9. ดาวเทียมของไทย และขยะอวกาศ
ดาวเทียมของไทย
ไทยคม 1 และ ไทยคม 2
รูปดาวเทียมไทยคม 1
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ดาวเทียมไทยคม 2
ดาวเทียมไทยคม 1A ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2536 ส่วนดาวเทียมไทยคม 2 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2537 ดาวเทียมทั้ง 2 ดวงเป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 แบบดูอัล สปิน (Dual Spin) ผลิตโดย บริษัท ฮิวส์
ใช้ความถี่ย่านซี-แบนด์ (C-Band) ครอบคลุมประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีน ส่วนพื้นที่การใช้ความถี่ย่านเคยู-แบนด์ (Ku-Band) ในประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีน
จำนวนช่องสัญญาณในย่านซี-แบนด์ ดาวเทียมไทยคม 1A มีจำนวน 12 ทรานสปอนเดอร์ ดาวเทียมไทยคม 2 มีจำนวนดวงละ 10 ทรานสปอนเดอร์ ความถี่ช่องสัญญาณอยู่ที่ 36 MHz จำนวนช่องสัญญาณในย่านเคยู-แบนด์ มีจำนวนดวงละ 3 ทรานสปอนเดอร์ ความถี่ช่องสัญญาณอยู่ที่ 54 MHz อายุการใช้งาน 15 ปี
ไทยคม 3
รูปดาวเทียมไทยคม 3
ดาวเทียมไทยคม 3 ผลิตโดย บริษัท อัลคาเทล สเปซ ซิสเต็ม มีย่านความถี่ซี-แบนด์ จำนวน 25 ทรานสปอนเดอร์ ย่านความถี่เคยู-แบนด์ จำนวน 14 ทรานสปอนเดอร์ ครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป คือเอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย และแอฟริกา
ดาวเทียมไทยคม 4 (IP Star)
ดาวเทียมไทยคม 4 ไอพีสตาร์
เป็นดาวเทียมที่ใช้เล่นอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมได้ทุกที่ ใช้เทคโนโลยีการกระจายคลื่นเหมือนกับที่ใช้ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ พร้อมกับระบบจานสายอากาศดาวเทียมแบบใหม่ ไอพีสตาร์ สามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 45 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) จึงสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ที่รองรับการให้แก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตนับล้านคน
ดาวเทียมไทยคม 5
รูปดาวเทียมไทยคม 5
ดาวเทียมไทยคม 5 ผลิตโดย บริษัท อัลคาเทล อาลีเนีย สเปซ ประกอบด้วยย่านความถี่ซี-แบนด์ จำนวน 25 ทรานสปอนเดอร์ และย่านความถี่เคยู-แบนด์ จำนวน 14 ทรานสปอนเดอร์ ดาวเทียมไทยคม 5 ครอบคลุมประเทศเวียดนาม และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอินโดจีน
หมายเหตุ ดาวเทียมไทคมนั้น AIS ได้ขายหุ้นให้กับ เทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์แล้ว มีปัญหาทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่จะไม่กล่าวในที่นี้ จะกล่าวถึงความรู้ที่ผู้อ่านจะได้รับเท่านั้น
ดาวเทียมไทพัฒ
รูปดาวเทียมไทพัฒ
รูปโครงสร้างดาวเทียมไทพัฒ
ดาวเทียมไทพัฒ เป็นดาวเทียมที่สร้างขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ที่ทางมหาวิทยาลัยได้ส่งอาจารย์ ไปศึกษาการออกแบบ-สร้างดาวเทียมที่ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2539 และสร้างดาวเทียมสำเร็จมีชื่ออังกฤษว่า TMSAT (Thai Micro-Satellite) ในปี พ.ศ. 2540 และปล่อยเข้าสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ที่ประเทศคาซัคสถาน
ดาวเทียมไทพัฒมีขนาด 35 x 35 x 60 ซม3 น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม มีแผงโซล่าเซลล์ประกอบติดอยู่โดยรอบ ภายในมีระบบคอมพิวเตอร์ 4 ชุด ชุดสื่อสารย่านความถี่วิทยุสมัครเล่น 1 ชุด
ดาวเทียมไทยโชต หรือธีออส
รูปดาวเทียมธีออส
รูปดาวเทียมธีออส หรือไทยโชต
รูปส่วนประกอบของดาวเทียมไทยโชต
เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของไทย ที่มี สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) เป็นเจ้าของโครงการ ดาวเทียมธีออสนั้นมีชื่อเต็มว่า Thailand Earth Observation System (THEOS) หนัก 750 กิโลกรัม บันทึกภาพด้วยระบบเดียวกับกล้องถ่ายรูปทั่วไปด้วยความละเอียดของภาพขาวดำ 2 เมตร และความละเอียดภาพสี 15 เมตร โคจรที่ความสูง 822 กิโลเมตรโดยจะโคจรมาซ้ำจุดเดิมทุกๆ 26 วัน มีอายุการใช้ 5 ปี
รูปดาวเทียมไทยโชต
หมายเหตุ ดาวเทียมที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานชื่อของดาวเทียมให้
ขยะอวกาศ
รูปจำลองขยะอวกาศ
ขยะอวกาศ (Space Junk) คือ ดาวเทียมที่ถูกปลดระวาง ไม่ได้ใช้งาน แต่ยังอยู่ในวงโคจร ไม่ตกลงสู่พื้นโลก หรือล่องลอยไปในอวกาศ
รูปจำลองขยะอวกาศอีกรูป
นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางอวกาศที่อยู่นอกโลก ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และล่องลอยไปในอวกาศ
ต่อไปนี้คือสาเหตุที่ทำให้เกิดขยะอวกาศ
ชิ้นส่วนของจรวดที่ระเบิด หรือจรวดหลักที่บรรจุเชื้อเพลิงที่แยกตัวออกจากหัวจรวด นี้ก็อาจกลายเป็นขยะในอวกาศ
การปล่อยให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในอวกาศ ของนักบินอวกาศที่ออกไปซ่อมแซมดาวเทียม หรือยานอวกาศด้านนอก เช่น ประแจ ที่กำลังใช้งานอยู่แล้วพลาดหลุดมือ ประแจนั้น จะล่องลอยออกสู่อวกาศ ถ้าโชคร้าย ประแจมันยังอยู่ในวงโคจร ประแจนั้นอาจมีความเร็วถึง 10 กิโลเมตรต่อวินาทีเชียว ความเร็วขนาดนี้จะเกิดโมเมนตัมสูงจะเป็นอันตรายต่อสิ่งที่อยู่ในวงโคจรนั้นอาจถูกชนทำให้เกิดความเสียหายได้
จบบทความดาวเทียม
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“หนทางยาวไกลนับพันลี้ ย่อมเริ่มที่ก้าวแรกเสมอ”