บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 3,744
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 11,022
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 52,222
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,396,719
  Your IP :3.141.31.209

10.1.5 โครงสร้างมาเทนไซต์

 

      มาเทนไซต์มีความแตกต่างจากภาพจุลภาคในโครงสร้างอื่นที่ปรากฏขึ้น มันมีลักษณะคล้ายกับเข็ม โดยดูได้จากภาพโครงสร้างมาเทนไซต์ดูจากกล้องจุลทรรศน์ ดูที่รูป

  

 

รูปโครงสร้างมาเทนไซต์ อัตราขยาย 700 เท่า

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

การมองเหล่านั้นคล้ายกับเข็ม จะมองคล้ายกับเข็มขนาดใหญ่ เมื่อเพิ่มกำลังขยาย เลนส์ของกล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นภาพรูปเข็มได้ชัดขึ้น

 

 

 

10.1.6 โครงสร้างออสเตนไนต์

 

      เมื่อเหล็กกล้าเข้าสู่โครงสร้างออสเตนไนต์ และถูกทำให้เป็นโครงสร้างมาเทนไซต์เราจะสังเกตเห็นขนาดเม็ดเกรน และขอบเขตเกรนได้ง่าย แต่ถ้ามันยังอยู่ในโครงสร้างออสเตนไนต์ล่ะ? อาจเกิดความแปลกใจว่า โครงสร้างออสเตนไนต์ของเหล็กกล้าเป็นรูปร่างเช่นไร เพราะเหล็กออสเตนไนต์ยังอยู่ในสถานะที่ร้อนแดง (ประมาณ 930 °C (1700°F)) จนไม่สามารถนำไปส่องดูที่กล้องจุลทรรศน์ได้

 

      แต่ก็สามารถติดตามดูโครงสร้างได้ที่อุณหภูมิห้องได้เช่นกันโดยการเพิ่มธาตุผสมพิเศษที่เหล็กกล้า แล้วใช้เทคนิคในการปรับสภาพความร้อนเช่นเดียวกับที่ใช้ในการผลิตเหล็กคาร์ไบน์ ที่เรียกว่า การเสริมแต่ง (Decorate) ซึ่งทำให้ชั้นขอบเกรนในโครงสร้างออสเตนไนต์มองเห็นได้ชัด

 

      รูปภาพทางจุลภาคของออสเตนไนติก เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) ดูได้ในรูป

 

 

รูปเหล็กกล้าไร้สนิม 303 โครงสร้างออสเตนไนต์ กำลังขยาย 100 เท่า

 

โครงสร้างคล้ายกับถนนคอนกรีตที่มีการแตกเป็นแผ่น ๆ ความเป็นแผ่นเหล่านี้ จะเห็นน้อยกว่าที่เห็นในโครงสร้างเฟอร์ไรต์ และขอบเกรนของเฟอร์ไรต์มีลักษณะขอบที่มนกลม และมีความต่อเนื่องในความโค้งกว่าโครงสร้างออสเตนไนต์

 

ส่วนขอบเกรนของโครงสร้างออสเตนไนต์ จะปรากฏเป็นแนวตรง และชันมากกว่า ถึงแม้ว่าโครงสร้างจุลภาคของเฟอร์ไรต์ และออสเตนไนต์จะดูคล้ายคลึงกัน แต่พฤติกรรมทางกายภาพของโครงสร้างทั้งสอง มีความแตกต่างกันอย่างมาก

 

 

รูปโครงสร้างทางจุลภาคออสเตนไนต์

 

 

 

10.1.7 โครงสร้างผสม

 

      หลายครั้งในโลหะวิทยา เหล็กกล้าที่ผ่านการปรับสภาพทางความร้อนอาจมีการผสมผสานกันของโครงสร้าง ดังตัวอย่างหนึ่งที่แสดงในรูป

 

 

รูปโครงสร้างมาเทนไซต์ กับไบย์ไนต์

 

 

รูปโครงสร้างมาเทนไซต์ ไบย์ไนต์ และเฟอรไรต์

 

 

สามารถสังเกตโครงสร้างต่าง ๆ ได้ดังนี้

 

Ø  พื้นที่สีขาวเป็นเฟอร์ไรต์

 

 

Ø  พื้นที่สีเทาอ่อนเป็นมาเทนไซต์

 

 

Ø  ชั้นที่ถูกแบ่งบาง ๆ เป็นเพิลไลต์

 

 

Ø  ส่วนที่ดำมากที่สุดเป็นไบย์ไนต์

 

 

 

ส่วนโครงสร้างผสมเหล่านี้จะกล่าวถึงรายละเอียด ในบทที่ 13

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

“การสะกิดคุ้ยเขี่ย ความผิดพลาดของผู้อื่น, ปมด้อยของผู้อื่น

                     มีแต่จะทำให้เขาเสียใจ และอาจทำให้เสียมิตร
                                                   ส่วนเรา.... ไม่ได้อะไรเลย”

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา