บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 342
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 7,620
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 48,820
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,393,317
  Your IP :3.142.196.27

13.10 การคิดค่าความแข็งโดยดูจากแผนภาพ

 

      ค่าความแข็งสำหรับโครงสร้างที่ต่างกันของเหล็กกล้า สามารถคำนวณได้โดยการใช้สเกลค่าความแข็งทางด้านขวาของแผนภาพไอทีอุตสาหกรรม โดยปกติค่าความแข็งที่ใช้วัดในแผนภาพจะเป็นค่าความแข็งแบบสเกลร็อคเวลซี  ดูที่รูป

 

รูปแผนภาพไอทีอุตสาหรรม เหล็กกล้าเอไอเอสไอ 52100

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้าเอไอเอสไอ 52100

 

รูปตัวอย่างการนำไปใช้งาน

 

ค่าที่ใช้อ่านอยู่ในแนวเส้นตั้งทางด้านขวาของแผนภาพ ประกอบติดกันกับเส้นอุณหภูมิ-เวลา ที่มีการลากเส้นกราฟเปลี่ยนแปลงตามการชุบแข็งของเหล็กกล้า

 

      ในการกำหนดค่าความแข็งให้เป็นไปตามต้องการโดยทั่วไปไม่สามารถคำนวณได้แน่นอน แต่สามารถประมาณการของช่วงค่าความแข็งได้

 

      โดยระบุค่าของความแข็งระหว่างช่วงค่าความแข็งต่ำสุด และค่าความแข็งสูงสุด ค่าของความแข็งถ้าดูจากแผนภาพแล้วจะเห็นว่าด้านบนจะเป็นค่าความแข็งที่ต่ำ (อยู่ในสภาพอุณหภูมิสูง) เมื่อทำให้เหล็กเย็นตัวค่าความแข็งมันจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น

 

      การอ่านค่าความแข็งก็คืออ่านจากแนวเส้นเวลาที่ลากไปถึงเส้นโค้งซีจากเส้นกราฟทางด้านซ้ายลากผ่านเส้นโค้งซีทางด้านขวา นี่คือช่วงของการอ่านค่าความแข็ง แต่ถ้าแนวเส้นเวลาลากไม่ผ่านเส้นโค้งซี ก็จะคิดค่าความแข็งเมื่อเข้าสู่บริเวณมาเทนไซต์ 

 

      ยกตัวอย่างการอ่านช่วงค่าความเข็งในเหล็กกล้าเอไอเอสไอ 52100

 

รูปแผนภาพไอทีอุตสาหกรรมที่มีแนวเส้นเวลาดูค่าความแข็งของเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 52100

 

จะเห็นว่า

แนวเส้นเวลา A ค่าของความแข็งอยู่ระหว่าง 18 Rc ถึง 28 Rc 

 

แนวเส้นเวลา B ค่าของความแข็งอยู่ระหว่าง 28 Rc ถึง 53 Rc

 

แนวเส้นเวลา C ค่าของความแข็งอยู่ระหว่าง 32 Rc ถึง 66 Rc

 

แนวเส้นเวลา D ค่าของความแข็งอยู่ระหว่าง 58 Rc ถึง 66 Rc

 

 

 

13.11 การพล็อตแผนภาพไอที

 

      นักโลหะวิทยา และองค์กรที่มีหน้าที่ผลิตเหล็กกล้า ได้สร้างแผนภาพไอทีขึ้นมา โดยใช้ข้อมูลจากพฤติกรรมหลาย ๆ อย่างของกลุ่มทดสอบที่ได้จากการชุบแข็งในเหล็กกล้า โดยมีการพล็อตเก็บเอาไว้อย่างมากมาย มีการใช้ชิ้นงานทดสอบที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 มิลลิเมตร (1²) หรือชิ้นงานที่มีความหนาประมาณ 2 มิลลิเมตร (1/16²)

 

      ในแต่ละชิ้นงานตัวอย่างจะถูกให้ความร้อนเกิน แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง แล้วจากนั้นก็นำไปทำการชุบแข็ง ซึ่งวิธีการทำความเย็นชุบแข็งจะมีวิธีการที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละชิ้นงานตัวอย่าง

 

      ในส่วนที่แสดงให้เห็นถึงแนวเส้นเวลาที่เป็นอุณหภูมิคงที่ จากชิ้นงานตัวอย่างจะทำการคงความร้อนเอาไว้ในระหว่างการชุบแข็ง อาทิเช่น ชิ้นงานตัวอย่างชิ้นหนึ่งอาจคงความร้อนไว้ เพื่อให้อุณหภูมิคงที่โดยให้ความร้อนแช่ไว้ที่อุณหภูมิ 260 °C (500 °F), 427 °C (800 °F) หรือ 538 °C (1000 °F)

 

      หลังจากนั้นชิ้นงานตัวอย่างที่ถูกให้ความร้อนก็ถูกนำออกจากเตา จากนั้นก็ไปทำการชุบแข็ง แล้วทำการทดสอบเพื่อหาค่าความแข็ง จากข้อมูลชิ้นงานตัวอย่างเหล่านี้ ก็นำไปสู่การพล็อตกราฟรูปร่างจริงของเส้นโค้งตัวซี นำข้อมูลมาใช้พล็อตเป็นแผนภาพ แล้วก็นำมาเทียบกับการคำนวณ ก็จะเหมือน หรือใกล้เคียงกันในการคำนวณหาค่าความแข็งสำหรับสเกลความแข็งในแผนภาพ

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ถึงจะรู้ร้อยเรื่องพันเรื่อง ก็ไม่สู้รู้เรื่องดับทุกข์
ถึงจะทำได้ร้อยอย่าง พันอย่าง ก็ไม่สู้ทำใจ....”

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา