บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 273
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 8,932
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,167
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,664
  Your IP :18.191.108.168

18.3.1 ทองสัมฤทธิ์

 

      ทองสัมฤทธิ์เป็นโลหะแรกที่ ช่างเหล็ก (Smith) (เป็นชื่อสำหรับเรียกนักโลหะวิทยาในสมัยนั้น) ทำการผสม ในทางเทคนิค ทองสัมฤทธิ์เป็นการผสมระหว่างทองแดง และธาตุอื่น ๆ

 

      แต่โดยทั่ว ๆ ไปจะเรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการผสมของทองแดง-ดีบุก ในตัวของทองสัมฤทธิ์อาจมีดีบุกผสมถึง 25% เลยทีเดียว

 

 

รูปบรอนซ์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ช่างเหล็กในสมัยแรก ที่ค้นพบว่ามีการผสมหิน (Bearing rocks) กับดีบุก และหินแบริ่งกับทองแดง ได้ถูกหลอมออกมาเป็นวัสดุใหม่ เพื่อให้ได้คุณสมบัติตามต้องการ โลหะที่หลอมออกมานี้สามารถทำการตอกกระแทกได้ง่ายกว่าทองแดงบริสุทธิ์ และมันสามารถทำให้เกิดคมที่มีความคงทนกว่าทองแดงบริสุทธิ์ การพัฒนาของโลหะผสมชนิดนี้ เกิดขึ้นใน ยุคทองสัมฤทธิ์ (Bronze Age) ประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปวาดแสดงถึงยุคทองสัมฤทธิ์

 

     

 

 

รูปในยุคศิวิไลซ์แรก ทองสัมฤทธิ์ใช้ทำหมวกนักรบ และเครื่องมืออื่น ๆ

 

 

รูปดาบที่ทำมาจากทองสัมฤทธิ์ ในยุคทองสัมฤทธิ์

 

      ทองสัมฤทธิ์ยุคแรกนั้น เป็นทองสัมฤทธิ์ผสมสารหนู (Cu-4% As) แต่ต่อมา มีการเติมดีบุก 5-10% ในการเติมธาตุเหล่านี้ ทำให้ทำงานได้ดีกว่าทองแดง

 

      ทองสัมฤทธิ์ดีบุกมีพิษน้อยจึงนำมาทำการหล่อ ดีบุกมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าทองแดง แต่มันช่วยให้เกิดความแข็งแกร่ง การเติมดีบุกไปที่ทองแดงจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่ง และยังทำให้มีความแข็งเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

 

รูปดาบที่ทำจากทองสัมฤทธิ์

 

      การไหลของทองสัมฤทธิ์หลอม ที่ไหลไปยังแม่พิมพ์ จะดีกว่าทองแดงบริสุทธิ์ และสามารถไหลไปในพื้นที่ที่เป็นซอกเล็ก ๆ ได้ดีกว่า การผสมก็ได้ความแข็งขึ้นเช่นกัน ซึ่งดีกว่าทองแดงบริสุทธิ์

 

      ส่วนธาตุอื่น ๆ เช่น ตะกั่ว และสังกะสี ก็สามารถเติมลงไปในทองสัมฤทธิ์ได้เช่นกัน จะทำให้สามารถปรับปรุงคุณสมบัติต่าง ๆ ให้ดีขึ้น ยกตัวอย่าง ตะกั่วที่เติมลงไปในทองสัมฤทธิ์เพื่อทำให้วัสดุสามารถถูกตัดเฉือนด้วยเครื่องมือกลได้ง่าย

 

      ทุกวันนี้นิยมผสม ทองสัมฤทธิ์กับดีบุก (ทองแดง และดีบุก) และทองสัมฤทธิ์กับอลูมิเนียม (ทองแดง และอลูมิเนียม) ใช้ผสมเพื่องานในการหล่อ และดัดเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้ง่าย อีกทั้งยังมีความทนทาน

 

      ทองสัมฤทธิ์กับอลูมิเนียม จะมีอลูมิเนียมอยู่ 5-10% ในบางครั้งยังมีการผสมของนิกเกิล หรือแมงกานีส ทำให้วัสดุมีความแข็งเช่นเดียวกับเหล็กกล้า

 

 

รูปบรอนซ์ที่ทำเป็นแบริ่ง

 

      ทองสัมฤทธิ์ที่ผสมธาตุต่าง ๆ ยังคงความสามารถต่อการกัดกร่อนเทียบเท่ากับทองแดง นำไปหล่อได้ง่ายกว่าทองแดง และได้ความแข็งแกร่งมากกว่าทองแดง เสื้อแบริ่ง (Bearing blocks) ส่วนใหญ่ ทำมาจากทองสัมฤทธิ์ เป็นเพราะว่ามันมีคุณสมบัติที่เหนือกว่า

 

 

รูปแบริ่งที่ทำจากทองสัมฤทธิ์

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

 

ความสามัคคี เป็นคุณสมบัติประจำตัวของคนไทย

ที่ได้อบรม สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษโดยไม่ขาดสาย 

ทั้งนี้เพราะคนไทย ทราบตระหนักว่า

หมู่คณะที่มีความสามัคคีแน่นแฟ้นสมบูรณ์

ย่อมมีกำลังกล้าแข็งทั้งในการคิด และการปฏิบัติ

 

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานในการประชุมใหญ่ สามัคคีสมาคม ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๔ 



ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา