2.2 ปฏิกิริยาตามธรรมชาติ
มนุษย์มีความสามารถเอาตัวรอดได้จากการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ธรรมชาติทำให้มนุษย์มีความสามารถต่อการปรับตัวทางร่างกาย และจิตใจ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อรักษาชีวิตของมนุษย์ให้อยู่ได้ ขณะที่สายพันธุ์อื่น ๆ บางสายพันธุ์ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ก็ค่อย ๆ สูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไป
รูปการ์ตูนแสดงสีหน้าตามปฏิกิริยาธรรมชาติ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
กลไกการเอาตัวรอดของมนุษย์สมัยก่อนที่ทำให้ยังคงมีชีวิตอยู่ และยังดำรงค์รักษาเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน แม้ปัจจุบันเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด กลไกในการเอาตัวรอดยังคงสามารถใช้ได้ ถ้ามีความเข้าใจ และสามารถนำมาใช้ จนเกิดเป็นผลในทางปฏิบัติจนทำให้เราอยู่รอดปลอดภัย
ไม่น่าแปลกใจว่าที่คนทั่วไปจะมีการตอบสนองทางจิตใจบางอย่างในสถานการณ์เอาตัวรอด เราจะตรวจสอบบางส่วนของปฏิกิริยาหลักที่เกิดขึ้นภายในตัวคุณ และทุกคนอาจจะพบกับความเครียดจากการอยู่รอด ซึ่งจะได้อธิบายในหัวข้อนี้
2.2.1 ความกลัว
รูปความกลัว
ความกลัว (Fear) คือ การตอบสนองทางอารมณ์ของเราต่อสถานการณ์อันตราย ที่เราเชื่อว่าจะทำให้เกิดอันตราย, การบาดเจ็บ หรือแม้กระทั่งตาย อันตรายนี้ไม่ได้จำกัดเพียงทางกายเท่านั้น มันอาจเป็นภัยคุกคามต่อทางอารมณ์ และทางจิตใจก็ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความหวาดกลัวได้เป็นอย่างดี
สำหรับในสถานการณ์ที่ต้องเอาตัวเองให้รอด ข้อดีของความกลัวสามารถทำให้เราเกิดความคิดบวกได้ เพราะมันจะกระตุ้นร่างกายให้เกิดความตื่นตัว และระมัดระวังต่อสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น แต่ถ้าประมาทก็อาจส่งผลให้ได้รับบาดเจ็บ หรือตายได้
รูปคนกลัว
น่าเสียดาย บางครั้งความกลัวอาจทำให้เราช็อก, อึ้ง หรือหยุดนิ่งอยู่กับที่ และมันอาจทำให้กลายเป็นคนที่หวาดกลัวอย่างมากอาจถึงขั้นหลอน จนเกิดความท้อแท้แล้วไม่อยากสู้ชีวิต แก้ปัญหาในสถานการณ์ที่อยู่ต่อหน้า ผู้คนส่วนใหญ่จะมีระดับความกลัวอยู่ในตัวเองไม่เท่ากัน จะขึ้นอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย หรือภายใต้สภาวะที่ไม่พึงประสงค์
จะให้หยุดกลัว หรือกลัวน้อยลง ก็ต้องมีการฝึกฝนตนเองทั้งร่างกาย และจิตใจ เพื่อเอาชนะความกลัว แล้วจะเป็นการดียิ่งขึ้น ถ้าผ่านการฝึกฝนในสถานการณ์สมมติที่มีความสมจริง เราจะได้รับความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการที่จะเพิ่มความเชื่อมั่นตัวเราเอง และมันจะสามารถจัดการเรื่องที่เรากลัวออกไปได้
2.2.2 ความวิตกกังวล
รูปภาพเขียนเกี่ยวกับความวิตกกังวล เขียนภาพโดย เอ็ดเวิร์ด มันซ์ (Edvard Munch)
ความวิตกกังวล (Anxiety) มักจะเกิดคู่กันกับการเกิดความกลัว เพราะมันเป็นธรรมชาติสำหรับคนที่กลัว ที่จะคิดโน่นคิดนี่ไปเรื่อยเปื่อย มันเป็นธรรมชาติที่ชีวิตคนเราจะต้องสัมผัสกับความกลัวเป็นธรรมดา ความวิตกกังวลมักจะทำให้ไม่สบายใจ ความรู้สึกวิตกกังวลที่เราได้รับเมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เป็นอันตราย ทั้งทางร่างกาย, จิตใจ และอารมณ์
เมื่อเกิดขึ้นกับสุขภาพร่างกาย ความวิตกกังวลของเรามันจะเรียกร้องให้ทำจนจบ หรืออย่างน้อยเกิดความเจ็บปวดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ มันเป็นอันตรายที่คอยคุกคามการดำรงชีวิตอยู่ของเรา แต่ข้อดีก็มีคือ ถ้าเราไม่เคยวิตกกังวล มันจะไม่ค่อยมีแรงจูงใจที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของเรา ผู้ที่เอาตัวเองให้รอดจากสถานการณ์ จะต้องฝึกฝนเพื่อลดความวิตกกังวลของตัวเองด้วย
รูปความกังวล
การที่จะลดความวิตกกังวล ต้องสามารถควบคุมแหล่งที่มาของความวิตก นั่นก็คือ ความกลัวนั่นเอง เมื่อมาในรูปแบบนี้ ความวิตกกังวลถือว่าเป็นสิ่งที่ดีทำให้รู้จักไม่ประมาท แต่ถึงอย่างไร ความวิตกกังวลยังอาจสร้างผลกระทบอย่างร้ายแรง คือ ความวิตกกังวลสามารถครอบงำตัวเราได้ โดยอาจทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย ๆ และทำให้ไม่เกิดความคิดที่ดี ๆ
รูปแสดงสีหน้าของการวิตกกังวล
เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น มันจะเป็นสิ่งที่ยากมาก ๆ ที่เราจะทำการตัดสินใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสถานการณ์อันเลวร้ายเพื่อให้ออกมาดี และอาจมีความเสี่ยงต่อการตัดสินใจ เพื่อสถานการณ์การเอาตัวรอดเราจะต้องเรียนรู้เทคนิคที่จะทำให้เรามีความสงบ เพื่อลดความวิตกกังวล และจะทำเรารอดพ้นจากอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้น
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“คุณหลอกคนทุกคนได้ในบางเวลา และหลอกบางคนได้ตลอดเวลา แต่ คุณไม่สามารถหลอกทุกคนได้ตลอดเวลา
You can fool all the people some of the time, and some of the people all the time,
but you cannot fool all the people all the time.”
Abraham Lincoln