พร้อมกับอวัยวะกลับมาใช้งานได้ปกติ แบบโดยไม่ได้ใช้การเอ็กซ์เรย์ (X-ray) ตรวจดู
คุณสามารถตัดสินตำแหน่งที่เหมาะสมได้โดยการดู, ความรู้สึกของการเคลื่อนที่ของข้อต่อ และโดยทำการเปรียบเทียบกับรูปร่างของอวัยวะอีกฝั่ง
การตรึง เป็นอะไรที่มากไปกว่าการเข้าเฝือก หรือดามข้อเคลื่อน ซึ่งเป็นการยึดไม่ให้อวัยวะนั้นเคลื่อนไหว จะทำหลังจากผ่านขั้นตอนการลดต่ำแล้ว คุณสามารถใช้วัสดุอะไรก็ได้สำหรับการดามเข้าเฝือก หรือคุณสามารถเข้าเฝือกที่ปลายของร่างกาย
แนวทางพื้นฐานสำหรับการเข้าเฝือกมีดังนี้
รูปตัวอย่างการตรึงให้อยู่กับที่
รูปตัวอย่างการตรึงหัวไหล่ที่หลุดให้อยู่กับที่
· เข้าเฝือกแล้วตรึงที่ด้านบน หรือด้านล่างในด้านที่หัก
· เข้าเฝือกแล้วตรึง ก็เพื่อลดความไม่สบายตัว
· คอยหมั่นตรวจสอบการไหลเวียนที่หักด้านล่าง หลังจากการเข้าเฝือกแล้ว
การฟื้นฟูสภาพข้อที่เคลื่อน หลังจากที่เข้าเฝือกไปแล้ว 7 – 14 วัน จะค่อย ๆ ลดการบาดเจ็บของข้อต่อ จนหายเป็นปกติ
วิดีโอการแก้ปัญหาไหลหลุด
4.4.3 เคล็ดขัดยอก
เคล็ดขัดยอก (Sprains) อุบัติเหตุจากเส้นยึดของ เอ็น หรือเส้นเอ็นเป็นสาเหตุให้เกิดการเคล็ดขัดยอก สัญญาณ และอาการที่บ่งบอก ได้แก่ การเจ็บปวด, บวม, อ่อนนิ่ม และเปลี่ยนสี (ดำ และน้ำเงิน)
รูปเส้นเอ็นยึดจนมีอาการเคล็ด
รูปข้อเท้าเคล็ด
เมื่อรักษาเคล็ดขัดยอกให้ทำดังนี้
v พักส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ
v ประคบด้วยน้ำแข็ง 24 ชั่วโมง แล้วก็ให้ความอบอุ่นหลังจากนั้น
v ใช้ผ้ายืดพัน เพื่อให้บริเวณนั้นรัดกระชับ และ / หรือ เข้าเฝือกเพื่อช่วยสร้างความแน่นหนามั่นคง ถ้าเป็นไปได้ ไม่ต้องใส่รองเท้าในบริเวณที่เคล็ด เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้
v ยกให้สูงตรงบริเวณที่เคล็ด เพื่อลดอาการบวม
รูปการรักษาการเคล็ด
วิดีโอตัวอย่างการปฐมพยาบาลอาการเคล็ดขัดยอก
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“อย่าเป็นทุกข์ให้โง่
ทุกคนไม่ได้เกิดมา เพื่อเป็นทุกข์”
พุทธทาสภิกขุ