บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,849
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 10,508
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 38,743
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,383,240
  Your IP :3.143.0.157

บทที่ 10 การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค

 

 

      ถ้าเราสามารถมองดูเหล็กกล้าได้ใกล้จนภาพมันขยายมีความชัดเจนมากขึ้น เราจะพบความแตกต่างอย่างมากมาย เมื่อผ่านการมองเนื้อเหล็กกล้า การมองให้เห็นภาพที่ใหญ่ขึ้นของเนื้อเหล็ก เราสามารถมองผ่านอุปกรณ์ช่วยมองชนิดหนึ่งที่เรียกว่า  กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) ดูได้ที่รูปด้านล่าง

 

 

 

รูปกล้องจุลทรรศน์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

 

รูปการใช้งานกล้องจุลทรรศน์

 

 

ซึ่งสามารถมองเห็นภาพที่มีขนาดเล็กมากให้มองได้ใหญ่ชัดเจนขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างภาพจากการมองด้วยกล้องจุลทรรศน์ เราเรียกภาพเหล่านั้นว่า ภาพจุลภาค (Photomicrography)

 

 

ภาพจุลภาคของโลหะ

 

      กล้องจุลทรรศน์มีหลายชนิด หลายรูปแบบ แล้วก็มีอุปกรณ์พ่วงต่อ เพื่อช่วยในการทำงานในการที่แสดงโครงสร้างของโลหะ

 

 

รูปบางครั้งอาจมีอุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยให้ใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

 

 

รูปกล้องจุลทรรศน์ที่มีอุปกรณ์เสริม

 

 

เมื่อนำมาส่องดูโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้ามีอัตราขยาย 500เท่า (500X) จะแสดงให้เห็นได้ในรูป

 

 

รูปจุลภาคของโครงสร้างมาเทนไซต์ และเบย์ไนต์(Bainite) ในเหล็กกล้า AISI/SAE 1095

 

 

 

 

10.1 รูปโครงสร้างทางจุลภาค

 

รูปโครงสร้างของเฟอร์ไรต์, เพิลไรต์, ซีเมนไต, มาเทนไซต์ และออสเตนไนต์ เมื่อมองดูผ่านกล้องจุลทรรศน์จะมีความแตกต่างกันมาก แต่ละรูปแบบโครงสร้างสังเกตได้ดังนี้

 

 

v รูปโครงสร้างเฟอร์ไรต์ คล้ายแผ่นปะที่มาต่อกัน

 

 

v รูปโครงสร้างเพิลไลต์ คล้ายแนวสันที่ต่อเนื่องกัน

 

 

v รูปโครงสร้างซีเมนไต เหมือนกับถนนในเมืองสีขาว

 

 

v รูปโครงสร้างมาเทนไซต์ มีรูปลักษณะของเข็ม

 

 

v รูปโครงสร้างออสเตนไนต์ คล้ายกับการแตกของแผ่นคอนกรีต

 

 

ในรูปโครงสร้างของแต่ละประเภท จะได้อธิบายในหัวข้อต่อไป

 

 

 

10.1.1 รูปโครงสร้างเฟอร์ไรต์

 

       เฟอร์ไรต์แสดงให้เห็นสีขาวเมื่อดูผ่านกล้องจุลทรรศน์ รูปด้านล่าง ส่วนหนึ่งสีดำขนาดเล็กเป็นส่วนของโครงสร้างเพิลไลต์ ที่บรรจุอยู่ในบางส่วนของคาร์บอน ถ้าปรากฏเพียงแต่เฟอไรต์ ในโครงสร้าง โครงสร้างทางจุลภาคคงจะเป็นของแข็งสีขาว

 

 

รูปโครงสร้างจุลภาคของเฟอร์ไรต์

 

 

รูปโครงสร้างจุลภาคเหล็กกล้ารูปแบบเฟอร์ไรต์

 

 

 

10.1.2 รูปโครงสร้างเพิลไลต์

 

      โครงสร้างเพิลไลต์ (คาร์บอน 0.8%) อยู่ระหว่างโครงสร้างเฟอร์ไรต์ และซีเมนต์ไต ได้อธิบายในบทที่ 9 แล้ว ในโครงสร้างทางโลหะวิทยา มีแนวสันของเพิลลิติก เส้นดำเป็นซีเมนต์ไต ส่วนแนวสันสีเทาอ่อนเป็นเฟอร์ไรต์

 

 

รูปโครงสร้างจุลภาคของเพิลไลต์

 

 

รูปโครงสร้างจุลภาคเหล็กกล้ารูปแบบเพิลไลต์

 

 

รูปโครงสร้างเพิลไลต์

 

 

 

10.1.3 โครงสร้างเฟอร์ไรต์-เพิลไลต์

 

 

 

รูปโครงสร้างจุลภาคเหล็กกล้ารูปแบบเฟอร์ไรต์ และเพิลไลต์ผสมกัน

 

 

      ส่วนประกอบของเฟอร์ไรต์ และเพิลไลต์ ในตัวเหล็กกล้า มีรูปแบบที่โดดเด่นอย่างมาก เฟอร์ไรต์จะปรากฏเป็นสีขาว ส่วนเพิลไลต์จะปรากฏเป็นสีดำหรือเป็นชั้นบาง ๆ ผลรวมของเพิลไลต์แสดงให้เห็นสัดส่วนตามคาร์บอนที่ผสมอยู่ในเหล็กกล้า เมื่อทำการเติมคาร์บอนเพิ่มขึ้น โครงสร้างเพิลไลต์โดยรวมก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

      ลองทำการเปรียบเทียบโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายกันของเหล็ก โดยทำการเปรียบเทียบเหล็กกล้า เอไอเอสไอ/เอสเออี 1018 และเหล็กกล้า เอไอเอสไอ/เอสเออี 1045 

 

 

รูปเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1018

 

 

รูปเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1045

 

 

      ในเหล็กกล้า 1045 จะมีเปอร์เซ็นต์ของเพิลไลต์สูงกว่า เป็นเพราะว่ามีการผสมคาร์บอนเข้าไปมากกว่า มีค่าการผสมคาร์บอนอยู่ที่ 0.45% และเหล็กกล้า 1018 มีการผสมคาร์บอนอยู่ประมาณ 0.18% 

 

      เนื่องจากมันมีคาร์บอนผสมต่ำ เหล็กกล้า 1018 จึงมีโครงสร้างจุลภาคที่เบาบางกว่า จำไว้อย่างว่า การที่บรรจุคาร์บอนเพิ่มขึ้น ผลรวมของเพิลไลต์ก็จะเพิ่มขึ้นไปด้วย ผลที่ได้ทำให้เมื่อมองภาพผ่านทางกล้องจุลทรรศน์จึงดูดำกว่า

 

 

 

10.1.4 โครงสร้างซีเมนต์ไต-เพิลไลต์

 

 

 

รูปโครงสร้างซีเมนต์ไต-เพิลไลต์

 

 

รูปโครงสร้างซีเมนต์ไต (สีขาว)-เพิลไลต์ คาร์บอน 1.3%

 

 

      โครงสร้างซีเมนต์ไต-เพิลไลต์ บางส่วนของซีเมนต์ไตคล้ายถนนในเมืองสีขาวเล็ก ๆ ส่วนเพิลไลต์ปรากฏในลักษณะรูปร่างแนวสัน เมื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์คาร์บอนขึ้น ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของซีเมนต์ไตด้วย

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“บางครั้ง การพิจารณาดูคนด้วยใจ
จะพิจารณาได้แม่นยำกว่า ใช้ตาหลายเท่า”

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา