2. การเชื่อมแบบเปียก
รูปการเชื่อมแบบเปียก
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปการเชื่อมแบบเปียก 2
เป็นการปฏิบัติงานของช่างเชื่อมใต้น้ำ ต้องดำลงไปในน้ำสัมผัสกับน้ำโดยตรง มีแท่งอิเล็กโทรดชนิดพิเศษกันน้ำเพื่อใช้เชื่อม และการเชื่อมจะต้องใช้ช่างที่มีฝีมือพอสมควรในการทำงานเชื่อม เป็นงานเชื่อมที่นิยม และมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง มีความประหยัด ส่วนแหล่งจ่ายไฟของการเชื่อม อยู่ที่ตำแหน่งพื้นผิวเหนือน้ำ จะมีสายไฟต่อลงไปถึงช่างเชื่อม หรือนักดำน้ำ ผ่านทางสายเคเบิล หรือสายยาง
ในการเชื่อมแบบเปียก โดยใช้ คนปฏิบัติในงานเชื่อมโลหะ (Manual metal are welding: MMA) จะใช้
แหล่งจ่ายพลังงาน ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current: DC)
ขั้วต่อ (Polarity) ใช้ขั้วลบในการต่อแท่งอิเล็กโทรดเพื่อเชื่อม (-ve polarity)
ถ้าใช้ไฟฟ้ากระแสตรงที่เป็นขั้วบวก (+ ve polarity) จะเกิด สภาพอิเล็กโทรไลซิส (Electrolysis: คือการแยกหรือสกัดสารเคมีด้วยกระแสไฟฟ้า (ทางเคมี)) เกิดขึ้น จะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของแท่งเชื่อมอิเล็กโทรดอย่างรวดเร็ว
ข้อห้ามของการเชื่อมแบบเปียกก็คือ จะไม่ใช้ ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternate Current: AC) มาทำการเชื่อม เนื่องมาจากว่าเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่อยู่ใต้น้ำ และมันมีความยุ่งยากในการซ่อมบำรุง มากกว่าแบบไฟฟ้ากระแสตรง
รูปวงจรเครื่องเชื่อมใต้น้ำแบบแห้ง และเปียก
รายละเอียดการเชื่อมแบบเปียก (Wet) จากรูปด้านบน
Negative polarity (DCSP) = ใช้ขั้วลบไปเชื่อม
DC Power plant = เครื่องเชื่อมไฟกระแสตรง
Welding lead = สายเชื่อม (ขั้วลบ)
Kinfe switch = สวิตซ์แบบใบมีด
Electrod holder = คีมจับลวดเชื่อม
Electrod = ลวดเชื่อมชนิดพิเศษกันน้ำ
Return lead = สายกลับ (ขั้วบวก)
Earth = สายกราวด์
รูปอุปกรณ์ที่จำเป็นในงานเชื่อมใต้น้ำ
รูปอุปกรณ์การเชื่อมใต้น้ำ 2
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะสร้างแหล่งกำลังงาน และจ่ายกระแสไฟฟ้าออกมาประมาณ 300 ถึง 400 แอมแปร์ให้กับเครื่องเชื่อม อย่างที่กล่าวไว้ขั้วบวกจะต่อลงกราวด์ที่ตัวเรือ หรือโครงสร้าง แล้วใช้ขั้วลบทำการเชื่อม จะมีสวิตซ์ใบมีดคอยตัด / ต่อกระแสไฟเหนือผิวน้ำ หรือบนเรือ สามารถสั่งให้ทำงานได้ด้วยช่างเชื่อมใต้น้ำเพื่อความปลอดภัยของช่างเชื่อม
ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงโดยเลือกใช้ขั้วลบต่อเข้ากับคีมจับลวดเชื่อม จับลวดเชื่อมที่เป็นแบบกันน้ำ สายไฟจะเป็นทองแดงตีเกลียว และใช้ฉนวนแบบพิเศษกันน้ำหุ้มรอบด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายเมื่อนำมาใช้ใต้น้ำ (แม้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรงก็ตามก็ต้องป้องกันไว้ก่อน) ทั้งขั้วลบ และขั้วบวก
รูปลวดเชื่อม AWS E6013 ที่ใช้เชื่อมบนบกมีคุณสมบัติเหมือนกันกับลวดเชื่อมใต้น้ำ
รูปลวดเชื่อมใต้น้ำ
คุณสมบัติของลวดเชื่อมใต้น้ำที่สำคัญ
|
ค่าที่ได้จากการทดสอบ
|
ทดสอบความเค้นเฉือน (Shear strength) ที่ชิ้นงานเชื่อม
|
330 เมกะปาสคาล (MPa)
|
ทดสอบด้วยแรงดึง (Tensile strength) จนชิ้นงานที่เชื่อมขาด
|
550 เมกะปาสคาล
|
เปอร์เซ็นต์การยืดตัว (% Elongation) ในการทดสอบชิ้นงาน
|
12%
|
รัศมีการทดสอบดัดโค้ง (Bending redius)
|
3 1/3t (เท่าของความหนาชิ้นงานตัวอย่าง)
|
การทดสอบแบบอัดกระแทกแบบชาร์ปี (Charpy V-notch impact) ที่อุณหภูมิ -290°C
|
29.8 จูล (J)
|
ตารางคุณสมบัติของลวดเชื่อมใต้น้ำตามมาตรฐานญี่ปุ่น (JIP) AWS D1.1
ประเภทของลวดเชื่อมนั้นคุณสมบัติจะเหมือนกันกับลวดเชื่อมประเภท AWS E6013 แตกต่างกันตรงที่ลวดเชื่อมใต้น้ำต้องสามารถกันน้ำได้ จะต้องมีฟลักซ์ฉนวนหุ้มอย่างดีเพื่อไม่ให้น้ำเข้ามาสัมผัสในส่วนที่เป็นแท่งโลหะได้
เพราะว่าถ้าเกิดการแตกของฟลักซ์หุ้มก็จะเกิดการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า, น้ำทะเลจะเข้ามาสัมผัสกับผิวของแท่งโลหะ และจะทำให้ตัวเครื่องเชื่อมจะจ่ายกระแสไฟฟ้าออกมาอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ไม่สามารถทำการเชื่อมอาร์คได้ผลเท่าที่ควร หรือไม่สามารถเชื่อมอาร์คได้เลยเพราะเกิดกระแสไฟรั่วก่อนที่จะมาถึงปลายลวดเชื่อม นอกจากนี้ยังจะทำให้ลวดเชื่อมเสื่อมตัวเองอย่างรวดเร็ว
วิดีโอการทดสอบแรงดึงกับชิ้นงานที่ผ่านการเชื่อมใต้น้ำ
วิดีโอปฏิบัติการเชื่อมใต้น้ำแบบเปียก
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“บ่นแล้วหมดปัญหา ก็น่าบ่น
บ่นแล้วมีปัญหา ไม่รู้จะบ่นหาอะไร”