บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,111
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 8,341
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 36,576
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,073
  Your IP :3.143.17.128

13.3 เส้นอุณหภูมิ-เวลา

 

 

รูปแผนภาพไอที

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      เส้นอุณหภูมิ-เวลา (Temperature-time line) (เรียกเส้นเวลา (Timeline)) ที่แสดงในแผนภาพด้านบน ไอ-ที แนวเส้นไปตามทางของอุณหภูมิของเหล็กกล้าหลังจากเริ่มการชุบแข็ง เส้นนี้แสดงความก้าวหน้าของแต่ละช่วงของการชุบแข็ง

 

      อันดับแรกเหล็กกล้าถูกให้ความร้อนเหนือแนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง ถึง 927 °C (1700°F) ณ จุด A สถานะนี้มีความพร้อมสำหรับการชุบแข็งแล้ว เมื่อทำการชุบแข็งอุณหภูมิจะลดลงจากจุด A ไปจนถึง 370 °C (700°F) ที่เป็นจุด B ใช้เวลา 10 วินาที เมื่อเหล็กกล้าไปถึงจุด B ทำการคงความร้อนเพื่อให้อุณหภูมิคงที่

 

      แช่เหล็กกล้าไว้ที่ความร้อนอุณหภูมิ 370 °C เป็นเวลา 90 วินาที จนกระทั่งมันเคลื่อนไปถึงจุด C จนในที่สุดก็ ถูกทำความเย็นอย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิห้องที่จุด D

 

รูปการเปรียบเทียบการชุบแข็งอย่างรวดเร็ว กับการทำความเย็นอย่างช้า ๆ

 

      ในรูปกราฟ จะเป็นการเปรียบเทียบการชุบแข็งอย่างเร็ว กับการทำความเย็นอย่างช้า ๆ แสดงเส้นร่วมกัน เส้นวี1 (V1) แสดงถึงเหล็กกล้าที่มีการชุบแข็งอย่างรวดเร็ว มันสามารถไปถึงอุณหภูมิห้องได้ภายใน 2 วินาที ส่วนอีกสองเส้นที่เหลือวี 2 และวี 3 (V2 &V3) แสดงให้เห็นเหล็กกล้ามีการทำความเย็นช้ามาก ๆ บางครั้งใช้เวลาถึง 10,000 วินาที (เกือบ 3 ชั่วโมง) ก่อนที่มันจะไปถึงอุณหภูมิห้อง

 

 

รูปแผนภาพไอที

 

วิดีโอนำเสนอแผนภาพไอที

 

      จากการเปรียบเทียบวิธีการทำความเย็นทั้งสองวิธี โดยแนวเส้นวี1  จะเปลี่ยนโครงสร้างทำให้เหล็กมีความแข็ง และความแข็งแกร่ง (โครงสร้างเป็นมาเทนไซต์) ส่วนแนวเส้นวี2 และวี3 จะเกิดขึ้นอย่างช้ากว่ามาก โดยจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างไปอย่างช้า ๆ จะกลายไปเป็นเฟอร์ไรต์, เพิลไลต์ หรือซีเมนต์ไต

 

 

 

13.4 ข้อจำกัดของแผนภาพไอที

 

      ข้อดีที่เป็นจุดเด่นของแผนภาพไอที ที่มีความเหนือกว่าเฟสไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอน ก็คือแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเหล็กกล้าที่อ้างอิงไปกับเวลา แต่ถึงอย่างไร ในการใช้งานก็มีขีดจำกัด โดยแผนภาพไอทีไม่ได้แสดงเปอร์เซ็นต์ของคาร์บอนในเนื้อเหล็กกล้า

 

      ด้วยเหตุผลนี้ ไดอะแกรมไอทีต้องคอยเปลี่ยนแปลงเปอร์เซ็นต์คาร์บอนใหม่ตลอดเวลา แต่ในการทำงานจริง แผนภาพไอทีมีความจำเป็นที่จะต้องพล็อตกราฟในเหล็กกล้าทุก ๆ ประเภท จะได้ทราบเปอร์เซ็นต์ของคาร์บอน เพื่อให้เห็นความแตกต่างกัน

 

 

 

13.5 การใช้งานแผนภาพไอที

 

      แผนภาพไอที จะช่วยในการคำนวณโครงสร้างเหล็กกล้าได้อย่างไร จะได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำให้เหล็กกล้าเย็นตัวลงในรูปแบบต่าง ๆ ที่ความแตกต่างกัน โดยองค์ประกอบของแผนภาพไอทีอย่างง่ายดูที่รูป

 

 

แผนภาพไอทีที่ดูง่าย เหล็กกล้าสามารถผ่านความเปลี่ยนแปลงเฟสที่แตกต่างมันเป็นความเย็นจากแนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง  

 

      โค้งรูปตัวซีทางด้านซ้ายชี้ให้เห็นถึงการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเริ่มจากโครงสร้างออสเตนไนต์ เพราะฉะนั้น เมื่อเส้นอุณหภูมิ-เวลาที่ด้านซ้ายเส้นโค้งตัวซี เหล็กกล้าจะมีสภาพเป็นออสเตนไนต์ 100% และยังคงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จนเมื่อเหล็กกล้าเริ่มเย็นตัว และข้ามผ่านเส้นโค้งตัวซีไปทางขวาทั้งคู่ก็จะเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง (บางส่วนยังเป็นออสเตนไนต์อยู่)

 

      บริเวณระหว่างเส้นโค้งซีฝั่งซ้าย และเส้นโค้งซีฝั่งขวา เป็นบริเวณเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งโครงสร้างจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น โดยทั้งหมดเริ่มจากโครงสร้างออสเตนไนต์จะเปลี่ยนไปเป็นโครงสร้างอื่น เช่น เพิลไลต์ หรือมาเทนไซต์

 

 

รูปตัวอย่างแผนภาพไอที

 

      แนวจุดเส้นประในระหว่างเส้นโค้งตัวซี เป็น เส้นที่เกิดการเปลี่ยนแปลง 50%  (50% transformation line) เมื่อกราฟเส้นอุณหภูมิ-เวลา ลากไปยังเส้นประ จะเกิดออสเตนไนต์ 50% และโครงสร้างอื่น 50% ตัวอย่างในรูปด้านบน เหล็กกล้าที่จุด จะเป็นออสเตนไนต์ 100% เมื่อไปถึงจุด จะประกอบไปด้วย ออสเตนไนต์ 50% และเพิลไลต์ 50% ที่จุด จะเกิดเป็นโครงสร้างเพิลไลต์ 100% ไม่มีออสเตนไนต์เหลืออยู่

 

 

 

13.6 อาณาบริเวณในแผนภาพไอที

 

      มีอาณาเขตบริเวณมากมายที่เกิดขึ้นภายในแผนภาพไอที ในบริเวณออสเตนไนต์ (A) เป็นพื้นที่ที่อยู่ทางด้านซ้ายของบริเวณการเปลี่ยนแปลง เหล็กกล้าที่เกิดขึ้นในบริเวณออสเตนไนต์จะเป็น ออสเตนไนต์ 100% บริเวณต่าง ๆ ที่ถูกแบ่ง จะมี 4 บริเวณ ซึ่งบริเวณเหล่านี้จะมีความแตกต่างในแต่ละโครงสร้างของเหล็กกล้า ซึ่งทั้งหมดที่เปลี่ยนแปลงเริ่มต้นมาจากโครงสร้างออสเตนไนต์ ดูที่รูป

 

รูปอาณาบริเวณในแผนภาพไอที

 

 

รูปโครงสร้างเหล็กกล้าในบริเวณต่าง ๆ a) โครงสร้างเพิลไลต์ ณ อุณหภูมิ 720° C; b) โครงสร้างไบย์ไนต์ ณ อุณหภูมิ 290° C; c) โครงสร้างไบย์ไนต์ ณ อุณหภูมิ 180° C; d) โครงสร้างมาเทนไซต์

 

 

อาณาบริเวณทั้งสี่ได้แก่

  • บริเวณเพิลไลต์หยาบ (Coarse pearlite region)

 

  • บริเวณเพิลไลต์ละเอียด (Fine pearlite region)

 

  • บริเวณไบย์ไนต์ (Bainite region)

 

  • บริเวณมาเทนไซต์ (Martensitic region)

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“จงผอมโซอย่างราชสีห์

ดีกว่าอ้วนพีเหมือนสุนัข”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา