บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 354
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,013
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,248
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,745
  Your IP :3.135.216.174

บทที่ ๑ การวางแผน

 

รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง รู้เราแต่ไม่รู้เขาหรือรู้เขาแต่ไม่รู้เรารบแพ้บ้างชนะบ้าง ไม่รู้เขาและไม่รู้เรารบร้อยครั้งแพ้ร้อยครั้ง

 

รูปการวางแผน

 

      การทำสงคราม (สามารถนำไปปรับใช้ได้กับการทำงาน การดำเนินธุรกิจ) เป็นเรื่องใหญ่ของประเทศซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตของทหาร และประชาชน ซึ่งเป็นทั้งทางแห่งการดำรงอยู่ หรือความล่มสลายของประเทศชาติ ซึ่งผู้ปกครองประเทศต้องคิดให้ดีก่อนตัดสินใจ

 

      เมื่อตัดสินใจทำสงครามแล้ว จะต้องคำนึงถึงหลักพื้นฐาน ๕ ประการเป็นอันดับแรก ใช้ในการเปรียบสภาพของเราเทียบกับของข้าศึก เพื่อคาดการณ์ผลแพ้ชนะของสงคราม หลักพื้นฐาน ๕ ประการนั้น ได้แก่

 

 

๑.๑ รวมใจเป็นหนึ่งเดียว

     

      หมายความว่า เจตนารมณ์ของฝ่ายประชาชน (ผู้ถูกปกครอง, ผู้ใต้บังคับบัญชา) กับฝ่ายผู้ปกครองประเทศ (ผู้นำ, ผู้บังคับบัญชา) ต้องไปในทิศทางเดียวกัน และประชาชนยินดีร่วมเป็นร่วมตายกันไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

 

      การที่ผู้ปกครองประเทศจะทำอย่างนี้ได้ คุณธรรม และความจริงใจเป็นสิ่งสำคัญ จะปกครองคนต้องปกครองเขาที่ใจ ไม่ใช่วิธีการบังคับ หรือทำให้ลุ่มหลง แล้วประชาชนจะอยู่เคียงข้างผู้ปกครองเอง

 

 

๑.๒ ศึกษาสภาพภูมิอากาศ

 

      ความหมายก็คือ ให้ดูว่าจะทำการรบเป็นเวลาอะไร? กลางวัน หรือกลางคืน, ฤดูกาลอะไร? ฤดูหนาว ฤดูร้อน หรือฤดูฝน, ความผันแปรของสภาพอากาศ เช่น ฝนตก น้ำท่วม ไฟไหม้ พายุ ฯลฯ

 

 

๑.๓ ศึกษาสภาพภูมิประเทศ

 

      หมายถึงสภาพแวดล้อมบริเวณที่ ที่จะทำสงครามว่าเป็นพื้นที่ราบ หรือพื้นที่ลุ่ม อยู่ใกล้หรืออยู่ไกล เป็นพื้นที่อันตราย หรือเป็นพื้นที่เข้าออกสะดวก เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ หรือพื้นที่คับแคบ เป็นพื้นที่เปิดหรือพื้นที่ปิด

 

 

๑.๔ ผู้นำทัพ

 

      หมายถึงผู้นำที่มีสติปัญญา ศึกษาการศึกอย่างละเอียด รู้จักพลิกแพลงกลยุทธ์ มีสัจจะ รักษาคำพูด มีความเมตตากรุณาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้อื่น มีความกล้าหาญ มีคุณธรรม เคร่งครัดในระเบียบวินัย และเที่ยงธรรม

 

 

๑.๕ กฎ

 

      หมายถึง กฎข้อบังคับ, ระบบ, ระเบียบวินัยของกองทัพ, ระบบการจัดอัตรากำลังพล และระบบการจัดสรรอาวุธยุทโธปกรณ์

 

      ปัญหาทั้ง ๕ ประการนี้ผู้นำต้องศึกษาทำความเข้าใจให้รู้แจ้งจึงมีชัยชนะ ผู้ไม่ศึกษาย่อมเป็นฝ่ายปราชัย

 

      เมื่อทำการศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็ลองทำการเปรียบเทียบสภาพของเรา กับข้าศึกดู เพื่อคาดคะเนผลแพ้ / ชนะ ที่จะเกิดขึ้นในการทำสงคราม ซึ่งได้แก่

 

·        ผู้นำฝ่ายใดปกครองอย่างเป็นธรรม

 

·        แม่ทัพฝ่ายใดมีความสามารถมากกว่ากัน

 

·        สภาพภูมิอากาศได้เอื้อประโยชน์ให้แก่ฝ่ายใด

 

