6 หลักการเชื่อมใต้น้ำแบบเปียก และการเชื่อมใต้น้ำในอนาคต
7. หลักการเชื่อมใต้น้ำแบบเปียก
หลักการเชื่อมใต้น้ำแบบเปียกเป็นดังนี้:
การทำงานเชื่อมจะต่อวงจรไฟฟ้าที่เครื่องเชื่อมด้านหนึ่ง และชุดหัวเชื่อมโลหะจะอยู่อีกด้านหนึ่ง ทั้งสองส่วนเหล่านี้จะเชื่อมต่อวงจรกัน ในการเชื่อมจะยกหัวเชื่อมขึ้นเล็กน้อย จนเกิดประกายไฟ (การอาร์ค) ทำให้โลหะหลอมเหลว แล้วลากหัวเชื่อมอิเล็กโทรดเพื่อเลี้ยงบ่อหลอมเหลวไปตามแนวที่เชื่อม ในเวลาเดียวกันจะเกิด ฟลักซ์ (Flux) ปกคลุมรอยเชื่อม
วิดีโอการเชื่อมใต้น้ำ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ซึ่งฟลักซ์นี้อาจจะเป็น ก๊าซเฉื่อย (Inert gas) ปกคลุม หรือเป็นก้านธูปที่มีฟลักซ์หุ้มที่ก้านธูปมาปกคลุมแนวเชื่อม การที่เกิดฟลักซ์ปกคลุมนี้ จะทำให้มีความเสถียรในแนวลำอาร์คเชื่อม การออกแบบลวดเชื่อมแบบก้านธูปนั้นจะออกแบบให้ ฟลักซ์เคมีเผาไหม้ช้ากว่าลวดเชื่อมเล็กน้อย ก็เพื่อจะได้ห่อหุ้มแนวเชื่อม
ส่วนการเชื่อมแบบไฮเปอร์บาริก จะคล้ายกับการเชื่อมบนบก เพราะว่ามันมีห้องเชื่อมใต้น้ำที่มีอากาศ ซึ่งสามารถเชื่อมได้อย่างปกติ แต่จะมีรายละเอียดปลีกย่อยเพียงเล็กน้อยที่แตกต่างกันกับการเชื่อมบนบก
8. การเชื่อมใต้น้ำในอนาคต
การเชื่อมโลหะใต้น้ำแบบเปียกมีการเชื่อมมาเป็นเวลายาวนานมาแล้ว และจะมีการใช้งานต่อไปอีก ถ้ายังคงมีสิ่งก่อสร้าง,อุปกรณ์ และเครื่องกลในน้ำ
การพัฒนาเทคโนโลยีการเชื่อมใต้น้ำก็มีอยู่ต่อเนื่องเช่นกัน นอกเหนือจากการเชื่อมด้วยไฟฟ้าแล้ว ก็ยังมี การเชื่อมแบบเสียดทาน (Friction welding), การเชื่อมระเบิด (Explosive welding) และการเชื่อมสตัด (Stud welding) แต่จะไม่ได้กล่าวในรายละเอียดในบทความนี้
รูปการเชื่อมแบบระเบิด
วิดีโอแอนิเมทชันการเชื่อมแบบระเบิด
รูปการเชื่อมใต้น้ำ
รูปการ์ตูนเชื่อม
รูปเชื่อมใต้น้ำแบบเปียกเชื่อมโครงสร้างใต้ทะเล
เทคโนโลยีการเชื่อมใต้น้ำแบบเปียก ก็มีการพัฒนาการเชื่อมเป็นการนำเอาหุ่นยนต์เชื่อมมาใช้งานเชื่อมใต้น้ำเทคโนโลยีการเชื่อมก็คือ การเชื่อมติ๊กด้วยหุ่นยนต์ (TIG Hyperbaric Orbital Robot: THOR) ทั้งหมดจะเป็นงานอัตโนมัติโดยอาจไม่ต้องมีคนลงไปเลย และหุ่นยนต์สามารถเชื่อมในน้ำลึกได้ด้วย
ส่วนการเชื่อมใต้น้ำแบบไฮเปอร์บาริก ก็นำเอาหุ่นยนต์มาเชื่อมด้วย แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ยังมีเทคโนโลยีการตรวจสอบแนวเชื่อม และตั้งศูนย์ท่อใต้น้ำที่สามารถทำในน้ำลึก เพิ่มเข้ามาอีกด้วย
วิดีโอแอนิเมชันการเชื่อมใต้น้ำในอนาคตด้วยหุ่นยนต์
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“เวลาเจองานหนัก ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือโอกาสในการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นมืออาชีพ
เวลาเจอปัญหาซับซ้อน ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือบทเรียนที่จะสร้างปัญญาได้อย่างวิเศษ
เวลาเจอความทุกข์หนัก ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือแบบฝึกหัดที่จะช่วยให้เกิดทักษะในการดำเนินชีวิต
เวลาเจอนายจอมละเมียด ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือการฝึกตนให้เป็นคนสมบูรณ์แบบ (Perfectionist)
เวลาเจอคำตำหนิ ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือการชี้ขุมทรัพย์มหาสมบัติ
เวลาเจอคำนินทา ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือการสะท้อนว่าเรายังคงเป็นคนที่มีความหมาย
เวลาเจอความผิดหวัง ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือวิธีที่ธรรมชาติกำลังสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิต
เวลาเจอความป่วยไข้ ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือการเตือนให้เห็นคุณค่าของการรักษาสุขภาพให้ดี
เวลาเจอความพลัดพราก ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือบทเรียนของการรู้จักหยัดยืนด้วยขาตัวเอง
เวลาเจอแฟนทิ้ง ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือความเป็นอนิจจังที่ทุกชีวิตมีโอกาสพานพบ
เวลาเจอคนที่ใช่ แต่เขามีคู่แล้ว ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือประจักษ์พยานว่าไม่มีใครได้ทุกอย่างดั่งใจหวัง
เวลาเจอคนกลิ้งกะล่อน ให้บอกตัวเองว่า
นี่คืออุทาหรณ์ของชีวิตที่ไม่น่าเจริญรอยตาม
เวลาเจอคนเลว ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือตัวอย่างของชีวิตที่ไม่พึงประสงค์
เวลาเจออุบัติเหตุ ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือคำเตือนว่าจงอย่าประมาทซ้ำอีกเป็นอันขาด
เวลาเจอศัตรูคอยกลั่นแกล้ง ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือบททดสอบที่ว่า "มารไม่มีบารมีไม่เกิด"
เวลาเจอวิกฤต ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือบทพิสูจน์สัจธรรม "ในวิกฤตย่อมมีโอกาส"
เวลาเจอความจน ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือวิธีที่ธรรมชาติเปิดโอกาสให้เราได้ต่อสู้ชีวิต
เวลาเจอความตาย ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือฉากสุดท้ายที่จะทำให้ชีวิตมีความสมบูรณ์”
ว. วชิรเมธี