19.3 ความแข็งแกร่งของแมกนีเซียม
แมกนีเซียมมีคุณสมบัติที่ยืดหยุ่นได้ไม่มาก ดังนั้น การที่จะทำให้เกิดความแข็งแกร่ง จึงไม่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้จากกระบวนการรีดเย็น
ถ้าอยากให้เกิดความแข็งแกร่งขึ้น จะต้องมีการเติมธาตุ เพื่อผสมเข้าไป เช่น อลูมิเนียม, สังกะสี และแคลเซียม
รูปตัวอย่างการหล่อแมกนีเซียม
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ชิ้นส่วนเครื่องกลที่ทำจากแมกนีเซียมผสม จะเกิดความแข็งแกร่งได้จากการเจือธาตุ สามารถนำไปหล่อ, ฉีดขึ้นรูป หรือรีดร้อนได้ หลังจากนั้นก็สามารถนำไปกระทำกับเครื่องมือกล เพื่อขึ้นรูปตามต้องการ ในขั้นตอนสุดท้ายได้
รูปชิ้นงานแมกนีเซียมที่จะนำไปตีขึ้นรูป
ยกตัวอย่าง ที่มีการนำแมกนีเซียมผสมมาใช้งานที่เห็นอยู่ทั่วไปนั่นก็คือ ชิ้นส่วนเครื่องกลชิ้นเล็ก ๆ อย่างที่เห็นในรูปด้านล่าง แสดงให้เห็นถึงการใช้แมกนีเซียมผสมมาทำเป็นโครงของโน๊ตบุ๊ค
รูปโครงแมกนีเซียมที่นำมาใช้ในคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค หลังจากผ่านกระบวนการชุบแข็งฉับพลัน มันจะเกิดข้อดี คือน้ำหนักเบา มีความแข็งแกร่งขึ้น
มีการนำแมกนีเซียมผสมไปปรับสภาพทางความร้อน แล้วนำไปผ่านกระบวนการชุบแข็งแบบฉับพลัน ยกตัวอย่างเช่น แมกนีเซียมผสมรหัส M16600 ซึ่งมีการเติม ไซร์โคเนียม (Zirconium) และสังกะสี จำนวนเล็กน้อย
ในเตาอบ หรือหลอมโลหะ จะใช้อุณหภูมิ 370°C (700°F) เพื่อให้สารละลายผสมเข้าสู่เนื้อแมกนีเซียม ใช้เวลาอบไม่นานนัก อีกทั้งยังมีการเติม ก๊าซเฉื่อย (Inert gas) หรือเติมคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป (ที่เติมก๊าซเหล่านี้ ก็เพื่อไม่ต้องการให้แมกนีเซียมเกิดการออกซิเดชัน (Oxidation))
จากนั้นก็นำชิ้นงาน ไปชุบแข็งในอากาศ เมื่อได้ชิ้นงานแล้ว นำไปทดสอบวัสดุหากพบว่าความความแข็งแกร่งไม่เพียงพอ ก็สามารถนำไปอบได้อีกครั้ง ทีนี้จะใช้อุณหภูมิ 150°C (300°F) ใช้เวลา 24 ชั่วโมง จะทำให้ชิ้นงานมีความแข็งแกร่งขึ้นมากกว่าแมกนีเซียมผสมเดิม
ธาตุที่ผสมอื่น ๆ ใช้ให้เกิดความแข็งแกร่งให้แก่แมกนีเซียม อาทิเช่น อลูมิเนียม, สังกะสี, ไซร์โคเนียม และแมงกานีสในบางครั้ง และทอห์เรียม (Thorium) คุณสมบัติบางอย่างของแมกนีเซียมผสมดูรายชื่อที่ตารางด้านล่าง
การเลือกใช้คุณสมบัติของแมกนีเซียมผสม
|
รหัสแมกนีเซียม
|
ลักษณะ
|
เงื่อนไข
|
ความแข็งแกร่งทางดึง (ksi)
|
ความแข็งแกร่งที่จุดครากตัว (ksi)
|
เปอร์เซ็นการยืดตัว (% ใน 50 mm)
|
ความทนทานต่อการกระแทก (ft-lb)
|
ความทนทานต่อการเฉือน (ksi)
|
โมดูลัสความยืดหยุ่น (x1000ของ ksi)
|
ความถ่วงจำเพาะ
|
จุดหลอมเหลว (°C)
|
จุดหลอมเหลว (°F)
|
M11914
|
แบบหล่อทราย
|
ฉุบแข็งฉับพลัน
|
40
|
21
|
6
|
1
|
21
|
6.5
|
1.827
|
470-595
|
875-1105
|
M10600
|
แม่พิมพ์หล่อ (Die casting)
|
การหล่อ
|
32
|
19
|
6
|
|
|
6.5
|
1.78
|
540-615
|
1005-1140
|
M13210
|
ดัด (Wrought)
|
ฉุบแข็งฉับพลัน
|
34
|
25
|
11
|
5.87
|
18
|
6.5
|
1.78
|
605-650
|
1120-1200
|
M13310
|
ดัด
|
อบอ่อน
|
29
|
18
|
30.5
|
4
|
|
6.5
|
1.8
|
590-650
|
1090-1200
|
M13310
|
ดัด
|
ขึ้นรูปเย็น
|
37
|
29
|
9
|
3
|
20
|
6.5
|
1.8
|
590-650
|
1090-1200
|
M13310
|
ดัด
|
ฉุบแข็งฉับพลัน
|
37
|
29
|
9
|
|
20
|
6.5
|
1.8
|
590-650
|
1090-1200
|
ตารางรายชื่อของแมกนีเซียมผสม และคุณสมบัติที่หลากหลาย
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
“ถ้าครูไม่ห่วงประโยชน์ที่ควรจะห่วง
หันไปห่วงอำนาจ ห่วงตำแหน่ง
ห่วงสิทธิ์ และห่วงรายได้กันมากเข้า ๆ แล้ว
จะเอาจิตใจที่ไหนมาห่วงความรู้ ความดี ความเจริญของเด็ก
ความห่วงในสิ่งเหล่านั้นก็จะค่อย ๆ บั่นทอนทำลายความเป็นครูไป
จนหมดสิ้น จะไม่มีอะไรดีเหลือไว้พอ ที่ตัวเองจะภาคภูมิใจ
หรือผูกใจใครไว้ได้
ความเป็นครูก็จะไม่มีค่าเหลืออยู่ ให้เป็นที่เคารพบูชาอีกต่อไป”
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่ครูอาวุโส ในโอกาสเข้าเฝ้า
ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน วันเสาร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๑
ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>