·        ฝ่ายใดมีความเคร่งครัดในระเบียบวินัย

 

·        กองกำลังฝ่ายไหนเข้มแข็งกว่ากัน

 

·        กำลังพลฝ่ายไหนได้ผ่านการถูกฝึกมาอย่างดี

 

·        ฝ่ายใดมีการลงโทษผู้กระทำความผิด และให้รางวัลแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ อย่างเคร่งครัดเที่ยงธรรม

 

      เมื่อทำการพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้ว ก็พอจะทราบเป็นเบื้องต้นได้ว่า กองกำลังฝ่ายไหนจักมีชัย หรือปราชัยในการทำศึกสงคราม

 

      ถ้าหากว่าแม่ทัพได้ทำการวางแผนบนพื้นฐานที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วย่อมจะชนะในการศึกสงครามที่เกิดขึ้น ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะให้รางวัลแก่แม่ทัพผู้นั้น

 

      หากว่าแม่ทัพไม่ได้ทำตามข้อที่กล่าวมาข้างต้นแล้วก็ย่อมจะพ่ายแพ้ในสงครามนั้น ก็สมควรที่จะต้องลงโทษตามความหนักเบาของความผิด หรือก็จงปลดออกจากแม่ทัพเสีย

 

      เมื่อทำการวางแผนที่ยอดเยี่ยมแล้วเพื่อไม่ประมาท ในขั้นต่อไปก็จงสร้างสภาวการณ์, สถานการณ์ หรือกุศโลบายหนึ่ง ๆ เพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนแผนที่ได้วางเอาไว้

 

      การสร้างสภาวการณ์นั้น จะต้องเป็นฝ่ายกระทำเขาไม่ใช่เป็นฝ่ายที่ถูกกระทำ ในการพลิกแพลงต้องคำนึงถึงความได้เปรียบเป็นหลัก

 

 

สภาวการณ์ที่พึงสร้างขึ้นเพื่อความได้เปรียบในการสงคราม

 

·        เรามีความสามารถ ก็แสดงให้เห็นว่า เราไร้ความสามารถ

 

·        จะทำสงคราม ก็แสดงให้เห็นว่า จะไม่ทำสงคราม

 

·        จะตีใกล้ แสดงให้เห็นว่า จะตีไกล

 

·        จะตีไกล แสดงให้เห็นว่า จะตีใกล้

 

·        ถ้าข้าศึกมีความโลภ ก็ให้หลอกล่อด้วยผลประโยชน์

 

·        ถ้าภายในของกองกำลังข้าศึกมีความปั่นป่วน ก็ทำการรบขั้นแตกหัก

 

·        ถ้าข้าศึกมีกำลังมาก ให้เตรียมพร้อมเสมอ

 

·        ถ้าข้าศึกมีความแข็งแกร่ง ก็ให้พึงหลีกเลี่ยง

 

·        ถ้าข้าศึกฮึกเหิม ให้ทำการบั่นทอนขวัญกำลังใจของข้าศึก

 

·        ถ้าข้าศึกมีความสุขุมเยือกเย็น จงยั่วให้ข้าศึกขาดสติ

 

·        ถ้าข้าศึกสุขสบาย ก็ทำการรังควาญข้าศึกให้อ่อนเปลี้ยเพลียแรง

 

·        ถ้าข้าศึกมีความสามัคคี ก็ทำการยุแยงให้แตกแยก

 

·        พึงทำการโจมตีข้าศึกในขณะที่ข้าศึกไม่ได้เตรียมพร้อม จู่โจมในขณะที่ข้าศึกไม่คาดคิด

 

      นี้คือการสร้างสภาวการณ์ที่ตนเองเป็นฝ่ายกระทำ เพื่อตอกย้ำชัยชนะในแผนที่ได้วางเอาไว้ นักวางแผนที่ดีจะต้องรู้จักพลิกแพลงให้เป็นไปตามสภาวการณ์ที่ได้พบเจอ ก็จะทำให้หนทางไม่อับจน

 

      หากชนะก่อนที่จะทำการรบ แสดงว่าได้วางแผนมาอย่างละเอียดรอบคอบดีแล้ว ชัยชนะย่อมเป็นของผู้วางแผนที่ดี หากไม่ชนะ (ติดขัดในการวางแผน) ก่อนที่จะรบ แสดงว่าไม่ได้ทำการวางแผนมาอย่างละเอียดรอบคอบเท่าที่ควร ความพ่ายแพ้ปราชัยก็จะถามหา ดังนั้นจะมีเหตุผลอะไรอีกล่ะ? ที่เราจะไม่กล่าวถึงการวางแผนการรบ

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา