บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,400
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 12,429
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,586
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,838
  Your IP :18.224.55.63

52 สเปซแลตทิซแบบบีซีซี, เอฟซีซี

7.1.1.1สเปซแลตทิซแบบบีซีซี

 

วิดีโออธิบายถึงหน่วยเซลล์รูปแบบต่าง ๆ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      หน่วยเซลล์ของสเปซแลตทิซของบีซีซี มีรูปร่างเป็นรูปบาศก์สี่เหลี่ยมจัตุรัส อะตอม (ลูกบอลทรงกลม) จะอยู่ตามมุมแต่ละมุมของลูกบาศก์มีอยู่ 8 ตัว แล้วตรงกลางอีก 1 ตัว รวมแล้วมีอะตอมทั้งหมด 9 ตัว ในรูปหน่วยเซลล์แบบบีซีซี จะเป็นดังรูป

 

รูปหน่วยเซลล์แบบบีซีซี

 

แต่เมื่อหน่วยเซลล์ของบีซีซี หลายหลายหน่วยเซลล์มารวมกันเป็นสเปซแลตทิซแล้ว อะตอมจะแชร์กันไม่ใช่ 9 ตัวเหมือนแบบหน่วยเซลล์เหมือนเดิมแล้ว เมื่ออยู่ในรูปของสเปซแลตทิซ อะตอมจะแชร์กันเพื่อเกาะเกี่ยวกัน เป็นดังรูป

 

รูปสเปซแลตทิซของบีซีซี

 

ดังนั้นอะตอมของบีซีซีที่อยู่ในสเปซแลตทิซ ต่อหนึ่งหน่วยเซลล์จะมีจำนวนอะตอมดังนี้

 

รูปหน่วยเซลล์ ภาคตัดหน่วยเซลล์ และสเปซแลตทิซของบีซีซี

 

อะตอมที่อยู่ตรงกลางของหน่วยเซลล์ = 1

อะตอมที่อยู่ตรงมุม 1 มุม       = 1/8 ตัว

อะตอมที่อยู่ทั้งมุม 8 มุม = (1/8) x 8 = 1 ตัว

 

ดังนั้นอะตอมในหนึ่งหน่วยเซลล์ที่อยู่ในสเปซแลตทิซ = 1 + 1 = 2 ตัว

 

การหาความหนาแน่นของอะตอมในหน่วยเซลล์ (Atomic Packing Factor: APF: คือ อัตราส่วนระหว่างปริมาตรของอะตอมทั้งหมดต่อปริมาตรหนึ่งหน่วยเซลล์) ของอะตอมในหน่วยเซลล์ของบีซีซี ดังนั้น

 

ความหนาแน่นของอะตอมในหน่วยเซลล์ = ปริมาตรของอะตอม/ปริมาตรในหน่วยเซลล์

 

ในบีซีซี 1 หน่วยเซลล์จะมี 2 อะตอม เราจะมาคำนวณหาว่าความหนาแน่นของอะตอมจะเป็นเท่าไหร่ ได้ดังนี้

 

รูปความหนาแน่นต่อหน่วยเซลล์ของบีซีซี

 

จากรูปด้านบน หาความสัมพันธ์ทางเรขาคณิต เพื่อหาปริมาตร ได้ดังนี้

 

จากสมการสามเหลี่ยมปิธากอรัส (a2 = b2 + c2)

 

 

รูปวิธีทำ

 

จากสมการความหนาแน่น

 

รูปวิธีทำ

 

คิดเป็นเปอร์เซ็นต์จะได้         

          

คิดเป็นร้อยละ = 0.68 x 100 = 68%

 

จะเห็นว่าในเนื้อที่ 1 หน่วยเซลล์ของบีซีซี จะมีส่วนที่เป็นอะตอมอยู่ 68% ส่วน อีก 32% จะเป็นพื้นที่ว่าง

 

      โลหะที่มีโครงสร้างเป็นแบบบีซีซี เช่น โครเมียม, โมลิบดีนัม, แทนทาลัม, ทังสเตน, วาเนเดียม, ไนโอเบียม (Niobium) และเหล็กที่เป็นรูปแบบเฟอร์ไรต์ (Ferrite iron) (เหล็กรูปแบบนี้จะได้กล่าวถึงในภายหลัง)

 

รูปโครเมียมโครงสร้างหน่วยเซลล์เป็นแบบบีซีซี

 

รูปทังสเตนที่ทำเป็นขดลวดในหลอดไส้ไฟฟ้า

 

 

7.1.1.2 สเปซแลตทิซแบบเอฟซีซี

 

      โลหะมักจะเป็นโครงสร้างหน่วยเซลล์แบบเอฟซีซี หน่วยเซลล์จะมีรูปร่างเป็นลักษณะลูกบาศก์ พร้อมกับมีอะตอมอยู่ประจำมุม 8 มุม และในผิวหน้าลูกบาศก์แต่ละด้าน 6 ตัว รวมแล้วในหนึ่งหน่วยเซลล์ จะมีอะตอมทั้งหมด 14 ตัว  ดูที่รูป   

 

 

รูปหน่วยเซลล์แบบเอฟซีซีมีอะตอมทั้งหมด 14 อะตอม

 

แต่เมื่อหน่วยเซลล์ของเอฟซีซี หลายหลายหน่วยเซลล์มารวมกันเป็นสเปซแลตทิซแล้ว อะตอมจะแชร์กันไม่ใช่ 14 ตัวเหมือนแบบหน่วยเซลล์เดี่ยว ๆ เหมือนเดิมแล้ว เมื่ออยู่ในรูปของสเปซแลตทิซ จะเป็นดังรูป

 

รูปสเปซแลตทิซของเอฟซีซี

 

      ดังนั้นอะตอมของเอฟซีซีที่อยู่ในสเปซแลตทิซ ต่อหนึ่งหน่วยเซลล์จะมีจำนวนอะตอมดังนี้

 

รูปหน่วยเซลล์ ภาคตัดหน่วยเซลล์ และสเปซแลตทิซของเอฟซีซี

 

อะตอมอยู่ที่มุม 8 มุม = (1/8) x 8 = 1 ตัว

อะตอมที่อยู่ตรงกลางผิวหน้าทั้ง 6 ด้าน = (1/2) x 6 = 3 ตัว

 

ดังนั้น รวมอะตอมทั้งหมดในหนึ่งหน่วยเซลล์ที่อยู่ในสเปซแลตทิซ = 4 ตัว

 

ในเอฟซีซี 1 หน่วยเซลล์จะมี 4 อะตอม เราจะมาคำนวณหาว่าความหนาแน่นของอะตอมจะเป็นเท่าไหร่ ได้ดังนี้

 

รูปความหนาแน่นต่อหน่วยเซลล์ของเอฟซีซี

 

 

รูปวิธีทำ

 

รูปวิธีทำ

 

คิดเป็นร้อยละ = 0.74 ´ 100 = 74%

 

จะเห็นว่าในเนื้อที่ 1 หน่วยเซลล์ของเอฟซีซี จะมีส่วนที่เป็นอะตอมอยู่ 74% ส่วนอีก 26% จะเป็นพื้นที่ว่าง

 

เมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างบีซีซี จะเห็นว่าโครงสร้างเอฟซีซีจะมีความหนาแน่นของอะตอมมากกว่า อะตอมทุกตัวจะชิดติดกัน โครงสร้างนี้จึงมีการเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลูกบาศก์สี่เหลี่ยมชิดกันหนาแน่น (Cubic Close-Packed: CCP: โครงสร้างของอะตอมอัดตัวกันอย่างหนาแน่นที่สุด)  

 

      โลหะธรรมดาทั่วไปที่เป็นโครงสร้างแบบนี้ เช่น อะลูมิเนียม, ทองแดง, ทองคำ, ตะกั่ว, นิกเกิล, ทองคำขาว (Platinum), เงิน และเหล็กออสเตนไนต์ (Austenitic iron) (เหล็กรูปแบบนี้จะได้กล่าวถึงในภายหลัง)   

 

รูปอลูมิเนียมโครงสร้างหน่วยเซลล์เป็นแบบเอฟซีซี

 

รูปทองคำโครงสร้างหน่วยเซลล์เป็นแบบเอฟซีซี

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

คนที่รู้จักถามนั้นโง่อยู่ชั่วนาที
                  
 คนที่ไม่ถามจะโง่ตลอดไป

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา