6. ช่องจังหวะการปล่อย? และประเภทของดาวเทียม
ในการส่งดาวเทียม หรือคน หรือภารกิจอื่นขึ้นสู่อวกาศ นอกจากความพร้อมของยานอวกาศแล้ว วันเวลาสถานที่ในการปล่อยยานอวกาศ หรือจรวดก็มีความสำคัญมาก
จะต้องมีการคำนวณเวลาสถานที่ที่จะปล่อย รวมทั้งการพยากรณ์สภาพอากาศให้พร้อมสมบูรณ์ 100% เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะผิดพลาดเพียงนิดเดียวก็อาจจะเกิดหายนะใหญ่หลวงได้
ช่วงเวลาที่เหมาะสม เราเรียกว่า ช่องจังหวะการปล่อย (Launch window) นอกจากจะปล่อยยานแล้ว รวมถึงเวลานำยานกลับสู่พื้นโลกด้วย
รูปการปล่อยยานแต่ละครั้งต้องมีช่องจังหวะการปล่อย เพื่อป้องกันความผิดพลาดต่าง ๆ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ช่องจังหวะการปล่อยเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งยวด เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางออกสู่อวกาศ และในการลงสู่พื้นโลกถ้าเกิดปัญหาทีมช่วยเหลืออาจเข้าช่วยเหลือได้ทัน ถ้าสภาพในการปล่อยยาน สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ไม่สมบูรณ์ หอปฏิบัติการจำเป็นต้องสั่งยกเลิก หรือเลื่อนการปล่อยยานออกไปก่อน แล้วรอ หรือทำการแก้ไขส่วนที่ผิดพลาด และหาช่องจังหวะการปล่อยในโอกาสต่อไป
ดูวิดีโอแสดงช่องจังหวะการปล่อยยานผิดพลาดจนเกิดอุบัติเหตุ
ในการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรก็เช่นกัน จะต้องหาช่องจังหวะการปล่อย ให้ถูกต้องในการส่งดาวเทียมไปสู่วงโคจร ถูกผิดพลาด การส่งไปสู่วงโคจรอาจไม่สมบูรณ์ เช่น หลุดจากวงโคจรออกสู่อวกาศ หรือตกลงสู่พื้นโลก
วิดีโอแสดงการปล่อยดาวเทียมจากนาซ่า
ประเภทของดาวเทียม
ดาวเทียมมีรูปร่าง และขนาดมากมายซึ่งจะเปลี่ยนไปตามการใช้งาน และความต้องการในการออกแบบ
· ดาวเทียมตรวจสภาพอากาศ (Weather satellites) ช่วยในงานอุตุนิยมวิทยา (Meteorologists) พยากรณ์อากาศ หรือคอยตรวจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบโลก ประเภทของดาวเทียมตรวจสภาพอากาศประกอบด้วยดาวเทียม TIROS, COSMOS และ GOES ภายในดาวเทียมจะมีกล้องเป็นส่วนประกอบหลัก สามารถถ่ายรูปสภาพอากาศของโลก ที่ควบคุมจากตำแหน่งสถานีภาคพื้นดิน หรือจากดาวเทียมที่วิ่งอยู่บนวิถีโคจร
รูปดาวเทียมตรวจสภาพอากาศ TIROS
· ดาวเทียมสื่อสาร (Communications satellites) ใช้ในการสนทนาทางโทรศัพท์ และส่งข้อมูลการสนทนากันผ่านดาวเทียม ตัวอย่างของดาวเทียมคือ Telstar และ Intelsat ส่วนประกอบที่สำคัญของดาวเทียมสื่อสารคือ มีเครื่องรับส่งเรดาร์หรือทรานสปอนเดอร์ (Transponder) รับสัญญาณเป็นคลื่นวิทยุ จากการสนทนาที่ความถี่ค่าหนึ่ง และผ่านภาคขยายสัญญาณ และส่งต่อกับไปที่โลก อีกครั้ง ในโครงข่ายความถี่อื่น ๆ ภาครับส่งทรานสปอนเดอร์ในดาวเทียมปกติมีประมาณ 100 หรือ 1000 ที่สามารถสื่อสารในเวลาเดียวกันกับภาคพื้นดิน
รูปดาวเทียมสื่อสาร Intelsat 18
· ดาวเทียมแพร่ภาพ (Broadcast satellites) แพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ จากจุดหนึ่งไปสู่จุดอื่น ๆ (มีความคล้ายคลึงกันกับดาวเทียมสื่อสาร)
รูปการใช้ดาวเทียมเป็นตัวกลางแพร่ภาพ
· ดาวเทียมทางวิทยาศาสตร์ (Scientific satellites) ปฏิบัติการทางด้านวิทยาศาสตร์ ในการทดลอง วิจัย ตรวจจับความเป็นไปทั้งใน และนอกโลก ตัวอย่าง กล้องโทรทัศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble space telescope) เป็นดาวเทียมทางวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง ทำหน้าที่ศึกษาความเป็นไป, ถ่ายภาพ อาทิเช่น การเกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sun spots) ถ่ายภาพกาแล็กซี่ที่อยู่ไกลโพ้น และส่งมายังสถานีภาคพื้นดินเพื่อศึกษาวิจัยต่อไป
รูปดาวเทียมฮับเบิล
วิดีโอแสดงภารกิจทางวิทยาศาสตร์ของฮับเบิล
· ดาวเทียมนำทาง (Navigational satellites) ช่วยในการนำทางเดินเรือ และเครื่องบิน ที่เห็นบ่อยที่สุดคือดาวเทียม GPS NAVSTAR
รูปดาวเทียมGPS NAVSTAR
· ดาวเทียมกู้ภัย (Rescue satellites) คอยทำหน้าที่รับส่งสัญญาณวิทยุ ที่ขอความช่วยเหลือ จากเรืออับปาง เครื่องบินตก และอุบัติเหตุอื่น ๆ ที่ติดตั้งสัญญาณรับส่งเพื่อที่ติดต่อกับดาวเทียมกู้ภัย
รูปดาวเทียมที่ใช้ในภารกิจกู้ภัย SARSAT
· ดาวเทียมสังเกตการณ์ของโลก (Earth observation satellites) เพื่อคอยสังเกตดาวโลก ที่เราอาศัย เพื่อคอยตรวจการ เฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่โลก รวมไปถึงคอยสำรวจจำนวนของพื้นที่ป่า เฝ้าสังเกตธารน้ำแข็งที่ขั้วโลก ดาวเทียม ที่รู้จักกันได้แก่ ดาวเทียมตระกูล LANDSAT
ดาวเทียม LANDSAT 7
รูปดาวเทียมสังเกตการณ์ของโลก ENVISAT
· ดาวเทียมทางทหาร (Military satellites) ใช้สังเกตสอดส่อง และเก็บข้อมูลทางฝ่ายตรงข้ามทางทหารที่เป็นความลับ ภายในดาวเทียมได้รวบรวมความเป็นไฮเทคโนโลยี มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดบรรจุอยู่ มีกล้องถ่ายภาพคอยสอดแนม จารกรรม ในการใช้งานประกอบด้วย
รูปดาวเทียม MITEX ที่ใช้ในทางทหาร
รูปดาวเทียมทางทหารกำลังถ่ายภาพ
ภารกิจของดาวเทียมทหารมีดังนี้
- ถอดรหัสการสื่อสาร
- เฝ้าสังเกตการณ์ด้านนิวเคลียร์
- สังเกตการณ์ การเคลื่อนไหวของศัตรู
- เตือนถึงขีปนาวุธที่ศัตรูปล่อยออกมา
- ดักฟังการสื่อสาร
- ภาพสะท้อนเรดาร์
- ถ่ายภาพ (ใช้ซึ่งต้องมีกล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ในการถ่ายภาพพื้นที่แนวข้าศึก หรือที่น่าสนใจในทางทหาร)
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
เขาแชร์ มา เราก็แชร์ไป
3 อย่าง ที่ผ่านไปแล้ว ไม่คืนกลับมา
เวลา
ชีวิต
วัยเยาว์
3 อย่าง ที่ส่งผลทำลายชีวิตเรา
โมโห
โอหัง
ใจแคบ
3 อย่าง ที่ทิ้งไม่ได้
ความเชื่อ
ความหวัง
ความรัก
3 อย่าง ที่ประมาณค่าไม่ได้
ความรัก
ความดี
มิตรภาพ
3 อย่าง ที่ไม่นิรันดร์
ความสำเร็จ
ทรัพย์สมบัติ
เกียรติยศ ชื่อเสียง
3 อย่าง ที่ช่วยเราให้สำเร็จ
ความรู้
สติปัญญา
วินัย
3 อย่าง ที่ต้องถนอมรักษา
พ่อแม่
ครอบครัว
เพื่อนพ้อง
3 อย่าง ที่ใช้ในการทำงาน
เป้าหมาย
วิธีการ
อุดมการณ์
3 อย่าง ที่ใช้ในการคบมิตร
สัจจะ
จริงใจ
น้ำใจ
3 อย่าง ที่ต้องรักษาไว้ให้ดี
โอกาส
ชีวิต
มิตรภาพ