3.2 ชุดอุปกรณ์ยังชีพ
สภาพแวดล้อมที่เจอในเวลานั้น ๆ จะเป็นกุญแจสำคัญในการที่จะกำหนดสิ่งของที่จะต้องใช้ใน ชุดอุปกรณ์ยังชีพ (Survival kit) ของคุณ ส่วนจะต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้มากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะแบกขนไปได้ แต่ให้ดีที่สุดก็คือ พยายามที่จะให้มีขนาดเล็กที่สุดตามความจำเป็น และสามารถพกพาไปได้ให้เกะกะน้อยที่สุด
รูปอุปกรณ์ที่สำคัญอันดับต้น ๆ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ให้เรียงลำดับความสำคัญของสิ่งของที่จำเป็นต้องนำไปใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ และเข็มทิศ ควรที่จะมีติดตัวไว้เสมอ ให้พกพาสิ่งของที่สำคัญก่อน เพราะแน่นอนเมื่อเอาของไปเยอะน้ำหนักก็จะมากขึ้น เมื่อมีของมาก ความเกะกะ ความใหญ่ของเป้ก็จะทำให้ไม่สะดวกในการนำไปติดตัว
ในการจัดเตรียมอุปกรณ์ยังชีพ พยายามเลือกใช้อุปกรณ์ที่สามารถนำมาใช้ได้มากกว่าหนึ่งประโยชน์ แล้วถ้าคุณมีสิ่งของที่ใช้งานได้เหมือนกันสองอัน ก็ให้เลือกว่าอันไหนสามารถใช้งานได้ดีกว่ากัน มีประโยชน์มากกว่ากันก็เลือกอันนั้น ห้ามนำเอาไปซ้ำกันก็เพื่อลดน้ำหนักของสิ่งของที่จะต้องเอาไป
ชุดอุปกรณ์ยังชีพไม่จำเป็นที่จะต้องเตรียมจนเกิดความซับซ้อน สับสน เพียงเลือกสิ่งของที่จะตอบสนองความต้องการของคุณ และมีประโยชน์ให้มากที่สุด เช่น ชุดปฐมพยาบาล, อาวุธ และอื่น ๆ ที่มีความเหมาะสมตามความจำเป็น
หลักพื้นฐานในการเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ยังชีพ
· กันน้ำ
· ง่ายต่อการพกพก หรือแนบไปกับร่างกาย
· ความเหมาะสม
· ความทนทาน
ตัวอย่างชุดอุปกรณ์ยังชีพที่ใช้
o ชุดอาหาร
รูปชุดอาหารในกรณีเอาตัวรอด
o ลวดบ่วงบาศ (Snare wire)
รูปลวดบ่วงบาศ
o อุปกรณ์พลุไฟ และสัญญาณควัน (Smoke, illumination signals)
รูปพลุไฟ และสัญญาณควัน
รูปอุปกรณ์พลุไฟ สัญญาณควัน
o ไม้ขีดไฟกันน้ำ (Waterproof match box)
รูปไม้ขีดไฟกันน้ำ
o ใบมีด หรือใบเลื่อย
รูปมีด และเลื่อย
o ชุดปฐมพยาบาล
รูปชุดปฐมพยาบาล
o เข็มทิศ
รูปเข็มทิศ
o มีดพก
รูปมีดพกอเนกประสงค์
o เลื่อย, มีด, จอบ ที่มีด้าม
รูปพลั่วจอบสนาม
o กระทะ
รูปกระทะ
o เทียน
รูปเทียน
o ก้อนเชื้อเพลิง (Compressed trioxane fuel)
รูปก้อนเชื้อเพลิง
o กระจกส่องสัญญาณ (Signaling mirror)
รูปกระจกส่องสัญญาณ
รูปการใช้งานกระจกส่องสัญญาณ
รูปการใช้งาน
o อุปกรณ์ตกปลา
รูปชุดตกปลา
o ชุดช้อน ส้อม
รูปชุดช้อน
o คู่มือต้องรอด (Survival manual)
รูปหนังสือคู่มือต้องรอด
o เสื้อกันฝน (Poncho)
รูปเสื้อกันฝน
o หมวกตาข่ายกันแมลง (Insect headnet)
รูปหมวกตาข่ายกันแมลง
o ตะขอเกี่ยวสายรัดตัว (ejector snap)
รูปตัวอย่างสายรัดตัว
o สายรัดแนบ (Attaching strap)
รูปตัวอย่างการใช้งานสายรัดแนบ
o พลั่ว (shovel)
รูปตัวอย่างพลั่วสนาม
o ถุงน้ำ (Water bag)
รูปตัวอย่างถุงน้ำ
o ถุงนอน (Sleeping bag)
รูปตัวอย่างถุงนอน
o ฯลฯ ตามความจำเป็น และเหมาะสมกับสถานการณ์
นอกเหนือจากสิ่งที่จำเป็นที่กล่าวแล้ว ยังมีชุดยังชีพประเภทพิเศษที่จะต้องเตรียมตามความจำเป็นเฉพาะบุคคล เช่น ยารักษาโรคประจำตัว, อุปกรณ์ป้องกันตัวเองจากสภาพอากาศต่าง ๆ ตามแต่ละท้องถิ่น
รวมไปถึงการเตรียมอาวุธ ที่สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ที่ชี้เป็นชี้ตาย การอ่านหนังสือหาความรู้ในเทคนิคการเอาตัวรอดในคู่มือนี้ จะมีความสามารถในการพิจารณาภารกิจ และสภาพแวดล้อมที่ทำให้สามารถเตรียมหาอุปกรณ์ยังชีพได้อย่างเหมาะสม
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“มนุษย์สละสุขภาพ เพื่อหาเงิน
แล้วก็สละเงิน เพื่อฟื้นฟูสุขภาพ”