บทที่ 14 การอบคืนตัว
14.1 การอบคืนตัวเบื้องต้น
เมื่อชิ้นงานเหล็กกล้าผ่านการชุบแข็งมาแล้ว จะเกิดความแข็ง แต่ก็เกิดความเปราะ และเกิดความเครียดภายในเนื้อเหล็กกล้า การนำไปใช้งานในบางประเภทจะยังไม่เหมาะสมตอนนี้ เพราะถ้าชิ้นงานถูกนำไปในใช้งานประเภทที่ต้องผ่านการกระแทกแรง ๆ เหล็กอาจเกิดการแตกร้าวได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับสภาพชิ้นงานนั้นเสียใหม่หลังการชุบแข็ง
วิธีที่ว่านั่นก็คือ การอบคืนตัว หรือการเทมเปอร์ริ่ง (Tempering) ซึ่งวิธีการนี้จะเพิ่มคุณสมบัติทางด้านความเหนียวขึ้น เหล็กกล้าจะมีอัตราการยืดตัวที่เพิ่มขึ้น จะสูญเสียความแข็งลงเล็กน้อย
รูปการอบคืนตัว
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
การอบคืนตัว คือการให้ความร้อนซ้ำให้แก่เหล็กกล้าโดยการจ่ายความร้อนให้แก่ชิ้นงานในเตาอบจนเกิดอุณหภูมิสูง แต่จะต่ำกว่าอุณหภูมิที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเหล็กกล้า ให้ความร้อนจนไปถึงช่วงเวลาหนึ่งจึงค่อย ๆ ลดอุณหภูมิลงมาจนมาถึงอุณหภูมิห้อง
รูปการอบคืนตัว
ก่อนหน้าที่จะนำเหล็กกล้ามาอบคืนตัว เหล็กกล้าจะผ่านการชุบแข็งมาก่อน จะเกิดความเค้นอย่างมากภายในเนื้อเหล็กกล้า มีค่าความแข็งที่สูงบางครั้งจนเกือบเปราะ เมื่อนำชิ้นงานมาทำการอบคืนตัว เหล็กกล้าที่ผ่านการชุบแข็งจะถูกให้ความร้อนซ้ำ (ดีที่สุดคือทำต่อเนื่องทันทีหลังจากการชุบแข็ง) ทำให้ความเค้นภายในลดลง ค่าความแข็งลดลงก็จะเกิดการผ่อนคลายในเนื้อเหล็กซึ่งจะเรียกว่าเกิด ความเค้นผ่อนคลาย (Stress relieving)
ระดับของอุณหภูมิเพื่อทำความร้อนซ้ำไม่ต้องให้สูงมากนัก อุณหภูมิที่ใช้กับเหล็กกล้ามักจะอยู่ที่ประมาณ 200 °C - 400 °C (400°F - 800 °F) แล้วเอาออกจากเตา ปล่อยให้เย็นในอากาศธรรมดาอุณหภูมิห้อง ทิ้งไว้ประมาณ 1 - 3 ชั่วโมง
การอบคืนตัวจะกระทำก็ต่อเมื่อเหล็กกล้าผ่านการชุบแข็งจนทำให้ความแข็งเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว กระบวนการนี้บางครั้งเราเรียกกว่า การย้อนคืน (Drawing) ซึ่งการอบคืนตัวนี้จะทำให้เหล็กกล้าเกิดการ ย้อนคืนกลับ (draw back) ของความแข็งในเหล็กกล้า
14.2 วัตถุประสงค์ของการอบคืนตัว
มีหลายคนคิดว่า การการอบคืนตัวจะสร้างความแข็งเพิ่มขึ้นให้กับเหล็กกล้า ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ความจริงก็คือ การการอบคืนตัวทำให้เหล็กกล้ามีความอ่อนขึ้นหลังจากผ่านการชุบแข็งไปแล้วต่างหาก
วัตถุประสงค์ของการทำการอบคืนตัวก็คือ การเพิ่มความอ่อน และลดความเค้นภายใน การอบคืนตัวช่วยลดความเปราะ และลดโอกาสที่จะเกิดการแตกร้าว และการบิดตัว แต่ก็นั่นแหละ ได้อย่างก็เสียอย่าง การอบคืนตัวก็ยังทำให้ความแข็ง และความแข็งแกร่งลดลงเช่นกัน
แต่จำนวนของความแข็ง และความแข็งแกร่งที่ลดลงเพียงเล็กน้อยซึ่งถือว่าไม่มากเกินไปสามารถยอมรับได้ โดยค่าของความแข็ง และความแข็งแกร่งของเหล็กกล้ายังคงมีค่าที่สูงพอที่จะชดเชยกันได้เมื่อเทียบกับการได้มาของคุณภาพเหล็กกล้าที่น่าพอใจ
ประโยชน์ที่ได้มาจากการอบคืนตัวของชิ้นงานในด้านการบรรเทาความเครียดและขจัดความเปราะของเหล็กกล้าที่ผ่านการชุบแข็งนั่นเอง เมื่อเทียบกับเหล็กกล้าที่ผ่านการชุบแข็ง กับเหล็กกล้าที่ชุบแข็งแล้วนำไปผ่านการอบคืนตัว ส่งผลทำให้เหล็กกล้ามีความอ่อนขึ้น เกรนในเนื้อเหล็กมีความทนทานและ ทนต่อแรงกระแทกได้มากกว่า อีกทั้งยังสามารถนำเหล็กกล้านี้ไปทำการกลึง กัด ไส และนำไปขึ้นรูปเย็นได้ง่ายกว่าอีกด้วย
14.3 ผลของการทำการอบคืนตัว
ผลของการอบคืนตัว เมื่อเทียบกับกระบวนการอบอ่อน และการอบปกติ ในการอบคืนตัว จะส่งผลให้เห็นในด้านคุณสมบัติของโลหะได้น้อยกว่าผลจากการทำอบอ่อน และการอบปกติ ส่วนในด้านความแข็งแกร่งจะมีการสูญเสียน้อย ซึ่งค่อนข้างคล้ายกับกระบวนการอบอ่อน เพียงแต่ใช้เวลาน้อยกว่า
การอบคืนตัว เป็นกระบวนการปรับสภาพทางความร้อนอย่างรวดเร็ว โดยที่ความเค้นภายใน และความเปราะยังคงเหลืออยู่ แต่มันก็เพียงพอที่จะเอาชิ้นงานนั้นไปใช้งาน ผลจากการอบคืนตัวจะแสดงให้เห็นในตารางที่ 14.1
ผลที่ได้จากการอบคืนตัว
|
คุณสมบัติของโลหะ
|
ผลที่เกิดขึ้น
|
การขึ้นรูป
|
ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น
|
การแตกร้าว
|
ลดลง
|
การบิดตัว
|
ลดลง
|
ความแข็ง
|
ลดลง
|
ความแข็งแกร่ง
|
ลดลง
|
ความเค้นภายใน
|
ลดลง
|
ความเปราะ
|
ลดลง
|
ความสามารถในการกลึง กัดไส
|
ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น
|
ความเหนียว
|
เพิ่มขึ้น
|
ความอ่อนนุ่ม
|
เพิ่มขึ้น
|
ตารางที่ 4.1 การอบคืนตัวที่เกิดในโลหะที่มีผลต่อคุณสมบัติของเหล็กกล้า
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
การศึกษาไทย ในมุมมองของจีน อ่านจบพูดไม่ออก ทำผมนี้อึ้งไปเลย
จันทร์ 3 พฤศจิกายน 2557
การศึกษาไทย ในมุมมองของจีนห่วยสุด ๆ ตั้งแต่ระดับมัธยม จนถึงระดับ มหาวิทยาลัย
1. สถานทูตจีน เขียนรายงาน (เป็นภาษาจีน) ระบุการศึกษาบ้านเรา เน้นแต่ด้าน ศิลปศาสตร์ นิติฯ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การตลาด บริหารธุรกิจ ซึ่งจบมาแล้ว ไม่มีงานทำ ความรู้กระจอก สักแต่ให้มีปริญญา ไม่ได้สร้าง value-added ใดๆ นักวิทยาศาสตร์ การวิจัย แทบจะเป็นศูนย์ Guanmu อดีตเอกอัครราชทูตจีน บอกว่า 25 ปีที่ผ่านมา ไทยผลิตยาง ยังไงก็ยังทำแบบนั้น ไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม ทำเป็นยางรถยนต์ หรือสิ่งประดิษฐ์ อะไรเองไม่เป็น สร้างคิดห่าเหวไรไม่ได้
2. มหาวิทยาลัยไทย รวมไปถึง ธรรมศาสตร์ จุฬาฯ กิจกรรมเน้นเต้น หลีดโชว์หล่อสวย แต่โง่ ไม่มีการฝึกงานอะไร ที่เป็นประโยชน์ ขอเงินพ่อแม่ เที่ยวกลางคืน เย่อกันไปวัน ๆ โชว์วัตถุนิยม ว่ารถกูขับรถไร สังคมมันวัดกันแค่นี้ (เห็นมากับตา) พวกดี ๆ ก็มีแต่มันน้อย เอาจริง ๆ นะ ผมว่ามีแค่ 10% ในขณะที่เด็กสหรัฐฯ พวก MIT Stanford หรือเด็กจีนชิงหัว ปิดเทอม พยายามหางานทำ ฝึกงาน UN, World Bank, JP Morgan หรือมาค่ายผู้ลี้ภัย ชาวโรฮิงญาในไทย
3. จ่ายครบจบแน่ ปริญญาขยะ เต็มบ้าน คือ หางานไรทำไม่ได้ มีแต่อยากจะรวย “ผมจะทำธุรกิจ” คือมันคิดไรไม่ออก นอกจากขายของ นอกจากนี้ ยังทุจริต ผันงบกระทรวงศึกษา ให้ทุนกู้ยืม มหาวิทยาลัยเอกชน ที่มีนักการเมือง เป็นเจ้าของ สุดท้ายหนี้สูญ เพราะเด็กบ้านนอก ได้มาเข้ากรุง สักว่าจบปริญญา ประดับบ้าน แต่มันหางานทำไม่ได้ ปีหนี่งหมดเงิน ภาษีประเทศชาติไปหลายหมื่นล้าน เรื่องเลว ๆ นี้ ไม่เคยถูกตรวจสอบ
4. ภาษาอังกฤษ ห่วยแตกขั้นเทพ จริงๆ อาจารย์จุฬา ฯ ส่วนใหญ่ ก็ลอกบทความฝรั่ง มาแปล ๆ ไม่มีความคิดอะไรใหม่ หาน้อยคน ที่จบระดับโลก ไปดู CV เอาเอง ได้จบมหาลัยห้องแถว B-class ทั้งนั้น งานวิจัยขยะ copy/paste เด็มไปหมด ครูมัธยม เอาแค่โรงเรียน ในกรุงเทพฯ ผมเคยถูกเชิญไปพูด ยังออกเสียง สะกดศัพท์ไม่ถูกเลย จะสอนเด็กให้ถูก อย่างไร แล้วโรงเรียน ใน อ.ปัว จังหวัดน่าน มันจะห่วยแตก ขนาดไหน
5. ความรู้ใหม่ๆ หรือเทคโนโลยี มันหมุนเวียน เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งคนไทยรู้แต่ ภาษาไทยตัวเอง ไม่มีความสามารถ แข่งขันอะไร ในระดับโลก โลกทรรศน์สุดจะแคบ สำนักข่าวไทย รายงานแต่เรื่องเส็งเคร็ง ไม่ได้สร้างคุณค่า ความรู้อะไร คนนั้นท้องกับคนนี้ ตำรวจตั้งด่านไถตังค์ ไปวัน ๆ ไปทำงานมา หลายประเทศ เช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ บอกได้เลย นักเรียนไทย โคตรจะขี้เกียจ ไม่รู้ปีหนึ่ง ๆ อ่านหนังสือกัน กี่เล่ม?
มีเงิน จ่ายครบ จบแน่ นี่คือความจริงอันน่าหดหู่ของประเทศไทย !
ที่มา: http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000131532&Keyword=%A8%D5%B9