บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 159
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 6,264
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 69,190
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,337,077
  Your IP :54.152.5.73

3. มารู้จักกับชิ้นส่วนหลักของเครื่องยนต์กัน

 

การวางสูบ   

  

            ส่วนสำคัญของเครื่องยนต์ คือกระบอกสูบที่มีลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นลงภายในกระบอกสูบ เครื่องยนต์ที่ติดตั้งอยู่ในรถยนต์จะมีมากกว่าหนึ่งกระบอกสูบ โดยทั่วไปจะมี 4, 6 และ8 กระบอกสูบ ในเครื่องยนต์หลายสูบ การวางกระบอกสูบมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ สูบเรียง (Inline), สูบวี (V), สูบนอน (Flat) ที่แสดงในรูป 

 

รูปเครื่องยนต์สูบเรียง

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปเครื่องยนต์ BMW รหัส N54 สูบเรียง 6 สูบ เทอร์โบคู่

 

รูปภายในของเครื่องยนต์แบบสูบเรียง

 

วิดีโอแสดงการทำงานแบบสูบเรียง

 

รูปเครื่องยน์จีเอ็ม วี8

 

รูปเครื่องยนต์ เชวี่ รหัส LS9 ZR1 6.2สูบวี 8 สูบ 

 

รูปการวางลูกสูบภายในของเครื่องยนต์วี 8

 

วิดีโอแสดงการทำงานแบบสูบวี

 

รูปเครื่องยนต์สูบนอนสูบนอน 6 สูบของพอร์ช 911 (Porsche: ปอร์เช่)

 

รูปการวางลูกสูบภายในของเครื่องยนต์สูบนอน

 

วิดีโอแสดงการทำงานแบบสูบนอน

 

      โครงสร้างความแตกต่างแต่ละการวางกระบอกสูบจะมีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันไปไม่ว่าในด้าน การเดินเครื่องเรียบไม่สั่น, ลักษณะรูปร่าง และต้นทุนการผลิต

 

ทีนี้มาดูส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องยนต์

 

เสื้อสูบ (Engine block) เป็นที่อยู่ของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ไม่ว่าจะเป็นลูกสูบ กระบอกสูบ ฝาสูบ ฯลฯ ภายในเสื้อสูบจะมีท่อทางของน้ำหล่อเย็น และรูน้ำมันเครื่อง เสื้อสูบส่วนใหญ่จะทำมาจากเหล็กหล่อ แต่ก็มีบางยี่ห้อที่ทำมาจากอลูมิเนียมผสม

 

รูปเสื้อสูบ

ฝาสูบ (Cylinder head) เป็นที่อยู่ของ หัวเทียน, หัวฉีด, วาล์วไอดี - ไอเสีย, เพลาลูกเบี้ยว ฯลฯ จะอยู่ด้านบนของเสื้อสูบมีท่อทางน้ำหล่อเย็น และน้ำมันเครื่อง เป็นทางวิ่งผ่านของไอดี และไอเสีย

 

รูปฝาสูบ

 

เพลาลูกเบี้ยว (Camshaft) เป็นเพลาที่คอยบังคับการเปิด /ปิด วาล์วไอดี, ไอเสีย ตามวัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์

 

รูปเพลาลูกเบี้ยว

 

รูปหัวเทียน

 

รูปภายในหัวเทียน


หัวเทียน (Spark plug) มีหน้าที่จุดระเบิดให้กับส่วนผสมไอดี เพื่อให้เกิดการระเบิดเผาไหม้อยู่ในกระบอกสูบ ในการจุดระเบิดนี้ต้องจุดในจังหวะที่ถูกต้อง ถึงจะได้งานที่ออกมาอย่างสมบูรณ์

 

รูปวาล์วไอเสีย -ไอดี (ข้อสังเกต วาล์วไอเสียจะมีขนาดเล็กกว่าวาล์วไอดี)

 

รูปวาล์วไอเสีย – ไอดี

 

วาล์วไอดี -ไอเสีย (Intake - exhaust valve) วาล์วทั้งสองจะเปิดตามจังหวะ และเวลา ในการหมุนของเครื่องยนต์ วาล์วไอดีเปิดเพื่อเอาส่วนผสมน้ำมัน และอากาศเข้ามา วาล์วทั้งคู่จะปิดเมื่อลูกสูบอัดตัวและเกิดการเผาไหม้ ส่วนวาล์วไอเสียจะเปิดเพื่อขับไล่ไอเสียหลังจากได้ทำการเผาไหม้ไอดีแล้ว 

 

 

รูปชุดลูกสูบ

 

รูปลูกสูบ


ลูกสูบ (Piston) เป็นลูกทรงกระบอกโลหะเบา เช่น ทำจากอลูมิเนียมผสม ทำงานโดยการเคลื่อนที่ขึ้น-ลง ในกระบอกสูบ

 

รูปแหวนลูกสูบ มีแหวนอัด และแหวนกวาด เรียงจากด้านบนลงล่าง

 

แหวนลูกสูบ (Piston ring) ประกอบอยู่ที่ลูกสูบอยู่ที่ขอบของลูกสูบ มีหน้าที่เป็นซีลป้องกันการรั่วระหว่างที่ลูกสูบทำงาน และอีกอย่างหนึ่งก็คือทำหน้าที่เป็นตัวกลางระบายความร้อนภายในห้องเผาไหม้ออกไปที่น้ำหล่อเย็น ทั่วไปแล้วแหวนลูกสูบจะมี 2 อย่าง คือ

 

-                   แหวนอัด จะคอยป้องกันไม่ให้ไอดี และไอเสียในกระบอกสูบรั่วไหลออกไประหว่างเกิดการอัด และเผาไหม้

 

-                   แหวนกวาดน้ำมัน จะคอยป้องกันน้ำมันเครื่อง จากอ่างน้ำมันเครื่องไม่ให้รั่วไปในห้องเผาไหม้ ถ้าน้ำมันเครื่องไหลเข้าในห้องเผาไหม้ได้จะทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต จึงควรตรวจสอบอยู่เสมอ

 

รูปก้านสูบ

 

ก้านสูบ (Connecting rod) จะเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างลูกสูบ และเพลาข้อเหวี่ยง หน้าที่ของก้านสูบคือเปลี่ยนการเคลื่อนที่แนวตรงของลูกสูบไปเป็นการเคลื่อนที่แบบหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง

 

รูปเพลาข้อเหวี่ยง

 

เพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft)  รับแรงระเบิดภายในห้องเผาไหม้ผ่านกระบอกสูบเชื่อมต่อกับก้านสูบ ต่อกับเพลาข้อเหวี่ยงทำให้เกิดแรงหมุน นำการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยงไปใช้งานขับเคลื่อนรถยนต์

 

รูปอ่างน้ำมันเครื่อง

 

อ่างน้ำมันเครื่อง (Oil pan) อยู่ด้านล่างของเครื่องยนต์ เป็นที่เก็บน้ำมันเครื่องเพื่อเตรียมนำไปหล่อลื่นชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์


 
นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนเครื่องยนต์อีกมากที่ประกอบกับเครื่องยนต์ ที่ทำให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์มีประสิทธิภาพ แต่จะยังไม่ขอกล่าวถึงในตอนนี้

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“อยู่ให้เขารัก

                  จากให้เขาเสียดาย

                              ตายให้เขาคิดถึง”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา