บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 589
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,618
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 58,775
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,027
  Your IP :3.135.206.25

2. หลักการเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน

 

 

รูปเครื่องยนต์ฮอนด้า วีเทค ตระกูล เค  (Honda V-TEC K Series)

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

รูปภาคตัดเครื่องยนต์ฮอนด้า วีเทค ตระกูล เค  (Honda V-TEC K Series)

 

            หลักการเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในของเครื่องยนต์ลูกสูบ ลองมาสมมติง่าย ๆ ถ้าคุณใส่น้ำมันเชื้อเพลิงเล็กน้อย ลงในกระป๋องเล็ก ๆ ปิดฝา และจุดไฟใส่ในกระป๋อง ผลก็คือเกิดการระเบิดของน้ำมันเชื้อเพลิงในกระป๋อง

 

การระเบิด ก็คือการขยายตัวอย่างรุนแรงของเชื้อเพลิง มันเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์โดยการนำมาประยุกต์สร้างเครื่องยนต์ ถ้าคุณสามารถทำให้มันเกิดการระเบิดอย่างเป็นวัฏจักรได้ คือให้มันเกิดการระเบิดติดต่อกันหลาย ๆ ครั้งเช่น 100 ครั้งต่อนาที และถ้าคุณสามารถควบคุมพลังงานที่ออกมา เพื่อให้เกิดมาเป็นแรงในการหมุนของล้อได้ นี้ก็จะเป็นแก่นเนื้อหาของเครื่องยนต์ในรถยนต์

 

 

รูปเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน

 

รูปนิโคลัส ออกัส ออตโต (Nicolas August Otto)

 

            รถยนต์ในปัจจุบันเกือบทั้งหมดจะใช้ เครื่องยนต์วัฏจักรการทำงานแบบ 4 จังหวะ ที่เปลี่ยนพลังงานการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงไปเป็นการเคลื่อนที่ วัฏจักรการทำงาน 4 จังหวะนี้ เราจะรู้จักกันในชื่อของ วัฏจักรออตโต (Otto cycle) เพื่อเป็นเกียรติแก่ นิโคลัส ออตโต ผู้ที่ประดิษฐ์เครื่องยนต์ประเภทนี้สำเร็จในปี พ.ศ. 2410

 

ในวัฏจักรออตโต เครื่องยนต์หมุน 2 รอบ จะได้งาน 1 ครั้ง ขั้นตอนจะมีดังนี้


วิดีโอการทำงานเครื่องยนต์วัฏจักรออตโต 4 จังหวะ

 

รูปจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ตามวัฏจักรออตโต คือ ดูด อัด ระเบิด คาย

 

รูปจังหวะดูด

1.            จังหวะดูด (Intake) ลูกสูบเริ่มต้นที่จุดสูงสุด เลื่อนลงมาขณะเดียวกันวาล์วไอดี (Intake valve) จะเปิด และวาล์วไอเสีย (Exhaust valve) ปิด ดูดส่วนผสมเชื้อเพลิง และอากาศที่เรียกว่า ไอดี (Air / Fuel mixer) เข้ามาในกระบอกสูบ ลูกสูบจะเลื่อนลงจนถึงจุดต่ำสุด นี้คือจังหวะดูด  

 

รูปจังหวะอัด

 

2.            จังหวะอัด (Compression) ลูกสูบเคลื่อนที่จากจุดต่ำสุดขึ้นไป วาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย จะไม่เปิด ลูกสูบเลื่อนขึ้นจนถึงจุดสูงสุดเพื่อทำการอัดส่วนผสมไอดีให้มีปริมาตรที่เล็กลง และจะเกิดความดันภายในห้องเผาไหม้จากการอัด นี้คือจังหวะอัด

 

 

รูปจังหวะระเบิด

 

3.            จังหวะระเบิด, ได้งาน (Combustion, Power) หรือจังหวะเผาไหม้ เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นสูงสุดแล้ว วาล์วไอดี และไอเสียยังปิดอยู่ หัวเทียน (Spark plug) จะทำการจุดระเบิดไอดีที่มีความดันอันเกิดจากจังหวะอัด เกิดการระเบิดภายในห้องเผาไหม้อย่างรุนแรง ถีบให้ลูกสูบเลื่อนลง จังหวะนี้คือจังหวะที่นำไปใช้งานในการเคลื่อนที่ของรถยนต์ เป็นจังหวะเดียวที่ได้งานในจำนวน 4 จังหวะ

 

รูปจังหวะคาย

 

4.            จังหวะคายไอเสีย (Exhaust) ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น ขณะเดียวกันวาล์วไอเสียจะเปิด ขับไล่ไอเสียออกจากกระบอกสูบ วาล์วไอดียังคงปิดอยู่ นี้คือจังหวะคาย

 

เมื่อทำงานถึงวัฏจักรที่ 4 ต่อไปก็จะ วนกลับมาทำงานในวัฏจักรที่ 1 ต่อไปวนเวียนเช่นนี้จนกระทั่งน้ำมันเชื้อเพลิงหมด หรือดับเครื่องยนต์

 

รูปชุดลูกสูบ

 

รูปส่วนประกอบของชุดลูกสูบ

 

 

รูปรายชื่อส่วนประกอบของชุดลูกสูบ

 

            ลูกสูบ (Piston) จะอยู่ในกระบอกสูบ (Cylinder) ลูกสูบจะทำงานโดยการวิ่งขึ้น / ลง ปลายด้านล่างจะต่อกับเพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) โดยมีตัวเชื่อมต่อคือ ก้านสูบ (Connecting rod)

 

รูปลูกสูบที่ประกอบกับเพลาข้อเหวี่ยง

 

โดยเพลาข้อเหวี่ยงจะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงพลังงานจากการระเบิด ไปเป็น การหมุน (พลังงานความร้อน ไปเป็น พลังงานกล)

 

ข้อน่าสังเกต การเคลื่อนที่ของลูกสูบภายในกระบอกสูบเป็นการเคลื่อนที่ขึ้นลง เป็นเส้นตรง แต่จะถูกแปลงไปเป็นการหมุนโดยมีเพลาข้อเหวี่ยงเป็นตัวแปลงให้เป็นการหมุนของเพลา เพื่อขับเคลื่อนยานยนต์

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“คาถาที่ควรมีไว้ประจำใจ เมื่อจะซื้อของกินของใช้
ให้ท่องคาถาว่า จำเป็นไหม จำเป็นไหม”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา