บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 822
เมื่อวาน 4,800
สัปดาห์นี้ 12,900
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 54,100
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,398,597
  Your IP :3.137.172.68

13.8 แผนภาพไอทีทางอุตสาหกรรม

 

      แผนภาพไอทีทางอุตสาหกรรม (Industrial I-T diagram) คล้ายกันกับแผนภาพไอทีพื้นฐานที่ได้อธิบายไว้แล้วในตอนต้น แต่ต่างกันตรงที่การลงข้อมูลรายละเอียดในแผนภาพเกี่ยวกับเหล็กกล้า ดูที่รูป

 

 

รูปแผนภาพไอทีอุตสาหกรรมของเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1095

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

แผนภาพไอทีอุตสาหกรรมจะมีสเกลเปรียบเทียบค่าความแข็งสำหรับเหล็กกล้าที่อยู่ในอาณาบริเวณต่างกัน ซึ่งจะอยู่ทางด้านขวาของแผนภาพ ส่วนค่าความแข็งที่ใช้อ่านทางด้านขวาจะได้อธิบายถึงรายละเอียดในหัวข้อท้าย ๆ ของบทนี้

 

      นอกจากนี้แผนภาพไอทีอุตสาหกรรมบางแผนภาพจะมีโค้งที่สาม ก็เพื่อใช้แยกความแตกต่างระหว่างเพิลไลต์หยาบ และเฟอร์ไรต์หยาบ ดูที่รูป

 

 

รูปแผนภาพไอทีอุตสาหกรรมของเหล็กกล้า 4140 มีโค้งที่สามที่แบ่งแยกเพิลไลต์หยาบออกจากเฟอร์ไรต์หยาบ

 

ส่วนบริเวณการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ในแผนภาพไอทียังคงมีความคล้ายคลึงกัน การนำแผนภาพไปอ่านก็จะเริ่มต้นจากบริเวณโครงสร้างออสเตนไนต์แล้วเปลี่ยนแปลงไปเป็นโครงสร้างอื่น ๆ

 

ตัวอย่างแผนภาพไอทีอุตสาหกรรมในเหล็กที่มีส่วนผสมต่าง ๆ ด้านล่าง     

 

 

รูปแผนภาพไอทีอุตสาหรรม เหล็กกล้าเอไอเอสไอ 52100

 

รูปแผนภาพไอทีอุตสาหกรรม

 

 

รูปแผนภาพไอที 52100

 

 

รูปแผนภาพไอทีอุตสาหกรรม เหล็กกล้าเอไอเอสไอ 5160

 

 

 

13.9 การเปรียบเทียบแผนภาพไอทีอุตสาหกรรม

 

      ซึ่งเป็นกรณีเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างแผนภาพไอทีอุตสาหกรรมกับแผนภาพไอทีอื่น ๆ จากรูป

 

รูปแผนภาพไอทีไดอะแกรม 1095

 

รูปแผนภาพไอทีอุตสาหกรรมของเหล็กกล้า 4140 มีโค้งที่สามที่แบ่งแยกเพิลไลต์หยาบออกจากเฟอร์ไรต์หยาบ

 

ในแผนภาพไอทีที่เป็นเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1095 แสดงให้เห็นถึงปลายจมูกของเส้นโค้งตัวซี ที่โค้งวิ่งเข้าสู่บริเวณออสเตนไนต์ และเข้าใกล้แกนที่บอกอุณหภูมิ (แกน y) มากกว่าปลายจมูกในแผนภาพไอทีที่เป็นเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 4140

 

      จากความแตกต่างของรูปทั้งสองนี้หมายความว่า เหล็กกล้า 1095 สามารถทำการชุบแข็งไปเป็นโครงสร้างมาเทนไซต์ได้เร็วมากกว่า เหล็กกล้า 4140 ซึ่งเหล็กกล้าที่มีการผสมเจือธาตุหลายชนิด ส่งผลให้การชุบแข็งของเหล็กกล้า 4140 ไปสู่โครงสร้างมาเทนไซต์เกิดช้ากว่าเหล็กกล้า 1095

 

 

รูปแผนภาพไอทีอุตสาหกรรม ของเหล็กกล้า 1060 จากแผนภาพแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นมาเทนไซต์ได้ 100%

 

      เมื่อนำเหล็กกล้า 1060 ผ่านการชุบแข็งตามกราฟด้านบน จะไม่มีทางที่ได้เป็นมาเทนไซต์ 100% เพราะว่าในกราฟแผนภาพไม่มีช่องว่างเกิดขึ้นอยู่ระหว่างจมูกของเส้นโค้ง กับแกน y (อุณหภูมิ) ของแผนภาพ ดังนั้น จึงไม่มีเหตุการณ์ที่จะเป็นการชุบแข็งไปเป็นมาเทนไซต์ได้ 100% ทำให้ไม่สามารถใช้ได้กับ เหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1060

 

 

รูปแผนภาพไอทีอุตสาหกรรม ของเหล็กกล้าซิลิกอน 9261

 

      รูปร่างเส้นโค้งตัวซี ของเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 9261 จากกราฟแผนภาพด้านบน ลองพิจารณาความเปลี่ยนไปของเส้นโค้งเมื่อเทียบกับเหล็กกล้าประเภทอื่น ๆ บริเวณเส้นโค้งการเปลี่ยนแปลงในแผนภาพไอที ของเหล็กกล้าจะกินพื้นที่ในกราฟมากกว่าแบบอื่น กราฟในแบบนี้ของเหล็กกล้าผสมมักจะส่งผลถึงความแตกต่างที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของเหล็กกล้า

 

      แผนภาพไอทีอุตสาหกรรม ช่วยให้สามารถตัดสินใจที่จะเลือกใช้ชนิดของเหล็กกล้าสำหรับนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดในแต่ละชิ้นส่วนเครื่องกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการใช้งานเหล็กกล้าที่เป็นโครงสร้างมาเทนไซต์

 

รูปแผนภาพไอทีไดอะแกรม 1095

 

รูปแผนภาพไอทีอุตสาหกรรมของเหล็กกล้า 4140 มีโค้งที่สามที่แบ่งแยกเพิลไลต์หยาบออกจากเฟอร์ไรต์หยาบ

 (รูปซ้ำกับข้างบน)

 

      ยกตัวอย่าง ลองเปรียบเทียบเหล็กกล้าที่กล่าวมาแล้วข้างบนคือ เหล็กกล้า 1095 และ4140 โดยเทียบดูจากแผนภาพไอทีที่โค้งตัวซีทางด้านซ้าย ว่าอันไหนไกลจากแกนอุณหภูมิกว่ากัน เมื่อเทียบรูปกันแล้วจะพบว่าเหล็กกล้า 4140 มีระยะเส้นโค้งซีไกลกว่า เหล็กกล้า 1095 ทำให้เหล็กกล้า 4140 เวลาที่ใช้ชุบแข็งต้องใช้เวลานานกว่า แต่คุณภาพของเหล็กกล้าจะดีกว่าเพราะธาตุที่นำมาผสมเข้าไป

 

      เหล็กกล้าที่มีส่วนผสมของธาตุต่าง ๆ มาก ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างโค้งซี ถึงขอบด้านซ้ายมีมาก เรียกระยะช่องว่างตรงนี้ว่า ห้องพักหายใจ (Breathing room)

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ไม่มีใครฉลาด โดยปราศจากการได้รู้จักความโง่เขลามาก่อน

Nobody has Wisdom if he does not know the Dark.
                                                                                     H.Hesse
 

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา