บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,471
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 12,500
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,657
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,909
  Your IP :18.119.137.175

51 บทที่ 7 โครงสร้างผลึก

 

บทที่ 7 โครงสร้างผลึก

(Crystal structure)

 

 

รูปเกร็ดน้ำแข็งในช่องแช่แข็งของตู้เย็น

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      เกร็ดน้ำแข็งที่เกาะตามขอบภาชนะในช่องแช่แข็งของตู้เย็น เกิดจากการที่ละอองน้ำในอากาศภายในช่องแช่แข็งเกิดการกลั่นตัวจนเป็นน้ำแข็ง

 

      หรืออีกตัวอย่างก็คือ น้ำเกลือในหม้อต้มเมื่อต้มจนให้น้ำระเหยออกหมดก็จะเหลือแต่เกลืออยู่ภายในหม้อ เมื่อนำทั้งสองตัวอย่างมาส่องขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือแว่นขยายจะพบว่ามันมีลักษณะเป็นเหลี่ยม ๆ เป็นรูปแบบ ซึ่งเรียกลักษณะเหล่านี่ว่า ผลึก (Crystal)  

   

รูปผลึกของน้ำแข็ง

 

รูปเกลือที่มีรูปร่างเป็นเหลี่ยมในรูปแบบผลึก

 

ในโลหะก็มีรูปแบบของผลึกเหมือนกัน โดยเหล็ก และเหล็กกล้าขณะที่กำลังหลอมตัว มันมีสถานะเป็นของเหลวอุณหภูมิสูง

 

และเมื่อเหล็กหลอมเหลวถูกทำให้เย็นตัวลงเกิดเป็นของแข็ง จะก่อรูปร่างเป็นผลึกในหลายส่วนของเหล็กหลอม โดยมีการเติบโตอย่างช้า ๆ โตขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นของแข็ง การโตขึ้นของผลึกหลาย ๆ จุดที่อยู่ใกล้กันจนเกิดการชนกันระหว่างขอบของผลึก โดยชนกันแบบ ขอบต่อขอบ (Elbow to elbow) ของผลึก จนกลายเป็นสถานะของแข็งในที่สุด ดูที่รูป

 

 

รูปการเติบโตของผลึก โดยผลึกข้างเคียงชนกันแบบขอบต่อขอบ

 

รูปโครงสร้างทางจุลภาคแสดงให้เห็นถึง รูปแบบผลึกของเหล็กกล้า 1020 โครงสร้างเฟอร์ไรต์  มีเพิลไรต์เข้ามาแซม อัตราการขยาย 100 เท่า

 

หลังจากที่ผลึกเหล่านี้แข็งตัว การจัดเรียงรูปแบบของอะตอมเหล่านี้ อาจจะมีทั้งรูปแบบที่สม่ำเสมอ มีความเป็นระเบียบ หรืออาจจะมีลักษณะรูปแบบที่มีความสับสนยุ่งเหยิงเกิดขึ้น โดยจะเกิดขึ้นในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

 

รูปโครงสร้างอนุภาคนาโนของอะตอมในผลึกปรากฏในรูปแบบที่เป็นระเบียบ

 

โครงสร้างภายในที่มีขนาดที่สม่ำเสมอเป็นระเบียบ และมีความเที่ยงตรงมาก อะตอมก็จะมีการจัดเรียงตัวกันเป็นแถวเป็นแนวคล้ายกับแถวของทหาร ผลึกที่มีรูปร่างแตกต่างกันอาจมี หรือไม่มีรูปแบบที่เหมือนกันก็ได้ การจัดเรียงลำดับอะตอมขนาดเล็ก ในรูปแบบความยาวเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบเป็นแนวทิศทางเดียวทั้งหมดในแต่ละผลึก

 

รูปแบบจำลองโครงสร้างผลึกของเหล็กกล้า

 

วิดีโอตัวอย่างแบบจำลองอะตอมที่จับตัวกันเป็นโครงสร้างผลึก

 

 

7.1 สเปซแลตทิซ

 

       การจัดรูปแบบของอะตอมในผลึก เราเรียกว่า ช่องว่างในโครงสร้างหรือ สเปซแลตทิซ (Space lattice) ดูตัวอย่างได้ที่รูป

 

รูปตัวอย่างโครงสร้างสเปซแลตทิซ

 

      อะตอมที่อยู่ในสเปซแลตทิซมีขนาดเล็กมากจนมองไม่เห็น เมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า นักวิทยาศาสตร์จึงได้พัฒนากล้องจุลทรรศน์เพื่อใช้ส่องดูอะตอมเหล่านี้ จนมีการสร้าง กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron microscopes)

 

รูปกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

 

 

รูปส่วนประกอบภายในของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

 

วิดีโอแสดงการใช้งานของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

 

เพื่อใช้ส่องหาอนุภาคที่มีขนาดเล็ก ซึ่งสามารถส่องได้เล็กถึง 1/109 (เล็กถึงพันล้านเท่า หรือ นาโน) ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเห็นรูปร่างของอะตอมได้อย่างเลือนลาง เทคโนโลยีในการวิจัยยังไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนากล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายเต็มที่มากกว่านี้ ดังนั้นในวันหนึ่งข้างหน้าเราอาจจะเห็นตัวของอะตอมได้แบบเต็มตัวก็เป็นไปได้ ซึ่งบางทีอาจจะเห็นรูปร่าง หรือเกิดความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับรูปแบบอะตอมที่จะสามารถแตกแขนงในเรื่องของอะตอมเพื่อต่อยอดความรู้ต่อไปก็ได้   

 

7.1.1 หน่วยเซลล์

 

รูปตัวอย่างหน่วยเซลล์ที่อยู่ภายในสเปซแลตทีซ และสเปซแลตทิซก็ยู่ภายในโครงสร้างผลึกของโลหะในรูปแบบต่าง ๆ

 

       เป็นรูปแบบพื้นฐานอย่างง่ายสุด ของอะตอมที่อยู่ในสเปซแลตทิซ เราเรียกว่า หน่วยเซลล์ (Unit cell) โดยสเปซแลตทิซหนึ่งหน่วยอาจจะมีหน่วยเซลล์ถึงพันล้านหน่วยก็เป็นได้ โลหะแต่ละชนิดจะมีรูปแบบหน่วยเซลล์ที่อยู่ในสเปซแลตทิซเป็นของตัวเอง

 

จึงมีหน่วยเซลล์ที่มีขนาดเท่ากัน สิ่งเหล่านี้จะบ่งบอกถึงโลหะหลากหลายชนิดที่มีความแตกต่างกัน ดูที่รูป

 

ชนิดโครงสร้างหน่วยเซลล์ในโลหะมีดังต่อไปนี้

1)           บีซีซี (Body-Centered Cubic: BCC) คืออะตอมอยู่ตามมุมสี่เหลี่ยมลูกบาศก์จัตุรัส และที่ตรงกลาง

 

รูปหน่วยเซลล์แบบบีซีซี

 

2)           เอฟซีซี (Face-Centered Cubic: FCC) คืออะตอมอยู่ตามมุมสี่เหลี่ยมลูกบาศก์จัตุรัส และที่ผิวหน้าแต่ละด้าน

 

รูปหน่วยเซลล์แบบเอฟซีซี

 

3)           ซีพีเฮช (Close-Packed Hexagonal: CPH) คืออะตอมอยู่แบบลูกบาศก์หกเหลี่ยมชิดกันหนาแน่น

 

รูปหน่วยเซลล์รูปแบบซีพีเฮช

 

4)           บีซีที (Body-Centered Tetragonal: BCT) คืออะตอมอยู่ตามมุมสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ไม่จัตุรัส และที่ตรงกลาง

 

รูปหน่วยเซลล์รูปแบบบีซีที

 

มีข้อสมมติฐานของโครงสร้างผลึกของอะตอมนั้นมีอยู่มากมาย แต่ในการศึกษาเกี่ยวกับโลหะวิทยาโครงสร้างทั้งสี่ เหล่านี้เป็นที่นิยมในการอธิบายความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างผลึกมากที่สุด 

 

วิดีโอแสดงหน่วยเซลล์ในรูปแบบต่าง ๆ

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

คุณจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดของคนอื่น

 

เมื่อคุณได้ให้สิ่งที่ดีที่สุดของคุณไป

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา