บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 207
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 8,866
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,101
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,598
  Your IP :18.116.40.177

8. ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง, การหล่อลื่นเครื่องยนต์, ระบบไอเสีย และระบบไฟฟ้า

8. ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง, การหล่อลื่นเครื่องยนต์, ระบบไอเสีย และระบบไฟฟ้า

 

ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel system) ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง ทั่วไปเราเรียกว่า ปั๊มติ๊ก

 

รูปปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง เรียกภาษาช่างว่าปั๊มติ๊ก

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 จะทำหน้าที่ดูดน้ำมันจากถังน้ำมันเชื้อเพลิงให้ไหลไปตามท่อผ่านตัวกรองน้ำมันเชื้อเพลิง และวิ่งไปผสมกับอากาศจนกลายเป็นไอดี แล้วไหลเข้าสู่กระบอกสูบ น้ำมันเชื้อเพลิงที่จ่ายไปที่กระบอกสูบ การจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ากระบอกสูบมีสองวิธีหลัก ๆ คือ เครื่องยนต์ติดตั้งคาร์บูเรเตอร์ (Carburetor), เครื่องยนต์ติดตั้งหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง (fuel injection)

 

รูปแสดงระบบน้ำมันเชื้อเพลิง 1

 

รูปผังการแสดงระบบน้ำมันเชื้อเพลิง 2

 

o  การผสมน้ำมันกับอากาศที่เรียกอุปกรณ์ ว่าคาร์บูเรเตอร์ มีการผสมอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง และไหลเข้าสู่เครื่องยนต์ได้กล่าวไว้แล้วตอนต้น

 

รูปคาร์บูเรเตอร์ของเครื่องยนต์มัสแตง

 

·       เครื่องยนต์หัวฉีด หรือเรียกกันว่า เครื่องยนต์อีเอฟไอ มีการแยกหัวฉีดไปที่แต่ละกระบอกสูบข้อดีก็คือมีการฉีดน้ำมันในแต่ละกระบอกสูบด้วยปริมาตรที่แน่นอน นอกจากนี้เครื่องยนต์หัวฉีดก็จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงในท่อ (port fuel injection) และหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงโดยตรง (direct fuel injection) นี้ก็กล่าวหลักการคร่าว ๆ ไว้แล้ว

 

รูปหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงในท่อ

 

รูปหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงในท่อ

 

รูปหัวฉีดเชื้อเพลิงโดยตรง

 

รูปหัวฉีดเชื้อเพลิงโดยตรงของบอส

 

วิดีโอแสดงการทำงานของระบบเชื้อเพลิงระบบหัวฉีด

 

ระบบน้ำมันหล่อลื่น (Lubrication system) หน้าที่หล่อลื่นคือการทำให้ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่มีการเคลื่อนให้มีแรงเสียดทานน้อยที่สุด ไม่ติดขัด

 

รูปแสดงระบบหล่อลื่นในเครื่องยนต์ 1

 

รูปแสดงระบบหล่อลื่นในเครื่องยนต์ 2

 

ชิ้นส่วนหลักที่ต้องการหล่อลื่นมากได้แก่ ลูกสูบ เพื่อให้เกิดการวิ่งของลูกสูบให้วิ่งขึ้น-ลงได้ดี และแบริ่ง (Bearing) ทุกจุด อันได้แก่ แบริ่งเพลาข้อเหวี่ยง และแบริ่งเพลาลูกเบี้ยว น้ำมันหล่อลื่นจะอยู่ที่อ่างน้ำมันหล่อลื่น จะมีปั๊มน้ำมันหล่อลื่นดูดน้ำมันมาใช้งาน โดยจะดูดผ่านตัวกรองน้ำมัน (Oil filter) ไปหล่อลื่นทุกส่วนเคลื่อนที่ และพ่นออกมาโดยมีแรงดันไปที่แบริ่ง และผนังกระบอกสูบ จากนั้นก็จะวิ่งวนกลับมาที่อ่างน้ำมันเครื่อง ซึ่งจะเก็บน้ำมันไว้และจะนำกลับมาใช้งานต่อไปวนเวียนเป็นวัฏจักร

 

วิดีโอการหล่อลื่นแบริ่งก้านสูบ

 

วิดีโอแสดงการทำงานของระบบหล่อลื่น

 

  ระบบไอเสีย (Exhaust system)

 

รูปแสดงระบบไอเสีย

 

รูปชุดท่อไอเสีย

 

ประกอบไปด้วยท่อไอเสียหรือที่รู้จักในท่อเฮดเดอร์ (Header)  และหม้อพัก (Muffler) ถ้ารถยนต์ไม่มีหม้อพักแล้ว ขณะเครื่องยนต์ทำงานจะมีเสียงที่ดังมาก เป็นอันตรายต่อหูได้ หม้อพักจึงมีหน้าที่เก็บเสียงของเครื่องยนต์ และอุปกรณ์ที่ช่วยลดสารที่เป็นพิษในท่อไอเสีย (Catalytic converter) ที่จะปล่อยออกมาสู่บรรยากาศภายนอก

 

รูปอุปกรณ์ที่ช่วยลดสารที่เป็นพิษในท่อไอเสีย

 

รูปอุปกรณ์ที่ช่วยลดสารที่เป็นพิษในท่อไอเสีย

 

รูปท่อเฮดเดอร์ และท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า อาร์ 6 (Yamaha R6)

 

รูปด้านล่างรถยนต์มิตซูบิชิ มิราจ ปี 95 แสดงให้เห็นท่อทางระบบไอเสีย

 

 

ระบบควบคุมลดการปล่อยไอเสียออกมา (Emission control system)

 

รูปแสดงผังตัวอย่างของระบบควบคุมลดการปล่อยไอเสีย

 

 

รูปแสดงภาพตัดของระบบท่อไอเสีย

 

รถยนต์สมัยใหม่จะมีอุปกรณ์ส่วนที่ช่วยลดสารที่เป็นพิษในท่อไอเสีย เป็นที่เก็บรวบรวมของอุปกรณ์ตรวจจับ (Sensor), อุปกรณ์ทำงาน (Actuators) และหน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงผล และตัวปรับต่าง ๆ ดังตัวอย่าง อุปกรณ์ที่ช่วยลดสารที่เป็นพิษในท่อไอเสีย ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) และออกซิเจน ที่เผาทำลายน้ำมันเชื้อเพลิงที่เผาไหม้ไม่หมด และสารเคมีอื่น ๆ จากห้องเผาไหม้ที่จะไหลออกสู่ท่อไอเสีย ตัวตรวจจับออกซิเจน (Oxygen sensor)

 

รูปแสดงตำแหน่งของตัวตรวจจับออกซิเจนในเครื่องยนต์

 

รูปแสดงตัวตรวจจับออกซิเจน

 

ในการไหลของไอเสีย ทำงานอย่างแน่ใจว่าจะมีออกซิเจนอยู่เพียงพอเพื่อให้ตัวเร่งปฏิกิริยาทำงาน และปรับได้ถ้ามีความจำเป็น

 

วิดีโอแสดงเครื่องยนต์นิสสัน GTR R35 ท่อไอเสียคู่ลองฟังเสียงดู

 

ระบบไฟฟ้า (Electrical system) ประกอบไปด้วย หม้อแบตเตอรี่ (Battery)

 

รูปแบตเตอรี่ที่ติดตั้งในห้องเครื่องยนต์

 

และอุปกรณ์กำเนิดกระแสไฟฟ้า ภาษาช่างเรียกว่า ไดชาร์จ หรืออัลเทอร์เนเตอร์ (Alternator)

 

รูปอุปกรณ์กำเนิดกระแสไฟฟ้าให้กับรถยนต์ที่เรียกว่าอัลเทอร์เนเตอร์

 

อัลเทอร์เนเตอร์จะพ่วงกับเครื่องยนต์ โดยมีแรงขับผลิตกระแสไฟฟ้าจากเครื่องยนต์โดยผ่านทางสายพาน กระแสไฟฟ้าที่ผลิตออกมาจะถูกประจุลงในแบตเตอร์รี่ แบตเตอร์รี่จะมีแรงดันไฟฟ้าใช้งาน 12 โวลต์ในรถยนต์บุคคลทั่วไป ไฟฟ้าที่จ่ายออกมาจากหม้อแบตเตอร์รี่ จะถูกจ่ายไปตามสายไฟไปสู่ระบบไฟต่าง ๆ เช่น ระบบจุดระเบิด, ระบบแสงสว่าง, ระบบปรับอากาศ, วิทยุเครื่องเสียง ฯลฯ

 

วิดีโอแสดงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในเครื่องยนต์ที่เรียกอัลเทอร์เนเตอร์

 

วิดีโอการทำงานของอัลเทอร์เนเตอร์

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

“ถ้าสติไม่มา ปัญญาก็ไม่มี”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา