บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 4,380
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 11,658
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 52,858
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,397,355
  Your IP :18.119.132.223

60 เฟสไดอะแกรมของเหล็ก-คาร์บอน

 

 

9.2 เฟสไดอะแกรมของเหล็ก-คาร์บอน

 

      แผนผังแสดงระยะ หรือเฟสไดอะแกรมของเหล็ก-คาร์บอน (Iron-carbon phase diagram) คือแผนผังแสดงโครงสร้างของเหล็กกล้าที่ผสมกับคาร์บอนในปริมาณที่แตกต่างกัน และเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นตามการเปลี่ยนไปของอุณหภูมิ ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของแผนผังไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอนให้ดีเสียก่อน ผังไดอะแกรมจะดูได้ในรูป

  

รูปเฟสไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอนที่ใช้ในการศึกษา โดยในแกนดิ่งเป็นสเกลอุณหภูมิสำหรับของเหล็กกล้า ในแกนนอนเป็นเปอร์เซ็นต์คาร์บอน

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

  

รูปเฟสไดอะแกรมเหล็กคาร์บอนที่ใช้ในด้านการศึกษา อีกรูป

 

ส่วนแผงผังที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม จะใช้แผนผังโดยดูได้ที่รูป

 

รูปแสดงสภาวะการเปลี่ยนรูปของเหล็กกล้าคาร์บอน ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม

 

รูปเฟสไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอนที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม อีกรูป

 

จากเฟสไดอะแกรมของเหล็ก-คาร์บอน จะบ่งบอกถึงโครงสร้างเหล็กที่อยู่ในอุณหภูมิต่าง ๆ ได้ ถ้าเราทราบเปอร์เซ็นต์ของคาร์บอนที่มาผสม โดยสามารถคิดได้จากไดอะแกรม หรือสามารถหาเหล็กกล้าที่อยู่ในรูปแบบเฟอร์ไรต์, เพิลไลต์, ซีเมนต์ไต, ออสเตนไนต์ หรือรูปแบบอื่น ๆ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของรูปแบบต่าง ๆ

 

จากที่กล่าวเหล่านี้ ในขั้นตอนแรกก่อนที่จะอ่านผังไดอะแกรม จะต้องทราบสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เสียก่อน ได้แก่

 

ü  อุณหภูมิของเหล็กกล้า

 

ü  เปอร์เซ็นต์ของคาร์บอนในเหล็กกล้า

 

ü  เส้นทางเดินของเหล็ก ที่ผ่านการปรับสภาพทางความร้อน

 

 

      ในรูปผังไดอะแกรมจะมีเส้นที่สำคัญอยู่สองเส้นที่แสดงในไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอน เส้นล่างคือ  แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำ (Lower transformation temperature line) 

 

      ส่วนเส้นบนคือเส้น แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง (Upper transformation temperature line) อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้อธิบายเอาไว้แล้วใน บทที่ 7 แล้ว

 

      ณ แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำ เหล็กจะเริ่มต้นการเปลี่ยนรูปไปเป็นออสเตนไนต์ ส่วนที่เหนือ แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง เหล็กเกิดการเปลี่ยนรูปเป็น ออสเตนไนต์บริสุทธิ์ ทั้งหมด ดูรูปที่

 

รูปเหนือ แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง เหล็กเกิดการเปลี่ยนรูปเป็น ออสเตนไนต์บริสุทธิ์

 

 

 

      เหล็กกล้าที่อยู่ใต้ แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำ ทุกโครงสร้างจะไม่มีการเกิดออสเตนไนต์ขึ้นรูปแบบของเหล็กที่อยู่บริเวณต่ำว่าเส้นนี้ จะเป็น เฟอร์ไรต์, เพิลไลต์, ซีเมนไต หรือเกิดการผสมผสานกันของโครงสร้างเหล่านี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์บอนที่ผสม ดูที่รูป

  

รูปโครงสร้างที่เกิดขึ้นต่ำกว่าแนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำจะเกิดเป็นรูปแบบเหล็กต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นเฟอร์ไรต์, เพิลไลต์ และซีเมนไต ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์บอนที่ผสมเข้าไป โดยเหล็กเหล่านี้ยังไม่ได้มีการปรับสภาพทางความร้อน หรือชุบแข็งมาก่อน

 

      ในพื้นที่สามเหลี่ยมทั้งสองระหว่างแนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง ง และแนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำ เป็นการผสมกันของเฟอร์ไรต์กับออสเตนไนต์ หรือซีเมนไตกับออสเตนไนต์ หรือผสมผสมร่วมกันของ เฟอร์ไรต์, เพิลไลต์ หรือซีเมนไต (ตรงจุดดำ)

 

      ขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์บอนที่ผสมเข้าไป และการให้ความร้อนในเหล็กกล้า ทางด้านซ้ายจะเห็นบริเวณสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ซึ่งเป็นบริเวณของเฟอร์ไรต์ 100% ดูที่รูป

  

รูปบริเวณที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการผสมผสานของออสเตนไนต์ กับเฟอร์ไรต์, เพิลไลต์ และ/หรือซีเมนต์ไตที่เกิดขี้นระหว่าง แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง และแนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำ โดยเหล็กยังไม่มีการปรับสภาพทางความร้อน หรือชุบแข็งมาก่อน

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

ความพยายามครั้งที่ 100 ดีกว่าคิดท้อถอยก่อนที่จะทำ

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา