บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 542
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,571
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 58,728
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,873,980
  Your IP :18.118.193.28

การเชื่อมโลหะใต้น้ำ (Underwater welding)

 

1. เกริ่นนำ

 

รูปงานเชื่อมโลหะใต้น้ำ 1

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปงานเชื่อมโลหะใต้น้ำ 2

 

      การเชื่อมโลหะใต้น้ำ คือการเชื่อมต่อโครงสร้างของโลหะ ให้ประสานติดกันโดยการทำเชื่อม จะอยู่ลึกลงไปในแม่น้ำทะเลมหาสมุทร และแหล่งอื่น ๆ ที่มีน้ำล้อมรอบ

 

      งานเชื่อมใต้น้ำนั้น เริ่มต้นใช้งานมาหลายสิบปีแล้ว เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ โดยเริ่มต้นที่อู่ต่อเรือของกองทัพเรืออังกฤษ ในปี พ.ศ. 2489

 

      ผู้พัฒนา และประดิษฐ์แท่งอิเล็กโทรดชนิดพิเศษกันน้ำได้ ก็คือ นายวานเดอร์ วิลลินเกน (Van der Willingen)

 

รูปการเชื่อมโลหะใต้น้ำ

 

      งานที่ต้องใช้เทคโนโลยีการเชื่อมใต้น้ำ ได้แก่ ส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำเรือ หรือเรือดำน้ำ รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่อยู่นอกชายฝั่ง ซึ่งประกอบไปด้วย แท่นขุดเจาะน้ำมันท่อส่งน้ำมัน และท่อแก๊สใต้น้ำฐานยึดท่อ หรือโครงสร้างใต้น้ำ

 

รูปการเชื่อมชุดใบพัดเรือใต้น้ำ

 

รูปการเชื่อมท่อใต้น้ำ

 

      เพราะโครงสร้างที่กล่าวมาไม่ว่าระหว่างการทำงาน หรือไม่ทำงานย่อมมีการเสื่อมสภาพ แตกร้าว หรือเสียหายจากภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นพายุระลอกคลื่นที่กระทบกับโครงสร้างตลอดเวลา ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้สามารถแก้ปัญหาส่วนใหญ่ได้ด้วยการใช้งานเชื่อมใต้น้ำ

  

วิดีโอสาธิตการเชื่อมใต้น้ำ

 

 

รูปแบบของการเชื่อมใต้น้ำ

 

 

ในการเชื่อมใต้น้ำ แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

 

1) การเชื่อมแบบเปียก (Wet welding) และ

 

รูปการเชื่อมแบบเปียกใต้น้ำ

 

      ในการเชื่อมแบบเปียก เป็นการปฏิบัติงานเชื่อมใต้น้ำ ก็คือเป็นการเชื่อมในน้ำ โดยมีน้ำอยู่รอบ ๆ ตัวผู้เชื่อม และงานที่จะเชื่อม

 

2) การเชื่อมแบบแห้ง (Dry welding)

 

รูปการเชื่อมใต้น้ำแบบแห้ง

 

ส่วนในการเชื่อมแบบแห้ง จะมีห้องครอบงานที่จะทำการเชื่อม ภายในห้องเชื่อมน้ำจะถูกดูดออกมาจนไม่มีน้ำเหลืออยู่ ทำให้งานที่จะทำการเชื่อมแห้ง สามารถเชื่อมได้อย่างสะดวก ยิ่งไปกว่านั้นผู้ที่ทำการเชื่อม จะปฏิบัติงานเชื่อมอยู่ภายในห้องเชื่อมนั้นด้วย

 

 

วิดีโอการเชื่อมใต้น้ำ

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
                   โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
                               นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
                                           สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา”

สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิต ชิโนรส

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา