บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,876
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 7,981
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 70,907
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,338,794
  Your IP :44.197.191.240

15.5.3 คาร์บูไรซิ่งของเหลว

 

      คาร์บูไรซิ่งเหลว ใช้สารประกอบคาร์บอนที่อยู่ในสภาพของของเหลว เพื่อนำมาชุบแข็งที่พื้นผิวของชิ้นส่วนเหล็กกล้า กระบวนการนี้มีความคล้ายคลึงกับกระบวนการทั้งสองที่กล่าวมา คาร์บอนจะสะสมเกาะที่ผิวเหล็กกล้า

 

 

รูปเฟืองที่กำลังนำไปชุบลงในอ่างเกลือ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

รูปอ่างเกลือ

 

เมื่อนำเหล็กกล้าไปจุ่มชุบในของเหลวที่มีสารประกอบของคาร์บอน โดยการใช้อ่างเกลือหลอมเหลว ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปกระบวนการคาร์บูไรซิ่งของเหลว ชิ้นส่วนถูกจุ่มลงไปในอ่างเกลือที่มีสารละลายคาร์บอนอยู่

 

วิดีโอตัวอย่างการนำชิ้นงานจุ่มในอ่างเกลือ

 

      วิธีการคาร์บูไรซิ่งของเหลวมักใช้ของเหลวที่มีส่วนประกอบของคาร์บอน อาทิเช่น โซเดียม ไซยาไนต์ (Sodium cyanide: NaCN), แบเรียม ไซยาไนต์ (Barium cyanide: BaCN2) หรือแคลเซียม คลอไรด์ (CaCN2)

 

 

รูปโซเดียม ไซยาไนต์

 

รูปภาชนะบรรจุโซเดียม ไซยาไนต์

 

รูปแบเรียม ไซยาไนต์

 

 

รูปแคลเซียม คลอไรด์

 

รูปถุงแคลเซียม คลอไรด์

 

      ที่ตัวอ่างเกลือจะถูกให้ความร้อนด้วยไฟฟ้า เพื่อให้สารละลายภายในถัง ถูกปลุกเร้าในการรักษารูปแบบการเคลื่อนที่ ที่จะเข้าซึมซับกับชิ้นงาน

 

 

การเปรียบเทียบเทคนิคคาร์บูไรซิ่ง

 

      ในวิธีการทำคาร์บูไรซิ่งของเหลวนั้น มีข้อดีอยู่มากกว่าวิธีของคาร์บูไรซิ่งก๊าซ และวิธีคาร์บูไรซิ่งกลุ่ม ข้อดีของของเหลวมันมีการเปลี่ยนแปลงสนองตอบต่อความร้อนที่รวดเร็ว ดังนั้น คาร์บอนจะแทรกซึมเหล็กกล้าอย่างเร็วในชั่วโมงแรกของการทำคาร์บูไรซิ่ง

 

      คาร์บูไรซิ่งของเหลวจะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าในงานบาง ที่ต้องการงานเคลือบที่แทรกซึมลึก ในการเคลือบผิวแข็งมีรูปแบบที่เคลือบได้ตลอดพื้นผิว เพราะว่าของเหลวมีการไหลแทรกซึมได้ดีกว่าแก๊ส โดยพื้นฐานแล้ว ของเหลวจะปกคลุมชิ้นส่วนที่จุ่มลงไป ทำให้ลดการเกิด ออกซิเดชัน (Oxidation: ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากการรวมตัวของออกซิเจนกับสารอื่น)

 

      แต่ก็มีอีกหลายเหตุผล ที่วิธีการคาร์บูไรซิ่งของเหลวไม่ได้เป็นตัวเลือกในการนำมาเคลือบแข็งเสมอ เพราะการชุบในอ่างเกลือไซยาไนต์ บางครั้งจะเกิดไนโตรเจน เข้ามาติดที่ผิวเหล็กกล้าแล้วรวมตัวกับคาร์บอน ไนโตรเจนจะทำให้ชิ้นงานเกิดความแข็งอย่างทันทีทันใด

 

      เพราะฉะนั้น ชิ้นส่วนที่ผ่านการคาร์บูไรซิ่งด้วยของเหลวแล้ว โดยปกติจะไม่ไปกระทำผ่านเครื่องมือกล (กลึง, กัด, ไส ฯลฯ) หลังจากที่ทำการคาร์บูไรซิ่งเสร็จแล้ว

 

      ธรรมชาติของเกลือไซยาไนต์ มันมีความเป็นพิษ และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ฉะนั้นจะต้องมีกระบวนการจัดการที่ดีไม่ให้หลุดรอดออกไปสู่สิ่งแวดล้อมได้

