บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 688
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,717
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 58,874
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,126
  Your IP :52.15.37.74

9. เศรษฐศาสตร์ และทรัพยากรทางพลังงานลม (จบ)

 

       กังหันลมที่ผลิตพลังงานลมในโลกนี้ ยังมีไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตพลังงานในรูปแบบอื่น เช่น พลังงานจากการเผาถ่านหิน ไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อน แต่ทว่าในอนาคตอันใกล้ พลังงานลมจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับ บ้านเรือน หรือทางธุรกิจ

 

รูปกังหันลม

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปกังหันลมขนาดเล็กติดตั้งตามบ้าน

 

      กังหันลมขนาดเล็กเครื่องหนึ่งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 10 กิโลวัตต์ (kW) ปีหนึ่งสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ประมาณ 16,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh)

 

รูปขนาดของกังหันกับกำลังงานที่ผลิตได้

 

      กังหันลมที่มีขนาดใหญ่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 1.8 เมกะวัตต์ (MW) หรือปีหนึ่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 16,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ในทางทฤษฏีแล้ว พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ เพียงพอกับการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 600 ครัวเรือน

 

รูปกังหันลม

 

      ถึงแม้ว่าพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหิน (Coal) และจากนิวเคลียร์ (Nuclear) จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ราคาถูกกว่าพลังงานลม แต่พลังงานลมก็ยังมีเหตุผลที่ดีอยู่ 2 เหตุผล คือ เป็นพลังงานที่ สะอาด (Clean) และเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด (Renewable) ตราบใดที่ยังมีลมพัดอยู่

 

      พลังงานลมไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และไนโตรเจนออกไซด์ (NO) ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ เหมือนกับการผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหินซึ่งมันมีอันตราย และกำลังจะหมดลงในไม่ช้า

 

      นอกจากนี้ความเป็นอิสระของกังหันลม กล่าวคือกังหันลมสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าในพื้นที่ที่ห่างไกล โดยไม่ต้องรอกระแสไฟฟ้าจากส่วนกลาง

   

      ข้อด้อยของพลังงานลม พลังงานลมไม่สามารถผลิตกำลังงานได้ 100 % เหมือนกับโรงผลิตพลังงานประเภทอื่น เพราะว่าลมที่พัดไม่แน่นอนตลอดบางครั้งพัดรุนแรง บางครั้งพัดเอื่อย ๆ บางครั้งไม่มีลม ถ้าอาศัยอยู่ใกล้กับที่ตั้งโรงกังหันลม อาจเกิดเสียงดังขณะใบพัดกำลังหมุนอาจรบกวนผู้อยู่อาศัยได้ กังหันจะเป็นอันตรายต่อนก และค้างคาว

 

รูปกังหันลมกับสัตว์ปีก

           

รูปกังหันลมมักเป็นอันตรายต่อสัตว์ปีก

 

หมายเหตุ - พลังงานลมที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 1 เมกาวัตต์ (MW: เท่ากับ 1,000,000 วัตต์) มีความหมายคือ ในหนึ่งปีสามารถผลิตกำลังงานได้ 2.4 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ไปจนถึง 3 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

 

กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) นั่นหมายถึง 1 กิโลวัตต์ (1000 Wของกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ ถูกใช้หมดภายใน 1 ชั่วโมง

             

ตัวอย่างเศรษฐศาสตร์การคิดกังหันลม

 

      กังหันลมตัวเล็กหนึ่งตัวจะมีต้นทุนในการสร้างประมาณ 200,000 3,200,000 บาท กังหันลมยิ่งมีความใหญ่โต ก็ยิ่งจะมีราคาสูง กังหันลมที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 1.8 MW มีต้นทุนในการสร้างสูงถึง 60 ล้านบาท โดยไม่รวมค่าพื้นที่ติดตั้ง สายส่ง และส่วนประกอบพื้นฐานอื่น ๆ

 

      ในระบบพลังงานลม ทุ่งกังหันลม มีต้นทุนรวมทั้งสิ้น 40,000 บาท /kW “ระยะเวลาคืนทุนสำหรับกังหันลมขนาดใหญ่ ที่มีเวลาในการผลิตไฟฟ้ามีมาก และทำการผลิตพลังงานได้อย่างพอเพียง จะใช้ระยะเวลาคืนทุนประมาณ 3-8 เดือน

 

รูปแนวทางการพัฒนากังหันลมจากอดีตจนไปถึงอนาคต

 

จบบทความ

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“จงมองไปข้างหน้าอย่างมีความหวัง

 

แล้วมองไปข้างหลังให้เป็นบทเรียน”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา