3. การเชื่อมแบบไฮเปอร์บาริก
รูปวงจรเครื่องเชื่อมใต้น้ำทั้งแบบแห้ง และเปียก
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รายละเอียดการเชื่อมแบบแห้ง (Dry) จากรูปด้านบน
AC/DC Power plant = เครื่องเชื่อมไฟฟ้า ที่ใช้ได้ทั้งแบบใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ หรือกระแสตรง
Work = งานที่ทำการเชื่อม
Electrode holder = คีมจับลวดเชื่อม
Electrode = ลวดเชื่อมชนิดพิเศษกันน้ำ
Return lead = สายกลับ
Earth = สายกราวด์
การเชื่อมไฮเปอร์บาริก (Hyperbaric welding) หรือที่เรียกกันว่า การเชื่อมแบบแห้ง (Dry welding) เป็นการเชื่อมในห้องปิด ที่ปิดผนึกอย่างดี จนห้องนี้สามารถป้องกันน้ำเข้ามาขณะทำการเชื่อมได้ ดังนั้นบริเวณที่จะทำการเชื่อมจึงแห้ง โดยที่ภายนอกห้องเชื่อมยังคงมีความดันสถิต (Hydrostatic) ของน้ำทะเลอยู่รอบ ๆ ห้องเชื่อม
รูปตัวอย่างห้องเชื่อมใต้น้ำแบบแห้ง
รูปการเชื่อมใต้น้ำที่เชื่อมภายในห้องปิด ที่เรียกว่าการเชื่อมแบบแห้ง
ภายในห้องเชื่อมได้อัดบรรจุก๊าซ (ทั่วไปแล้วจะบรรจุก๊าซฮีเลียม ความดัน 0.5 บาร์ของออกซิเจน) ผสมผสานกัน อีกทั้งแลกเปลี่ยนความดัน กับอากาศที่ใช้หายใจ หรือออกซิเจน
เหตุผลที่ต้องใส่ก๊าซนอกเหนือจากอากาศที่ใช้หายใจ เนื่องด้วยต้องการให้ก๊าซ ทำหน้าที่เป็นสารผนึกกันรั่วซึมของก๊าซ และอากาศไปยังด้านนอกรอบ ๆ ห้องเชื่อมขณะปฏิบัติงานเชื่อม
นอกจากนี้ยังทำให้ผลที่ได้จากการเชื่อมมีคุณภาพสูง เมื่อผ่านการตรวจสอบด้วยกล้องเอ็กเรย์ (X-ray)
รูปรอยเชื่อมหลังการเชื่อมเสร็จเมื่อเทียบกับเชื่อมบนอากาศ
เทคโนโลยีล่าสุดการประดิษฐ์สร้างห้องที่ใช้เชื่อมที่มีขนาดเล็ก ครอบบริเวณทำการเชื่อม ช่างเชื่อม หรือนักดำน้ำ สามารถทำงานนอกห้องเชื่อมได้แบบการเชื่อมแบบเปียก
เพียงแต่ยื่นมือเข้าไปเชื่อมภายในห้องเชื่อม ห้องเชื่อมสามารถครอบแต่ละแนวที่ต้องการเชื่อม ข้อดีก็คือ ต้นทุนที่ใช้สร้างห้องเชื่อมแบบนี้จะถูกกว่าแบบสร้างห้องครอบที่มีขนาดใหญ่มาก
เทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมแบบไฮเปอร์บาริกยังมีข้อดี ที่ดูเด่นกว่าการเชื่อมใต้น้ำแบบเปียกก็คือสามารถปฏิบัติการเชื่อมได้ลึก 500 ถึง 1000 เมตร
รูปการเชื่อมติ๊ก (TIG) ใต้น้ำ
การเชื่อมแบบไฮเปอร์บาริก นั้นนิยมใช้วิธีเชื่อมหลายวิธีการ อาทิเช่น
ü การเชื่อมโดยใช้แท่งอิเล็กโทรด (MMA (SMA))
ü การเชื่อมอาร์คด้วยแก๊ส-แท่งทังสเตน หรือที่รู้จักกันว่า การเชื่อมติ๊ก (TIG: Tungsten Inert Gas) และ
ü การเชื่อมอาร์คลวดใส้ฟลักซ์ (FCAW)
วิธีที่กล่าวมานี้ก็เพื่อต้องการความสมบูรณ์ของรอยเชื่อมให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมในน้ำลึก ซึ่งอาจเป็นการเชื่อมแนวท่อ และโครงสร้างใต้น้ำ ในอุตสาหกรรมด้านน้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ
รูปหลังจากเชื่อมเสร็จก็พร้อมที่จะขึ้นสู่ผิวน้ำ
วิดีโอแสดงการเชื่อมแบบแห้ง หรือแบบไฮเปอร์บาริก
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ธรรมชาติซับซ้อนเท่าที่มันจำเป็น...ไม่มากกว่านั้น
Nature is as complex as it needs to be.... and no more.”
Albert Einstein