4.3 ขั้นตอนการช่วยชีวิต
อย่างแรกควบคุมไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกทั้งของตัวเอง และผู้ป่วย แล้วก็สร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วย และทำให้เขาสงบเงียบ
ทำการตรวจ สำรวจร่างกายอย่างรวดเร็ว มองสาเหตุของอาการบาดเจ็บ และทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เริ่มต้นด้วยทางเดินหายใจ และการหายใจ แต่ต้องทำด้วยความฉลาด คนไข้อาจตายได้จากการที่เลือดออกจากเส้นเลือดอย่างรวดเร็ว ซึ่งบางกรณีอาจจะเสียชีวิตได้เร็วกว่าทางเดินหายใจที่กำลังอุดตัน
4.3.1 รักษา และเปิดทางเดินลมหายใจ
เมื่อผู้ป่วยมีปัญหาในเรื่องการหายใจ คุณสามารถเปิดทางเดินหายใจ และคงการเปิดทางเดินหายใจมันไว้ โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบดูก่อนว่าผู้ป่วยมีปัญหาในเรื่องของการหายใจหรือไม่ ถ้าเขารู้สึกตัว สามารถไอ หรือพูดได้ ก็บอกให้เขาช่วยนำสิ่งอุดตันในช่องทางเดินหายใจออก แล้วคอยดูแลอยู่ข้าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วย และเตรียมพร้อมที่จะทำการล้างท่อทางเดินหายใจให้ และจัดการใช้วิธี ปากเป่าปาก (Mouth-to-mouth) เพื่อช่วยชีวิตเขา เพราะเขาจะไม่ได้สติ ถ้าทางเดินหายใจเขาถูกปิดบังจนหมด ให้จัดการกดกระแทกที่ท้องจนสิ่งอุดตันออกมาหมด
รูปวิธีการปากเป่าปาก
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ขั้นตอนที่ 2 ใช้นิ้วมือ กวาดข้างในปากของผู้ป่วยให้โล่ง ถ้ามีวัตถุใด ๆ ที่อยู่ภายในปาก เช่น ฟันหัก, ฟันปลอม, ทราย ฯลฯ ก็ให้เอาออกมา
รูปการใช้นิ้วล้วงเอาสิ่งแปลกปลอมในปากออกมา
ขั้นตอนที่ 3 การใช้วิธีดึงขากรรไกร (Jaw thrust method) จับมุมขากรรไกรล่างในแต่ละข้างของผู้ป่วย แล้วทำการดึงด้วยมือทั้งสอง เพื่อเคลื่อนกรามไปข้างหน้า ผู้ช่วยเหลือจะอยู่เหนือศีรษะของผู้ป่วย เพื่อความมั่นคงไม่เอียง ไม่เมื่อยให้พักข้อศอกลงกับพื้น หากริมฝีปากของเขาปิด ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือ เปิดปากเบา ๆ
รูปวิธีการดึงขากรรไกร 1
รูปวิธีการดึงขากรรไกร 2
วิดีโอวิธีการดึงขากรรไกร
ขั้นตอนที่ 4 เมื่อเปิดทางเดินหายใจของผู้ป่วยแล้ว จากนั้นก็บีบปิดจมูกของผู้ป่วยด้วยนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ และก็ทำการเป่าลมหายใจลงสู่ปอด ช่วยให้ปอดพอง และปล่อยออกจนปอดแฟบ ทำเป็นจังหวะ แล้วให้สังเกตอาการดังต่อไปนี้
-
ดูหน้าอกผู้ป่วยว่าขึ้น หรือลง
-
ใช้ความรู้สึกจากอากาศที่แก้มของคุณ
วิดีโอการทำปากเป่าปากกับหุ่น
ขั้นตอนที่ 5 ถ้ายังไม่สามารถหายใจได้เอง ก็พยายามกระตุ้นให้เกิดการหายใจ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้โดยการใช้ปากเป่าปากเพื่อช่วยชีวิตอีกครั้ง
ขั้นตอนที่ 6 อาจจะมีอันตรายจากการอาเจียนของผู้ป่วยในระหว่างการเป่าปากเพื่อช่วยชีวิต ต้องคอยตรวจสอบปากของผู้ป่วยเป็นระยะในการอาเจียน และแก้ไขมันถ้าจำเป็น
รูปการช่วยให้ฟื้นคืนชีพ
ข้อสังเกต การช่วยให้ฟื้นคืนชีพ (CardioPulmonary Resuscitation: CPR) อาจมีความจำเป็น ภายหลังจากที่จัดการเรื่องการหายใจแล้ว และควรดูแลอย่างใกล้ชิดสักระยะ
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“การมีสติ คือการทำให้เรื่องใหญ่ ให้กลายเป็นเรื่องเล็ก
ส่วนอคติ คือการทำให้เรื่องเล็ก ให้กลายเป็นเรื่องใหญ่”
|