19.8 ดีบุก
ดีบุก (Tin) เป็นโลหะเบา นิยมนำไปใช้งานทั่วไปมาก เช่น ในงานของการเชื่อมประสาน งานในด้านอาหาร ที่เห็นได้ชัดคือ ในกระป๋องเครื่องดื่มน้ำอัดลม ปลากระป๋อง ฯลฯ
ดีบุก โดยปกติจะทำหน้าที่เป็นเพียงส่วนผสมของธาตุหลัก แต่จะไม่นิยมนำมันมาทำเป็นธาตุหลักเสียเอง ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่า ณ อุณหภูมิห้อง ตัวดีบุกมันมีความแข็งแรงต่ำนั่นเอง โลหะหลักที่จะนำดีบุกเข้าไปเจือผสม อาทิเช่น ตะกั่ว, เงิน, ทองสัมฤทธิ์ และทองแดง
รูปแร่แคสสิเทอไรต์
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ดีบุกสกัดมาจากแร่ แคสสิเทอไรต์ (Cassiterite) เป็นแร่ดีบุกออกไซด์ แร่ที่ได้มาจากการทำเหมือง จะใช้เครื่องจักรกลหนักในการขุด หรือปั๊มมันขึ้นมา มันมีลักษณะแตกออกเป็นเม็ดกรวด ในการถลุงแร่นี้จะมีหินปูนบรรจุอยู่ด้วย แล้วนำเอาแร่ไปหลอมในเตาหลอม ซึ่งมันจะลดออกไซด์ในดีบุกที่ไม่ยังไม่บริสุทธิ์
หลังจากหลอมแล้ว นำมาเทลงในภาชะเหล็กหล่อ และนำไปทำความร้อนซ้ำ จากนั้นก็จะทำให้มันบริสุทธิ์โดยการใช้ไอน้ำ หรืออากาศอัด และมีธาตุอื่น ๆ มาเจือให้บริสุทธิ์โดยเผาให้ละลาย หรือใช้วิธีอิเล็กโตรไลติก จนทำให้ดีบุกเกิดความบริสุทธิ์ (มันมีความบริสุทธิ์ได้ถึง 99.99%) จากนั้นก็นำไปหล่อเป็นแท่งอินก็อด ในขั้นตอนสุดท้าย
รูปตัวอย่างการเคลือบโลหะด้วยดีบุก
ในการที่จะนำดีบุกไปเคลือบโลหะ จะใช้กระบวนการอิเล็กทรอโลซิส (Electroplated) ไปที่โลหะ จะเป็น การชุบเคลือบดีบุก (Tinplate) (แผ่นเหล็กกล้าถูกเคลือบด้วยดีบุก) ที่เราเคยเห็นในเชิงพาณิชย์ ก็คือ กระป๋องโลหะที่ใส่อาหาร เช่น ปลากระป๋อง, ผลไม้กระป๋อง จะเคลือบด้วยดีบุก การเคลือบนี้จะป้องกันโลหะเหล็กกล้าทำปฏิกิริยาทางเคมี กับอาหารที่อยู่ในกระป๋อง
รูปตัวอย่างกระป๋องที่เคลือบด้วยดีบุก
ดีบุกเป็นธาตุผสม ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้มากในงานโลหะ ที่สามารถทนต่อการกัดกร่อน และยังเป็นตัวนำไฟฟ้า ดีบุกผสมนิยมนำมาใช้บ่อยในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และท่อประปา ซึ่งจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
“การทำงานใด ๆ ไม่ว่าเล็ก ใหญ่ ง่าย ยาก
ถ้าย่อหย่อนจากความเพียรแล้ว
ยากที่จะให้สำเร็จเรียบร้อยทันเวลาได้”
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๒
ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>