 

      เมื่อชิ้นงานผ่านกระบวนการคาร์บูไรซิ่งของเหลวแล้ว ต้องนำไปล้างทำความสะอาด เพื่อป้องกันการเกิดสนิม และเพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นงานเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต

 

      อ่างเกลือปกติบรรจุในถังหรือห้องเล็ก ๆ ดังนั้น มันจึงไม่สามารถใช้กับชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ รูปร่างที่แปลกเก้งก้างได้ ซึ่งโดยปกติการออกแบบวิธีการนี้ คาร์บูไรซิ่งของเหลว จะถูกกำหนดให้ใช้กับชิ้นงานที่ไม่ใหญ่มากนัก ในการทำการชุบผิวแข็ง

 

 

 

การเปรียบเทียบเทคนิคคาร์บูไรซิ่ง

 

      ในวิธีการทำคาร์บูไรซิ่งของเหลวนั้น มีข้อดีอยู่มากกว่าวิธีของคาร์บูไรซิ่งก๊าซ และวิธีคาร์บูไรซิ่งกลุ่ม ข้อดีของของเหลวมันมีการเปลี่ยนแปลงสนองตอบต่อความร้อนที่รวดเร็ว ดังนั้น คาร์บอนจะแทรกซึมเหล็กกล้าอย่างเร็วในชั่วโมงแรกของการทำคาร์บูไรซิ่ง

 

      คาร์บูไรซิ่งของเหลวจะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าในงานที่บาง งานที่ต้องการเคลือบผิวที่แทรกซึมลึก ในการเคลือบผิวแข็งมีรูปแบบที่เคลือบได้ตลอดพื้นผิว เพราะว่าของเหลวมีการไหลแทรกซึมได้ดีกว่าแก๊ส โดยพื้นฐานแล้ว ของเหลวจะปกคลุมชิ้นส่วนที่จุ่มลงไป ทำให้ลดการเกิดออกซิเดชัน (Oxidation: ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากการรวมตัวของออกซิเจนกับสารอื่น)

 

      แต่ก็มีอีกหลายเหตุผล ที่วิธีการคาร์บูไรซิ่งของเหลวไม่ได้เป็นตัวเลือกแรกในการนำมาเคลือบแข็งเสมอ เพราะการชุบในอ่างเกลือไซยาไนต์ บางครั้งจะเกิดไนโตรเจน เข้ามาติดที่ผิวเหล็กกล้าแล้วรวมตัวกับคาร์บอน ไนโตรเจนจะทำให้ชิ้นงานเกิดความแข็งอย่างทันทีทันใด

 

      เพราะฉะนั้น ชิ้นส่วนที่ผ่านการคาร์บูไรซิ่งด้วยของเหลวแล้ว โดยปกติจะไม่ไปกระทำผ่านเครื่องมือกล (กลึง, กัด, ไส ฯลฯ) หลังจากที่ทำการคาร์บูไรซิ่งเสร็จแล้ว

 

      ธรรมชาติของเกลือไซยาไนต์ มันมีความเป็นพิษ และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ฉะนั้นจะต้องมีกระบวนการจัดการที่ดีไม่ให้หลุดรอดออกไปสู่สิ่งแวดล้อมได้

 

 

รูปควรมีระบบจัดการกับไซยาไนต์ เพื่อไม่ให้มันหลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อม

 

      เมื่อชิ้นงานผ่านกระบวนการคาร์บูไรซิ่งของเหลวแล้ว ต้องนำไปล้างทำความสะอาด เพื่อป้องกันการเกิดสนิม และเพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นงานเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต

 

      อ่างเกลือปกติบรรจุในถังหรือห้องเล็ก ๆ ดังนั้น มันจึงไม่สามารถใช้กับชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ รูปร่างที่แปลกเก้งก้างได้ ซึ่งโดยปกติการออกแบบวิธีการนี้ คาร์บูไรซิ่งของเหลว จะถูกกำหนดให้ใช้กับชิ้นงานที่ไม่ใหญ่มากนัก ในการทำการชุบผิวแข็ง

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“อย่าพยายามเป็นคนอื่น หรือคนที่เราอยากจะเป็น

เพราะนั่นคือ การดูถูกตัวของเราเอง

จงเป็นสิ่งที่ตัวเราเป็นอยู่ ในแบบที่ดีที่สุด

 

ในแบบที่เราภูมิใจกับมันมากที่สุด”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา