4.3.8 การป้องกัน และรักษาอาการช็อกหมดสติ
อาการช็อกอาจเกิดขึ้นได้จากกรณีที่กล่าวมาทั้งหมด ในการรักษาผู้ป่วยโดยคำนึงถึงสิ่งที่ปรากฏของอาการ ให้ทำตามสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ รูปด้านล่าง
รูปการรักษาอาการช็อก
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
Ø หากผู้ป่วยยังมีสติอยู่ ให้เขานอนลงกับพื้นแล้วหาอะไรมาหนุนยกขาสูง 15 – 20 เซนติเมตร
รูปการรักษาอาการช็อกหมดสติ
Ø แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ได้สติ ให้เขานอนตะแคงข้าง ให้ช่องท้อง กับศีรษะหันด้านข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้สำลักอาเจียนเลือด หรือของเหลวอื่น ๆ
รูปการจับนอนตะแคงข้างเมื่อผู้ป่วยช็อกหมดสติ
Ø หากไม่แน่ใจว่าอยู่ในที่ที่ดีที่สุด ให้วางผู้ป่วยนอนในแนวราบให้มากที่สุด
Ø ทันทีที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะช็อก อย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
Ø ให้ร่างกายผู้ป่วยอบอุ่นตลอดเวลาโดยหาผ้าห่ม หรือสิ่งที่หาได้รอบตัวเช่น หญ้า, ฟาง ฯลฯ มาคลุมตัวผู้ป่วย ในบางครั้งต้องหาความร้อนจากแหล่งภายนอก เช่น การก่อไฟ, แสงอาทิตย์
รูปให้ผู้ป่วยอบอุ่นตลอดเวลา
Ø ถ้าเสื้อผ้าเปียก ให้ถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยออกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แล้วก็หาเสื้อผ้าที่แห้งมาสวมใส่ให้
Ø ปรับปรุงที่พักผู้ป่วยให้เป็นฉนวนมากที่สุด เพื่อป้องกันผู้ป่วยจากสภาพอากาศรอบตัว
Ø เมื่อรู้สึกตัว ก็ให้อาหาร หรือของเหลวที่อุ่น, ใช้ถุงนอนที่อุ่น ใช้หินที่ร้อน (จากการตากแดด หรืออังไฟ) ห่อเสื้อผ้า ก่อกองไฟให้ผู้ป่วยเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น
Ø หากผู้ป่วยยังมีสติอยู่ ถ้าหาน้ำเกลือ หรือน้ำตาลได้ ก็ ละลายน้ำอุ่นให้ผู้ป่วยค่อย ๆ ดื่ม
Ø หากผู้ป่วยไม่ได้สติ หรือมีแผลที่ช่องท้อง ห้ามให้ดื่มของเหลวทางปาก
Ø ให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
Ø ถ้าหากเหลือตัวคนเดียวที่อยู่รอด นอนอยู่บนพื้นดิน หลังต้นไม้ หรือสถานที่อื่นได เพื่อป้องกันตัวเองจากสภาพอากาศ แล้วก็ทำหัวให้ต่ำกว่าเท้า
Ø ถ้าคุณมีเพื่อนอยู่ด้วย ให้ช่วยประเมินผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
วิดีโอการปฐมพยาบาลเบื้องต้นของอาการช็อก
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“เมื่อมั่งมีมากมาย มิตรหมายมอง
เมื่อมัวหมอง มิตรมองเหมือนหมูหมา
เมื่อไม่มี หมดมิตรมุ่งมองมา
เมื่อมอดม้วย แม้หมูหมาไม่มามอง”