บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 612
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,641
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 58,798
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,050
  Your IP :3.146.152.147

5. ข้อดี และข้อด้อยของการเชื่อมใต้น้ำ

 

5.1 ข้อดีของการเชื่อมแห้ง

 

1) ความปลอดภัยของนักประดาน้ำ หรือช่างเชื่อม ที่ทำการเชื่อมในห้อง จะไม่ได้รับผลกระทบต่อกระแสน้ำมหาสมุทร และสัตว์ร้ายในน้ำ ความอบอุ่น ห้องที่แห้ง มีความสว่างดี และมีการ ควบคุมปรับสภาพระบบภายในห้อง (Environmental Control System: ECS)

 

รูปห้องเชื่อมแบบแห้งที่มีความปลอดภัยเพราะคนเข้าไปทำงานได้

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปภายในห้องเชื่อมแบบแห้ง

 

2) การเชื่อมมีคุณภาพดีกว่า วิธีการนี้ สามารถให้ผลที่ได้จากการเชื่อมมีคุณภาพ ที่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับการเชื่อมบนพื้นดิน เพราะว่าน้ำจะยังไม่เข้าถึงจุดเชื่อมภายหลังที่เชื่อมเสร็จ และระดับไฮโดรเจนมีค่าต่ำมากกว่าเมื่อเทียบกับการเชื่อมแบบเปียก

 

3) สามารถดูแลพื้นผิวชิ้นงานได้ดีกว่า ในการเตรียมรอยต่อเชื่อม, การตั้งศูนย์ (Alignment) ของท่อ ฯลฯ สามารถตรวจสอบให้เห็นได้ง่าย

 

รูปตัวอย่างการตั้งศูนย์ท่อ

 

4) การทดสอบแบบไม่ทำลาย (Non-Destructive Testing: NDT) ก็ทำได้อย่างสะดวกเช่นกัน โดยสามารถนำมาทำในสภาพที่แห้งได้

 

รูปการทดสอบรอยเชื่อมโครงสร้างใต้น้ำแบบไม่ทำลาย ในรูปเป็นการทดสอบแบบเปียก

 

5.2 ข้อเสียของการเชื่อมแห้ง

 

1) ต้องใช้พื้นที่มาก รวมทั้งมีอุปกรณ์ที่ซับซ้อน และทั้งอุปกรณ์ช่วยในการเชื่อมบนพื้นผิว ห้องที่มีความซับซ้อนมาก

 

รูปห้องเชื่อมใต้น้ำเป็นอุปกรณ์สำคัญที่มีความซับซ้อน และค่าใช้จ่ายสูงมาก

 

2) ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมสูงมาก โดยจะขึ้นอยู่กับความลึกในการเชื่อมด้วย การทำงานในที่ลึกจะมีผลกระทบต่อห้องที่ใช้เชื่อม ที่ความลึกมากกว่า ต้องใช้แรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่าในการต้องการเชื่อมอาร์ค ค่าใช้จ่ายอาจมีมูลค่าถึง 3,000,000 บาทต่อหนึ่งจุดงานเลยทีเดียว

 

      อีกอย่าง ห้องที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมถ้าลักษณะโครงสร้างงานเชื่อมไม่เหมือนกันก็ไม่สามารถนำมาใช้ต่อได้

 

6. ข้อดีและข้อเสียของการเชื่อมแบบเปียก

 

6.1 ข้อดีของการเชื่อมแบบเปียก

 

      การเชื่อมใต้น้ำแบบเปียก มีการใช้งานมานานหลายปีเพื่อใช้ในการซ่อมแซมอุปกรณ์, เครื่องกล, โครงสร้างโลหะที่อยู่ในทะเล ประโยชน์ของการเชื่อมใต้น้ำมีดังนี้

 

1) มีความยืดหยุ่นสูงในการทำงาน สามารถเคลื่อนที่โยกย้ายในการทำงานได้ง่าย

 

รูปการเชื่อมใต้น้ำแบบเปียกที่สามารถเคลื่อนที่ไปเชื่อมที่จุดเสียหายต่าง ๆ ได้ง่าย

 

2) มีความสามารถรอบตัว ต้นทุนในการทำงานเชื่อมต่ำ เป็นที่น่าพอใจมาก

 

3) ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการเชื่อมแบบแห้ง

 

4) การเชื่อมสามารถเข้าถึงจุดที่เป็นปัญหาของโครงสร้างใต้ทะเลได้ดีกว่า ขณะที่วิธีการอื่นทำได้ยาก

 

รูปช่างเชื่อมสามารถเข้าสู่จุดที่จะทำการเชื่อมได้ดีกว่า

 

5) ไม่มีห้องเชื่อม ทำให้ไม่เสียเวลาในการย้ายจุดเชื่อมมากนัก เครื่องเชื่อม และอุปกรณ์การเชื่อมหาได้ง่ายกว่าในการนำมาใช้ อุปกรณ์ที่ต้องการใช้เคลื่อนย้ายมีน้อย

 

6.2 ข้อเสียของการเชื่อมแบบเปียก

 

ถึงแม้ว่าการเชื่อมจะมีการนิยมอย่างแพร่หลาย แต่ก็ยังมีข้อเสียอยู่ ดังที่แสดงด้านล่าง

 

1) เกิดการชุบแข็งเร็วเกินไป (เพราะชิ้นงานจมอยู่ใต้น้ำ) ทำให้ชิ้นงานเชื่อมเกิด ความเค้นดึง (Tensile strength) เพิ่มขึ้น ความเค้นที่เพิ่มขึ้นนี้จะทำให้ชิ้นงานลดความแข็งแกร่งลง, อาจเกิดรูพรุนแบบตามดได้ง่าย และอาจเกิดความเปราะของชิ้นงานขึ้น

 

2) เกิดการเปราะแตกของชิ้นงานเชื่อม สาเหตุเกิดจาก ผลของไฮโดรเจน (Hydrogen embrittlement) มีไฮโดรเจนจำนวนมากในบริเวณที่ทำการเชื่อม ทำให้เดือดเป็นไอ จนไฮโดรเจนแยกตัวออกจากน้ำ ในบริเวณที่เชื่อมไฮโดรเจนจะละลายในบริเวณที่ได้รับความร้อน (Heat Affected Zone: HAZ)

 

รูปตัวอย่างการเกิดการเปราะของชิ้นงานซึ่งเป็นผลของไฮโดรเจน

 

3) ทัศนวิสัยในการมองเห็นในน้ำขณะทำการเชื่อมไม่ค่อยดีนัก บางเวลาทำการเชื่อมไม่ได้ เช่น บริเวณที่น้ำขุ่นมาก หรือตอนกลางคืน

 

4) โครงสร้างที่เชื่อมใต้น้ำแบบเปียก การตรวจสอบการเชื่อมอาจจะทำได้ยากกว่าการเชื่อมบนพื้นดิน ความเชื่อมั่นความสมบูรณ์ของซึ่งการเชื่อมใต้น้ำอาจยากมากกว่า

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

 

ทันทีที่รู้ตัวว่าทำผิด ให้ลงมือแก้ไขทันที

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา