บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,125
เมื่อวาน 1,008
สัปดาห์นี้ 5,721
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 33,956
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,378,453
  Your IP :18.116.37.228

ชิ้นตัวอย่างเปรียบเทียบกันอีกตัวอย่างคือ เหล็กกล้า 9261 (เหล็กกล้าผสมซิลิกอน แมงกานีส)

 

 

      ตัวอย่างที่ 13.3 สมมติให้ความร้อนแก่เหล็กกล้า 9261 ไปถึง 870 °C (1600 °F) จากนั้นก็นำไปชุบแข็งในน้ำอย่างรวดเร็วใช้เวลาชุบ 1 วินาที แนวเส้นเวลาแสดงในรูปด้านล่าง

 

รูปการชุบแข็งอย่างรวดเร็วในไอทีไดอะแกรมเหล็กกล้า 9261 ถูกแทนที่เป็นมาเทนไซต์ 100%  

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเกิดขึ้นในบริเวณมาเทนไซต์ เพราะฉะนั้น โครงสร้างเกิดใหม่จะเป็นมาเทนไซต์ 100% ค่าความแข็งจะอยู่ระหว่าง 57 Rc ถึง 65 Rc

 

 

ตัวอย่างที่ 13.4 มาสมมติกันต่อ นำชิ้นงานชิ้นที่สองซึ่งก็เป็นเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 9261 เช่นเดิม ให้ความร้อน 870 °C (1600 °F) และถูกทำให้เย็นลงไปที่อุณหภูมิ 316 °C (600 °F) ใช้เวลา 1 วินาที แล้วคงความร้อนที่อุณหภูมิ 316 °C (600 °F)  เป็นเวลา 20 วินาที ในเตาหลอม จากนั้นสุดท้าย นำมันไปชุบแข็งอย่างรวดเร็วในน้ำจาก 316 °C (600 °F) ไปสู่อุณหภูมิห้องในเวลา 1 วินาที

 

รูปกระบวนการทำความเย็นที่ยาวนานสำหรับเหล็กกล้าซิลิกอน 9261 ทั้งหมดเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในบริเวณมาเทนไซต์ และผลที่ได้สุดท้ายเป็น มาเทนไซต์ 100%

 

      เส้นเวลาสำหรับชิ้นงาน 9261 ในตัวอย่างที่สองสามารถนำมาพล็อตกราฟได้ดังรูปด้านบน การเปลี่ยนแปลงทั้งหมด เกิดขึ้นในบริเวณมาเทนไซต์ เพราะฉะนั้น ชิ้นงานที่สองจะมีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันเป็น มาเทนไซต์ 100% ค่าความแข็งจะอยู่ระหว่าง 57 Rc และ 65 Rc

 

ข้อน่าสังเกต จากชิ้นงานตัวอย่าง เหล็กกล้าเอไอเอสไอ 9261 ทั้งคู่กลายเป็นมาเทนไซต์ 100% และทั้งคู่มีความแข็งที่เหมือนกัน ถึงแม้ว่า ชิ้นงานที่สองจะใช้เวลาในการทำความเย็นมากกว่า แต่เกิดความแตกต่างของชิ้นงานเพียงเล็กน้อยนี้

 

        เทคนิคการทำความเย็นอย่างนี้เราเรียกว่า มาร์เทมเปอร์ริ่ง (Martempering)  กระบวนการนี้การออกแบบถึงความเค้นผ่อนคลาย และลดโอกาสที่จะเกิดการแตกร้าว และการบิดตัวของเหล็กกล้า มาร์เทมเปอร์ริ่งจะได้กล่าวอย่างละเอียดในบทต่อไป

 

 

 

ชิ้นตัวอย่างเปรียบเทียบกันอีกตัวอย่างคือ เหล็กกล้า 1095 (เหล็กกล้าคาร์บอนสูง)

 

รูปโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1095

 

รูปดาบซามูไร ใช้เหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1095

 

 

ตัวอย่างที่ 13.5 สมมติให้ตัวอย่างเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1095 ถูกให้ความร้อนไปถึง 870 °C (1600 °F) จากนั้นก็ทำให้เย็นไปถึงอุณหภูมิ 316 °C (600 °F) ใช้เวลาใน 2 วินาที แล้วคงที่อุณหภูมิ 316 °C (600 °F) ไว้ 1 ชั่วโมง สุดท้าย ก็นำไปชุบแข็งอย่างรวดเร็วใช้เวลาแค่ 1 วินาที จนกระทั่งไปสู่อุณหภูมิห้อง

 

รูปแผนภาพไอทีชิ้นงานตัวอย่างเหล็กกล้า 1095 แนวเส้นเวลาลากผ่านไปยังสองบริเวณที่มีแตกต่างกันของการเปลี่ยนแปลงก่อนที่มันจะทำการชุบแข็ง ผลที่ได้ประกอบไปด้วยเพิลไลต์ละเอียด และไบย์ไนต์

 

      ไอทีไดอะแกรมสำหรับตัวอย่างนี้ดูที่รูปด้านบน ในการเปลี่ยนแปลงนี้ เหล็กกล้าถูกลากข้ามผ่านปลายจมูกของเส้นโค้งตัวซีทางด้านซ้าย ซึ่งผลที่ได้ก่อให้เกิดรูปแบบเพิลไลต์ละเอียดประมาณ 10% ที่อยู่ระหว่างจุด E1 และ E2 เส้นเวลาได้ออกจากอาณาบริเวณของการเปลี่ยนแปลง และวกกลับเข้าไปใหม่จากอาณาบริเวณออสเตนไนต์

 

      แต่ถึงอย่างไรการเกิดขึ้นนี้ เพิลไลต์ละเอียดจะไม่เปลี่ยนแปลงกลับเป็นโครงสร้างออสเตนไนต์อีก เมื่อแนวเส้นเวลาถูกลากไปเรื่อย ๆ การเปลี่ยนแปลงก็ยังคงไม่เกิดขึ้นจนกระทั่ง เหล็กกล้าไปถึงจุด E3 (ที่อัตราส่วนการเปลี่ยนแปลง 10%) แล้วยังคงเกิดการเปลี่ยนจากอาณาบริเวณออสเตนไนต์ไปจนถึงอาณาบริเวณไบย์ไนต์

 

      ดังนั้นตัวอย่างของชิ้นงานที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นโครงสร้าง  เพิลไลต์ละเอียด 10% และไบย์ไนต์ 90%  ค่าความแข็งของชิ้นงานตัวอย่างนี้อยู่ระหว่าง 40 Rc ถึง 52 Rc

 

 

 

ตัวอย่างที่ 13.6 มาสมมติกันต่อ นำชิ้นงานชิ้นที่สองซึ่งก็เป็นเหล็กกล้า เอไอเอสไอ1095 เช่นเดิม ให้ความร้อนเหล็กกล้าไปถึง 870 °C (1600 °F) และชุบแข็งอย่างรวดเร็วไปที่ 538°C (1000 °F) ใช้เวลา 1 วินาที ต่อจากนั้นยังคงความร้อนไว้ที่อุณหภูมิ 538°C (1000 °F) อีกประมาณ 2 วินาที แล้วก็ทำการชุบแข็งไปสู่อุณหภูมิห้องใช้เวลา 1 วินาที

 

รูปแผนภาพไอทีนี้ ชิ้นงานตัวอย่างของ เหล็กกล้า 1095 เปลี่ยนแปลงไปยังเพิลไลต์ละเอียด และมาเทนไซต์

 

      เส้นเวลาสำหรับชิ้นงานตัวอย่างนี้แสดงในรูปด้านบน อาณาบริเวณที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นที่บริเวณเพิลไลต์ละเอียด และบริเวณมาเทนซิไซต์ ในบริเวณเพิลไลต์ละเอียด จากออสเตนไนต์ 50% เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เพิลไลต์ละเอียด ซึ่งเส้นเวลาของเหล็กกล้าไปถึงจุด F2 ซึ่งเส้นเวลาเคลื่อนที่จากจุด F2 ไปถึงจุด F3 ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น เพราะว่าเส้นเวลาไม่ได้กลับเข้าไปในเส้นโค้งตัวซีด้านซ้าย แต่ยังอยู่ในอาณาบริเวณออสเตนไนต์

 

      การเปลี่ยนแปลงจะเกิดเพิ่มขึ้น เมื่อเส้นเวลาลากไปถึงที่จุด F3 ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกครั้ง ดังนั้น โครงสร้างสุดท้ายคือ โครงสร้างเพิลไลต์ละเอียด 50% และมาเทนไซต์ 50% อย่างละครึ่ง ค่าความเข็งอยู่ที่ประมาณ 41 Rc และ 63 Rc

 

 

 

ชิ้นตัวอย่างเปรียบเทียบกันอีกตัวอย่างคือ เหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1566

 

ตัวอย่างที่ 13.7  เหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1566 ถูกให้ความร้อนไปถึง 870 °C (1600 °F)  จากนั้นก็ทำให้ลงไปที่ 510 °C (590 °F) ใช้เวลา 8 วินาที จากนั้นก็ลดอุณหภูมิทำให้เย็นไปถึง 316 °C (600 °F) ใช้เวลาต่อไปอีก 12 วินาที (โดยรวมใช้เวลาไป 20 วินาที) แล้วคงอุณหภูมิไว้ที่ 316 °C (600 °F) อีก 7 นาที หลังจากนั้นก็นำไปชุบแข็งอย่างรวดเร็วในน้ำ จนถึงอุณหภูมิห้อง

 

รูปแผนภาพไอทีไดชิ้นงานตัวอย่างเหล็กกล้า 1566 ตัวอย่างนี้เปลี่ยนแปลงไปที่ชิ้นงานสุดท้ายของเพิลไลต์ละเอียด, ไบย์ไนต์  และมาเทนไซต์

 

      แนวเส้นเวลาของชิ้นงานตัวอย่างนี้ เขียนให้เห็นในรูปด้านบน การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นระหว่าง G1 และ G2 ในบริเวณอาณาบริเวณเพิลไลต์ละเอียด จากนั้นก็ระหว่างจุด G3 และ G4 ในอาณาบริเวณไบย์ไนต์ และจุดสุดท้ายอยู่ระหว่าง G5 และ G6 ในอาณาบริเวณมาเทนไซต์

 

ดังนั้น โครงสร้างสุดท้ายคือ เพิลไลต์ละเอียด 50%, ไบย์ไนต์ 20%  และมาเทนไซต์ 30%

 

      เพิลไลต์ละเอียด 50% จะไม่เปลี่ยนกลับไปที่ออสเตนไนต์ ถึงแม้ว่าเส้นเวลาจะเคลื่อนที่ออกไปสู่อาณาบริเวณออสเตนไนต์หลังจากมันไปถึงจุด G2 

 

ข้อสังเกตการเปลี่ยนแปลงไปสู่โครงสร้างมาเทนไซต์ จะยังไม่เริ่มต้นจนกว่าแนวเส้นเวลาถูกลากไปถึงจุด G5 แต่โครงสร้าง 70% ของเหล็กกล้า มีการเปลี่ยนแปลงไปเรียบร้อยแล้ว

 

จบบทที่ 13  

ครั้งหน้าพบกับบทที่ 14 การอบคืนตัว หรือเทมเปอร์ริ่ง (Tempering)

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

“ตัวเรายังไม่ได้ดั่งใจเรา แล้วคนอื่นจะเป็นได้อย่างไร”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา