บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 578
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 6,808
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 35,043
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,379,540
  Your IP :18.222.69.152

4. อันตรายที่อาจเกิดขึ้น

 

อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ของช่างเชื่อมใต้น้ำมีดังนี้

 

รูประวังไฟฟ้าช๊อต

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปสายไฟฟ้าที่ใช้เชื่อมควรหุ้มฉนวนอย่างดีป้องกันไฟฟ้ารั่ว หรือลัดวงจร

 

รูปการวางสายไฟเชื่อมขณะทำการเชื่อมใต้น้ำ

 

      ประการแรก อาจเกิดขึ้นจากไฟฟ้าช๊อต, รั่ว หรือลัดวงจรใต้น้ำ ดังนั้นก่อนทำการเชื่อมใต้น้ำ ควรตรวจสอบอุปกรณ์เชื่อมทุกชิ้นขณะอยู่บนผิวน้ำให้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน และเกิดความปลอดภัยก่อนที่จะนำลงไปทำการเชื่อมใต้น้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันจะเกิดขึ้นจากไฟฟ้าช๊อตผู้ที่อยู่ใต้น้ำ และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล สายไฟที่นำไปเชื่อมควรเคลือบห่อหุ้ม และป้องกันด้วยฉนวนอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถปิดแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องเชื่อมได้ทันทีเมื่อเชื่อมเสร็จ

 

รูปถังออกซิเจนที่ต้องตรวจสอบอยู่เสมอก่อนดำน้ำไปทำการเชื่อม

 

      ประการที่สอง ถังออกซิเจน และไฮโดรเจน จากวิธีการเชื่อมแบบเปียก อาจเสี่ยงต่อการระเบิดของถัง ต้องตรวจดูสภาพของถัง สภาพของวาล์วควบคุมแรงดันแก๊สว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ ก่อนนำมาใช้งาน

 

      ประการที่สาม ขณะที่ช่างเชื่อมใต้น้ำทำการเชื่อมใต้น้ำนาน ๆ ต้องระมัดระวัง แก๊สไนโตรเจนที่จะเข้าสู่กระแสเลือดในระหว่างทำงานเชื่อมอยู่ใต้น้ำซึ่งมีจะสภาวะความกัดดันสูง โดยความดันจะเพิ่มขึ้นตามความลึกของน้ำ

       ในส่วนของห้องเชื่อมแบบไฮเปอร์บาริกซึ่งผลจากความดันของอากาศที่ลดลงภายในห้องเชื่อม จะเกิดสภาวะง่วงหาวนอนตามมาหลังจากขึ้นถึงผิวน้ำอย่างรวดเร็ว การเชื่อมทั้งสองวิธีจึงควรจัดเตรียมถังออกซิเจนฉุกเฉินไว้ตลอดเวลา

      นอกจากนี้ ความเย็นของน้ำทะเลจะทำให้เกิดตะคริวได้ง่าย และการขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างรวดเร็วอาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายในร่างกายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือปอด จะปรับสภาพต่อความดันที่มีความแตกต่างกันไม่ทันอาจจะทำให้ปอดแตกได้ถ้าขึ้นสู่ผิวน้ำเร็วเกินไป ดังนั้นสมควรอย่างยิ่งที่จะค่อย ๆ ขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างช้า ๆ

 

รูปแมงกระพรุนไฟฟ้า

รูปปลาฉลาม

 

รูปงูพิษในทะเล

 

รูปปลาฉลาม

 

      ประการที่สี่ อันตรายที่อาจเกิดจากสัตว์ที่เป็นอันตรายใต้ทะเล เช่น ปลาฉลาม งูพิษในทะเล แมงกะพรุนไฟฟ้า หรือสัตว์ที่มีพิษอื่น ๆ ก่อนลงไปทำการเชื่อมควรศึกษาสภาพแวดล้อมใต้น้ำ บริเวณใดที่มีสัตว์น้ำที่จะทำอันตรายชุกชุม ควรมีอุปกรณ์ป้องกัน และควรมีเพื่อนร่วมดำน้ำเพื่อเฝ้าระวังอันตรายจากสิ่งเหล่านี้         

 

วิดีโอการเชื่อมใต้น้ำแบบเปียก

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

ไม่มีใครไปถึงดวงดาวได้โดย 
ปราศจากมือที่เปื้อนโคลน

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา