บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 719
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,748
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 58,905
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,157
  Your IP :3.145.163.138

6. อากาศพลศาสตร์ของกังหัน

 

6. อากาศพลศาสตร์ของกังหัน (Turbine Aerodynamics)

 

            ในกังหันลมสมัยใหม่ใบพัดกังหันมีลักษณะคล้ายกับปีกของเครื่องบิน วิชาอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamics) จึงถูกนำมาศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวกับใบพัดกังหัน เพื่อสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานผลิตพลังงานจากลม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด

 

      แรงพื้นฐานของอากาศพลศาสตร์จะมีอยู่สองแรงที่ทำให้กังหันลมเกิดการหมุนได้งาน ได้แก่ แรงยก (Lift) และแรงฉุด (Drag)

           

-                   แรงยก ซึ่งเป็นแรงที่กระทำทิศทางตั้งฉากกับการไหลของลม

 

-                   แรงฉุด ซึ่งเป็นแรงที่กระทำทิศทางขนานไปกับการไหลของลม

 

รูปอากาศพลศาสตร์กังหันลม

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

แรงกระทำที่ใบพัด

 

            ใบของกังหันลมมีลักษณะคล้ายกับปีกของเครื่องบิน มีการออกแบบ แพนอากาศ (Airfoil) ในแพนอากาศผิวด้านบนของใบพัด มีลักษณะโค้ง ขณะที่ด้านล่างมีลักษณะพื้นผิวแบนราบ

 

            หลักการง่าย ๆ ก็คือ เมื่อลมเคลื่อนที่มาปะทะกับใบพัด ลมจะพาดผ่านทั้งผิวโค้งด้านบนปีก และผิวเรียบด้านล่างใต้ปีกไปพร้อมกัน ลมที่วิ่งบนปีกจะมีความเร็วที่สูงกว่าลมที่วิ่งใต้ปีก เมื่อลมเคลื่อนที่ผ่านทั้งผิวโค้งด้านบน และผิวด้านล่างลมจะวิ่งไปบรรจบที่ปลายปีกใบพัดในเวลาเดียวกัน

 

      ผลที่เกิดขึ้นก็คือผิวโค้งด้านบนมีความเร็วลมสูงความกดดันอากาศจึงต่ำ เมื่อเทียบกับผิวเรียบด้านล่างซึ่งมีความความกดดันอากาศที่สูงกว่า จึงทำให้เกิดแรงยกดันให้ใบพัดมีการยกตัว หรือมีแรงพยายามหมุนใบพัด

 

      ส่วนรายละเอียดการคำนวณทางวิชาการจะไม่กล่าว ณ ที่นี้ อัตราส่วนแรงยกต่อแรงฉุด (Lift / Drag) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการออกแบบประสิทธิภาพของใบพัดกังหัน

 

วิดีโออากาศพลศาสตร์ของแพนอากาศ

 

 

วิดีโออากาศพลศาสตร์เมื่อไหลผ่านใบพัด หรือปีก

 

 

            แม้ว่าอากาศพลศาสตร์จะมีส่วนที่สำคัญต่อประสิทธิภาพของกังหันลม แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของใบพัดก็เป็นส่วนที่สำคัญไม่น้อยกว่ากัน (ใบพัดที่ยาวนั่นก็หมายความถึงเส้นผ่านศูนย์กลางของโรเตอร์ที่ใหญ่ตามไปด้วย) ทำให้พลังงานที่ได้จากการหมุนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าก็จะมากตามไปด้วย

 

      และยังมีความสูงของกังหันลมก็มีผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าเช่นกัน เสาที่สูง (Tower height) ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ ในความสามารถที่จะสร้างพลังงาน กังหันที่ยกขึ้นได้สูงกว่า ก็สามารถสร้างพลังงานได้มากกว่าเพราะว่ายิ่งยกสูงเท่าไหร่ ความเร็วลมก็จะเพิ่มมากขึ้น

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 


“ถ้าคุณต้องการประสบความสำเร็จมากขึ้นหนึ่งเท่าตัว จงเพิ่มความล้มเหลวเป็นสองเท่าตัว

If you want to increase your success rate,double your failure Rate.

 

T.Watson Jr (Founder of IBM)

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา