บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 768
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,427
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,662
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,382,159
  Your IP :3.16.47.14

57 โลหะเหนียว พังแบบถูกเฉือน

 

8.4 โลหะเหนียว พังแบบถูกเฉือน

 

      เมื่อวัสดุเหนียวมีแรงมากระทำจนกระทั่งแยกขาดออก อะตอมภายในเนื้อโลหะจะเกิดการเลื่อนไถลอยู่ภายในผลึก จนเกิดเป็นความเค้นขึ้นภายในซึ่งมีลักษณะเป็นการเฉือน (Shear) ขึ้น นี้เป็นเหตุที่ทำให้วัสดุเกิดการยืดตัว ดูที่รูป

 

 

รูปเกิดการเฉือนภายในอันเนื่องมาจาก วัสดุเหนียวมีการขยายตัวจากการดึง  จะส่งผลให้เกิดการเฉือนขึ้นในเนื้อวัสดุ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

สภาพการเฉือนในบางครั้งทำให้วัสดุเกิดเป็นรูปคอคอดขวด หรือยืดเป็นแผ่น และยาวออกไป ก่อนที่มันจะขาดออกจากกัน

 

รูปชิ้นทดสอบเหล็กกล้าถูกดึง จนมีลักษณะเป็นคอขวดก่อนที่จะขาดออกจากกัน

 

การพังแบบเฉือนของวัสดุเหนียว รอยของการพังมีลักษณะที่ไม่คม, ราบเรียบ, ลื่นเป็นมัน และเป็นเส้นใย

 

      ในการพังแบบถูกเฉือนนั้น จะมีองค์ประกอบอยู่ 2 รูปแบบ โดยจะเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ เกิด การพังแบบเลื่อนไถล (Slip failures) หรือ การพังแบบเกิดเป็นฝาแฝดเกรน (Twinning failures) จะขึ้นอยู่กับรูปแบบของอะตอมที่อยู่ภายในเนื้อวัสดุว่าเป็นอย่างไร

 

รูปการพังแบบเลื่อนไถล (a) และ การพังแบบเกิดเป็นฝาแฝดเกรน (b)

 

 

8.4.1 การพังแบบเลื่อนไถล

 

 

รูปแท่งทดสอบอลูมิเนียมที่ถูกดึงจน พังจากการเฉือนแบบไถลภายในเนื้อวัสดุ

 

รูปส่วนคอคอดที่ขาดออกจากันของชิ้นงานที่เป็นอลูมิเนียมบริสุทธิ์

 

      การพังแบบเลื่อนไถล จะพบได้ในวัสดุอ่อน เช่น อลูมิเนียม ประเภทการพังเฉือนแบบนี้เรียกว่า วัสดุเกิดการไถล (Slip) โดยผลึกจะไม่ขาดจากกัน แต่อะตอมจะเลื่อนไถลตัวผ่านส่วนใกล้เคียง และเคลื่อนที่ไปเป็นแถว ณ เวลาหนึ่ง แล้วแถวถัดไปก็จะไถลเหลื่อมกันไปในแถวอื่น ๆ จนเกิดการเสียรูป จะพบว่าวัสดุจะยาวขึ้น และช่วงขาดจะบาง แล้วสุดท้ายก็ขาดออกจากกัน

 

      การไถลเกิดขึ้นไปเป็นเส้น เป็นสายผลึก ที่เรียกว่า ระนาบเลื่อน (Slip planes) เมื่อวัสดุถูกดึงจนใกล้พังแบบนี้ แนวระนาบอะตอมจะเคลื่อนที่เป็นทางขวางเคลื่อนที่ไปถึงแนวระนาบอะตอมข้างเคียง การเกิดจะเกิดขึ้นเป็นชั้น ๆ ระนาบเหลื่อมกันไป ในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะขาดพัง

 

 

รูปวัสดุเกิดการไถลเป็นเส้นระนาบ

 

รูประนาบไถลในโครงสร้างอะตอม (ในรูปเกิดจากแรงเฉือนไม่ใช่แรงดึงนะ)

 

      ซึ่งวัสดุจะยืดขยายเลื่อนไปเป็นแถบจากกลุ่มของระนาบไถล ที่เรียกว่า แถบไถล (Slip band) เกิดระนาบไถลจำนวนมากเลื่อนแบบสัมพันธ์กันเป็นกลุ่ม

 

รูประนาบไถลของชิ้นงานโลหะ

 

 

8.4.2 การพังแบบเกิดเป็นฝาแฝดเกรน

 

      ฝาแฝดของเกรน (Twinning) มีลักษณะคล้ายกับการพังแบบเลื่อนไถล แต่เป็นผลจากการเกิดแรงเฉือนในโลหะ โลหะบางชนิดจะมีความไวอย่างมากต่อการเสียรูปแบบฝาแฝดเกรน มากกว่าการเสียรูปแบบเลื่อนไถล

 

      ในการพังแบบฝาแฝดของเกรน ภายในโครงสร้างผลึก เกิดการเสียรูปจากสเปซแลตทิซ จนเกิดโซนสองเส้นที่แยกกันจนผิดรูปร่างไปจากรูปร่างเดิม เส้นนั้นเรียกว่า เส้นสะท้อน (Mirror lines) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระนาบแฝดของเกรน (Twinning planes)

 

รูปการเกิดฝาแฝดเกรนเส้นสีแดงแสดงให้เห็นถึงเส้นสะท้อน

 

รูปการเสียรูปโดยเกิดในรูปแบบฝาแฝดเกรน

 

      การก่อรูปของอะตอมในด้านใดด้านหนึ่งของระนาบคู่ มีลักษณะที่เหมือนกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นซึ่งบริเวณขอบของระนาบคู่ ภาพในการสะท้อน จะเหมือนหรือคล้ายกันเพียงแต่รูปจะเป็นมุมเอียงหลังเส้นสะท้อน

 

      เกิดคู่กันอันเนื่องจากโครงสร้างสเปซแลตทิซใหม่เกิดเป็นขอบเขตคู่ ขอบเขตเหล่านี้ประกอบด้วยอะตอมเป็นจำนวนมาก โดยพื้นฐานแล้วจะเป็นแนวขวางตลอดตามความยาว หรือระนาบของอะตอมที่เคลื่อนย้ายไปจนอะตอมเคลื่อนที่ไปข้างหน้า และไถลผ่านอะตอมตัวอื่น ๆ (คล้ายกันกับการเคลื่อนที่ของอะตอมแบบเลื่อนไถล) ซึ่งฝาแฝดของเกรนเลื่อนไปข้างหน้า ส่งผลให้เกิดการพังจนเฉือนแยกออกจากกัน

 

มีโลหะบางชนิดอาจเกิดการเสียรูปแบบผสมผสานกัน ทั้งการพังแบบเลื่อนไถล และการพังแบบฝาแฝดเกรนพร้อม ๆ กัน

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“วิธีจัดการกับศัตรูได้ดีที่สุด คือการให้อภัย...”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา