บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 902
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,931
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,088
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,340
  Your IP :3.145.57.41

56 บทที่ 8 การพัง และการเสียรูปของโลหะ

 

บทที่ 8 การพัง และการเสียรูปของโลหะ

 

 

8.1 การเสียรูป

 

      เมื่อวัสดุถูกยืดขยายตัวจนมันเกิดผิดรูปร่างไปเราเรียกว่า เกิดการเสียรูป (Deformation) การยืดตัว จะเกิดมาก หรือน้อย มันขึ้นอยู่กับแรงที่กระทำต่อวัสดุ

 

      วัสดุเปราะ เช่น เหล็กหล่อ, คอนกรีต, กระจก ฯลฯ วัสดุเหล่านี้มันยืดตัวได้ไม่มาก ก่อนมันพังมันจะเสียรูปเพียงเล็กน้อย แล้วก็แตกหัก หรือพังทลายลงไป

 

รูปวัสดุเสาคอนกรีตอัดแรงที่แตกหักเมื่อถูกแรงกระทำที่มีค่ามากเกินไป

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

วิดีโอการทดสอบวัสดุเปราะ (คอนกรีต) จนพังทลายลง

 

รูปการทดสอบชิ้นงานที่เป็นวัสดุเปราะ

 

      ส่วนวัสดุยืดหยุ่นอีกจำพวกหนึ่ง เช่น อลูมิเนียม, พลาสติกสังเคราะห์ (Polyethylene) และยาง มีความสามารถในการยืดตัวได้มากกว่า มันมีความยืดหยุ่นมาก ทำให้การเสียรูปของมันจึงมีน้อยกว่า  

 

รูปการทดสอบชิ้นงานที่เป็นวัสดุเหนียวจนยืดตัวออกได้มากก่อนที่จะขาดจากกัน

 

วิดีโอทดสอบการดึงชิ้นงานเหล็กกล้า

 

วิดีโอการทดสอบการดึงชิ้นงานของเหล็กกล้า 2

 

      โลหะถูกแรงกระทำให้จนขาดเหมือนกัน เมื่อมีแรงกระทำถึงค่าหนึ่ง แต่ก่อนที่จะขาดออกจากกัน มันมีการยืดตัวได้มาก ดังนั้นการเสียรูปของวัสดุก่อนที่จะขาดออกจากกันจะมีมากกว่า

 

 

8.2 ความยืดหยุ่น และความเปราะ

 

      วัสดุเหนียว (Ductile) สามารถยืดได้มากก่อนที่มันจะขาดออกจากกัน (ทบทวนได้ในบทที่ 4 คุณสมบัติของโลหะ) ขนาดของแรงที่ทำให้พังอาจมีมาก หรือน้อยก็ได้

 

      วัสดุเปราะ (Brittle) จะไม่ค่อยมีความยืดหยุ่น มันยืดหยุ่นได้น้อยมากก่อนที่จะขาดออกจากกัน วัสดุยืดพังโดยการเฉือน

 

ตารางที่ 8.1 เป็นการเปรียบเทียบการพังทลายระหว่างวัสดุเปราะและวัสดุเหนียว

 

การเปรียบเทียบการพังของวัสดุเปราะ และเหนียว

 

การพังของวัสดุเปราะ

การพังของวัสดุเหนียว

แนวทางการพัง

แตกแยกออก

จากการเฉือน

การยืดตัวก่อนที่จะพัง

เล็กน้อย

ยืดได้มาก

วัสดุตัวอย่าง

เหล็กหล่อ, คอนกรีต, ไม้

อลูมิเนียม, เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ, ยาง

ตารางที่ 8.1 เป็นตารางเปรียบเทียบลักษณะที่สัมพันธ์ของความพังเปราะ และยืด

 

 

8.3 โลหะเปราะ พังแบบแยกขาดออกจากกัน

 

 

รูปการขาดตัวของชิ้นทดสอบที่เป็นเหล็กหล่อ ขาดแบบแยกจากกัน

 

      วัสดุที่พังโดยการแยกขาดออกจากกัน แสดงให้เห็นในรูป รอยแตกแบบนี้จะเห็นได้ในเหล็กหล่อ การพังเพราะความเปราะในเนื้อของเหล็ก ที่รอยแตกของเหล็กจะเห็นเป็นเม็ดเล็ก ๆ มีผิวขรุขระ และมีความคม เมื่อมีแรงมากเพียงพอจนเหล็กเกิดรอยฉีก ความต่อเนื่องของรอยฉีกจะมีความไวมากจนลุกลามเป็นรอยแตก และก็ขาดจากกันในที่สุด

 

รูปการพังของรูปเหล็กหล่อเมื่อเนื้อเหล็กแตก และแยกเป็นชิ้น เนื้อตรงรอยแตกจะมีความขรุขระ, เป็นเม็ดเล็ก ๆ และมีความคม

 

      ลองสังเกตในบางครั้ง วัสดุอาจเกิดการยืดตัว แต่ก็เพียงเล็กน้อยมาก เพราะวัสดุที่เปราะเมื่อมันพังจะมีความรุนแรง และรวดเร็วจนวัสดุนั้นไม่มีเวลาพอที่จะยืดตัวออกเนื่องจากพังเสียก่อน

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 “ขอบคุณความทุกข์ ที่ทำให้ความสุขในคราวต่อมาเป็นความสุขที่แท้จริง

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา